พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460-2461/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายใต้เงื่อนไข และการเพิกถอนทะเบียนเมื่อมีสิทธิที่ดีกว่า
ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันหลายราย และนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาลแล้ว ไม่ได้รับแจ้งภายในกำหนดว่าผู้ขอได้ตกลงกันหรือได้นำคดีไปสู่ศาล มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 บัญญัติให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแก่ผู้ที่ขอขึ้นมาก่อนผู้อื่น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าสิทธิที่จะนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันระงับสิ้นไป เจตนารมย์ของกฎหมายเพียงเพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินไปโดยรวดเร็วเท่านั้น แม้นายทะเบียนจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แล้ว ซึ่งทำให้บุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแต่ผู้เดียวตามมาตรา 27 ก็ตาม หากมีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ดีกว่า ผู้มีสิทธิดีกว่าก็อาจขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ไม่ได้จดทะเบียน แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ผลิตเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้าว่า "VETO"(วีโต้)ส่งออกจำหน่ายทั่วโลก และส่งมาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2502 เมื่อ พ.ศ.2507 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "VETO"สำหรับจำพวกสินค้า 50 ทั้งจำพวกกองทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้แล้ว แต่เมื่อ 2-3 ปี มานี้ จำเลยเคยสั่งซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าวีโต้ของโจทก์ไปจำหน่าย หาได้เคยผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เครื่องหมายวีโต้ขึ้นจำหน่ายไม่ ที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้นั้นก็เพื่อจะใช้กับสินค้าเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยจะผลิตขึ้นในโอกาสต่อไป โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "VETO" ดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าคำว่า"VETO" ซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้แล้วและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามาตรา 41(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 355/2504) แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ล่วงละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และอายุความในการฟ้องเพิกถอนทะเบียน
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเช็คโกสโลวาเกีย มี ฟ.เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ฟ.ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ซึ่งหนังสือมอบอำนาจได้มีการรับรองความถูกต้องและแท้จริงกันมาเป็นทอด ๆ โดยมีโนตารีแห่งรัฐรับรองการมอบอำนาจของ ฟ. และกระทรวงยุติธรรมแห่งกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของโนตารีแห่งรัฐ กระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกียรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงยุติธรรมและสถาน เอกอัครราชฑูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ของเช็คโกสโลวาเกีย ดังนี้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 ไม่มีเหตุที่ศาลควรสงสัยว่าจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง อ.ผู้รับมอบอำนาจจึงฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้น เดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่ พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์ค ต่อมา พ.ศ.2501 บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่งเครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อ ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของ จำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้น เดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่ พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์ค ต่อมา พ.ศ.2501 บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่งเครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อ ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของ จำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายเดิม vs. ผู้จดทะเบียนภายหลัง, อายุความฟ้องเพิกถอน
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเช็คโกสโลวาเกียมี ฟ. เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ฟ. ได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจได้มีการรับรองความถูกต้องและแท้จริงกันมาเป็นทอดๆ โดยมีโนตารีแห่งรัฐรับรองการมอบอำนาจของ ฟ. และกระทรวงยุติธรรมแห่งกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของโนตารีแห่งรัฐกระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกียรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงยุติธรรมและสถานเอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกีย ดังนี้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 ไม่มีเหตุที่ศาลควรสงสัยว่าจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง อ. ผู้รับมอบอำนาจจึงฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้นเดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์คต่อมาพ.ศ.2501บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่ง เครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียนตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้ อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้นเดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์คต่อมาพ.ศ.2501บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่ง เครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียนตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้ อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
สลากเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดที่ฝากล่องใส่ตะไบนอนไปตามส่วนยาวของกล่อง ตอนส่วนบนสลากของโจทก์เป็นรูปตะไบ 2 อันไขว้ทับกันเป็นเส้นทะแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางระหว่างโคนตะไบมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ ยู.เอส.เอ. เป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนของจำเลยเป็นรูปตะไบ 2 อันวางอยู่ห่างกันหันปลายตะไบเข้าหากัน โคนตะไบถ่างออกจากกันตรงกลางระหว่างโคนตะไบเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวต่อลงไปทางส่วนกลางของสลากของโจทก์เป็นรูปผู้ชายกำลังยืนใช้ตะไบถูเหล็ก ส่วนของจำเลยเป็นรูปโรงงานมีควันไฟกำลังออกจากปล่องของโรงงานรูปทั้งสองบนสลากดังกล่าวนี้มีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจนที่สุด ไม่มีทางที่จะทำให้เห็นได้เลยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีลักษณะไปในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และไม่ชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันหรือเกือบเหมือนกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน การที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่จำเลยสั่งตะไบที่มีเครื่องหมายการค้าตามหมาย จ.11 มาขาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะการค้าทำให้ผู้บริโภคสับสนถือเป็นการละเมิด แม้เครื่องหมายการค้าจะแตกต่างกัน
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATEและ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่ามีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความสับสนต่อผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิ แม้จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่าแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้นไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะภายนอกของสินค้าและการสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT. ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG. เห็นว่ามีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง.ตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น.ไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด.
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์. แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม. แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์. นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์.
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว. ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ. โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย. แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง. ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย.
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย. โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่.จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์. โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้.
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์. แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม. แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์. นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์.
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว. ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ. โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย. แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง. ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย.
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย. โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่.จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์. โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การลวงสาธารณชน และการสละสิทธิในการต่อสู้คดีอายุความ
จำเลยรับว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่เหมือนกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละเครื่องหมาย ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนกับคดีนี้จึงแตกต่างกัน มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคำวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาฎีกาในคดีเรื่องก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2(ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกันในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์ แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์ ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออก และได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1 ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1 จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่ และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัย ชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2,3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์ เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2,3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้ หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่นก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ไม่ เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใด ในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2(ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกันในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์ แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์ ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออก และได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1 ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1 จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่ และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัย ชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2,3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์ เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2,3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้ หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่นก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ไม่ เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใด ในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า และประเด็นอายุความที่จำเลยสละสิทธิ
จำเลยรับว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่เหมือนกัน จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละเครื่องหมาย ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนกับคดีนี้จึงแตกต่างกัน มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคำวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาฎีกาในคดีเรื่องก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2 (ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกันในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์ แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์ ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออกและได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1. ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่ และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2, 3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์ เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2, 3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้ หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่นก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ไม่ เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใดในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์.ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2 (ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกันในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้นเฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์ แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์ ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออกและได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1. ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่ และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2, 3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์ เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2, 3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้ หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่นก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย ดังนี้ไม่ เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใดในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์.ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้