คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ลวงสาธารณชน และประเด็นอายุความที่จำเลยสละสิทธิ
จำเลยรับว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่เหมือนกัน. จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละเครื่องหมาย. ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนกับคดีนี้จึงแตกต่างกัน. มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคำวินิจฉัยในคดีนี้จึงไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาฎีกาในคดีเรื่องก่อน.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ (ด้านที่มีสีแดง) มีลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่รูปสมอตรงกลางของวงกลม. ส่วนอักษรโรมันและตัวเลขที่ล้อมรอบรูปสมอในวงกลมชั้นนอกและอักษรโรมันและตัวเลขในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอ เป็นเพียงส่วนประกอบรูปสมออันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะเท่านั้น. ส่วนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำละเมิด ตามด้ายหลอดหมาย จ.2(ด้านที่มีสีแดง) ก็มีรูปสมออยู่ตรงกลางของวงกลมสองชั้นเหมือนกัน.ในวงกลมชั้นนอกมีอักษรโรมันและตัวเลขล้อมรอบรูปสมอและในวงกลมชั้นในใกล้รูปสมอก็มีอักษรโรมันและตัวเลขคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์. ตัวอักษรและตัวเลขเหล่านี้วางรูปไว้คล้ายคลึงกับของโจทก์มาก. สิ่งที่ผิดกันก็คือตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกไม่เหมือนกันตัวเลขเล็กๆ ในวงกลมชั้นในแตกต่างกันบ้าง. และในวงกลมชั้นในของเครื่องหมายที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 มีดาวเก้าดวงล้อมสมอเพิ่มขึ้น.เฉพาะที่ตัวสมอแตกต่างกันในส่วนสำคัญเล็กน้อย. คือ ที่เครื่องหมายในด้ายหลอดหมาย จ.2 ตรงปลายสมอมีเส้นเล็กๆเพิ่มขึ้น 2 เส้นที่โคนของด้ามสมอ แทนที่จะเป็นรูปห่วงกลมเช่นของโจทก์. แต่เปลี่ยนเป็นรูปเปลวไฟซึ่งเกือบเป็นรูปกลม. ดังนี้ เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ด้ายหลอดหมาย จ.2 ก็มุ่งหมายที่จะให้มีลักษณะบ่งเฉพาะที่รูปสมอเหมือนกัน. ดาวเก้าดวงล้อมสมอที่ทำเพิ่มขึ้นเลือนลางมาก. ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้. ส่วนความแตกต่างกันของตัวสมอก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยในส่วนสำคัญดังกล่าวมาแล้ว. เส้นเล็กๆ สองเส้นที่ปลายสมอ ถ้าไม่สังเกตอาจไม่เห็นเช่นเดียวกัน ส่วนเปลวไฟที่โคนด้ามสมอ ถ้าไม่สังเกตก็อาจเห็นเป็นรูปกลมเช่นเดียวกับของโจทก์. ตัวเลขภายในวงกลมชั้นในที่ผิดกันเกือบมองไม่เห็น. ตัวอักษรโรมันในวงกลมชั้นนอกแม้จะไม่เหมือนกันเลยแต่สำหรับผู้ที่อ่านภาษาโรมันไม่ออก.และได้เห็นด้ายหลอดตามวัตถุพยานหมาย จ.1 และ จ.2 คนละครั้ง อาจสับสนกันได้ว่า. ด้ายหลอดหมาย จ.2 คือด้ายหลอดหมาย จ.1. ยิ่งให้สีเหมือนกัน ก็ยิ่งคล้ายคลึงกันมากขึ้น ลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นดังที่กล่าวมานี้.จึงเห็นได้ชัดว่าเครื่องหมายการค้าตามด้ายหลอดหมาย จ.2คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามด้ายหลอดหมาย จ.1จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ. จำเลยจึงชอบที่จะต้องแสดงมาด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด. แต่จำเลยหาได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไม่. และศาลชั้นต้นไม่ได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัย.ชั้นอุทธรณ์จำเลยกล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า. เมื่อประเด็นสำคัญที่กล่าวมาในอุทธรณ์ข้อ 2,3โจทก์ไม่ทางชนะคดีแล้ว. จำเลยก็ขอให้ผ่านประเด็นเรื่องอายุความไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัย. ที่จำเลยกล่าวเช่นนี้มีความหมายว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้เรื่องอายุความเสียแล้วในชั้นอุทธรณ์. เพราะจำเลยเชื่อว่าประเด็นสำคัญที่กล่าวในอุทธรณ์ข้อ 2,3 เพียงพอที่จำเลยจะชนะคดีได้. หาได้มีความหมายดังที่จำเลยกล่าวในฎีกาว่า ถ้าโจทก์ไม่มีทางชนะคดีจำเลยโดยอาศัยประเด็นข้ออื่น.ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องอายุความ. แต่ถ้าโจทก์มีทางชนะคดีจำเลย ก็ให้ยกอายุความขึ้นวินิจฉัย. ดังนี้ไม่. เพราะจำเลยย่อมไม่มีสิทธิกำหนดให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อใดก่อนหลัง. หรือให้วินิจฉัยประเด็นข้อใด และไม่วินิจฉัยประเด็นข้อใด.ในเมื่อจำเลยไม่ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นที่จะไม่ให้วินิจฉัยนั้น.
จำเลยสละข้อต่อสู้เรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์. การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 และย่อมถือได้ว่าประเด็นข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์.ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างผู้ใช้ก่อนและผู้มีสิทธิดีกว่าตามมาตรา 41 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์สามารถแสดงได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย เป็นกรณีพิพาทกันว่า ระหว่างโจทก์จำเลยใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตน กรณีต้องด้วยมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรานี้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 29 วรรคต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงผิด ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนได้ แม้เป็นคำประดิษฐ์
โจทก์ใช้คำประดิษฐ์ขึ้นเป็นอักษรโรมันว่า +PHENERGAN+ สำหรับยารักษาโรคจำพวกหนึ่งที่โจทก์ผลิตขึ้นจำหน่าย และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับคำ ๆ นี้ไว้แล้ว ต่อมานายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นคำว่า +PHENAGIN ในจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อพิจารณาถึงการเรียงลำดับตัวอักษรตลอดจนสำเนียงที่เรียกขานอันเป็นคำของภาษาต่างประเทศแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการจัดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเสียได้ และในการพิจารณาดังกล่าวนั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะการอ่านออกเสียงหรือสำเนียงที่เรียกขานแต่อย่างเดียวย่อมไม่ได้ต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ ด้วย.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าที่สำเร็จรูปแล้ว ไม่จำต้องไปพิเคราะห์ถึงส่วนประกอบอื่นใดอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ, การใช้เครื่องหมายการค้าปลอม, และค่าเสียหายจากการละเมิด
นิติบุคคลเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศมีอำนาจฟ้องคดีในศาลไทยหรือตั้งผู้แทนฟ้องคดีได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศ ซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่าย โดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียให้หรือเสียแทนกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนิติบุคคลต่างประเทศในการฟ้องคดีและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย การละเมิดเครื่องหมายการค้าและค่าเสียหาย
นิติบุคคลเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ มีอำนาจฟ้องคดีในศาลไทยหรือตั้งผู้แทนฟ้องคดีได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่ายโดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียหรือให้เสียแทนกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนสิทธิเครื่องหมายการค้าต้องทำเป็นคำฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่ง
การขอให้ศาลจำกัดและเพิกถอนสิทธิการจดทะเบียนสินค้าของผู้อื่นซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าว่าให้ยื่นคำร้อง นั้นเป็นการขอให้ศาลสั่งซึ่งจะเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของคนอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว อันเป็นการตั้งข้อพิพาทว่า ผู้ร้องมีสิทธิดีกว่า เป็นการโต้แย้งสิทธิกันในทางแพ่ง จึงต้องเริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องมายื่นไม่ใช่คำร้องขอ
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนสิทธิการจดทะเบียนต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้อง
การขอให้ศาลจำกัดและเพิกถอนสิทธิการจดทะเบียนสินค้าของผู้อื่น ซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าว่าให้ยื่นคำร้องนั้นเป็นการขอให้ศาลสั่งซึ่งจะเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของคนอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้วอันเป็นการตั้งข้อพิพาทว่า ผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกันในทางแพ่ง จึงต้องเริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องมายื่น ไม่ใช่คำร้องขอ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่24/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสิทธิแม้ยังมิได้จดทะเบียน
การโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้นหาจำต้องมีกฎหมายรับรองสิทธินั้นไว้โดยตรงเสียก่อนอย่างใดไม่ เมื่อผู้ใดโต้แย้งผู้นั้นก็อาจมาขอความคุ้มครองจากศาลได้เสมอเช่นในกรณีขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อมีข้อโต้แย้งว่าใครจะมีสิทธิดีกว่าในการที่จะจดทะเบียนก่อน ดังนี้ศาลก็ต้องรับวินิจฉัยให้ อย่าว่าแต่ในระหว่างผู้ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วยกันเลย เจ้าของเครื่องหมายการค้าอันแท้จริงแม้จะยังมิได้จดทะเบียน จะยกขึ้นต่อสู้กับผู้ที่จดทะเบียนแล้วในศาลก็ยังได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน (อ้างฎีกาที่ 277/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสิทธิ แม้ยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธินั้นโดยตรง
การโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.แพ่ง ม.55 นั้นหาจำต้องมีกฎหมายรับรองสิทธินั้นไว้โดยตรงเสียก่อนอย่างใดไม่ เมื่อผู้ใดโต้แย้งผู้นั้นก็อาจมาขอความคุ้มครองจากศาลได้เสมอ เช่นในกรณีขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อมีข้อโต้แย้งว่าใครจะมีสิทธิดีกว่าในการที่จะจดทะเบียนก่อน ดังนี้ศาลก็ต้องรับวินิจฉัยให้ อย่าว่าแต่ในระหว่างผู้ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนด้วยกันเลยเจ้าของเครื่องหมายการค้าอ้นแท้จริงแม้จะยังมิได้จดทะเบียน จะยกขึ้นต่อสู้กับผู้ที่จดทะเบียนแล้วในศาลก็ยังได้ตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน (อ้างฎีกาที่ 277/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตของผู้จัดการร้าน ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายนั้น แม้เจ้าของร้านจะจดทะเบียนภายหลัง
ผู้จัดการร้านไปจ้างช่างเขียนแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจ้างพิมพ์พร้อมทั้งเจ้าของร้านแต่แล้วงดพิมพ์ภายหลังผู้จัดการคนนั้นออกจากร้านไปค้าส่วนตัวและเอาเครื่องหมายนั้นไปใช้ ต่อมาเจ้าของร้านได้ใช้เครื่องหมายนั้นบ้าง และได้จดทะเบียนเครื่องหมายแล้วโดยไม่รู้ว่ามีผู้ใช้เครื่องหมายนี้ดังนี้ ได้ชื่อว่าผู้จัดการนั้นใช้สิทธิไม่สุจริตไม่มีสิทธิในเครื่องหมายนั้นดีกว่าเจ้าของร้านเดิม
of 10