คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พศวัจณ์ กนกนาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16116/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าพืชกระท่อมไม่เข้าข่ายหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ความผิดฐานนำเข้ายาเสพติดให้โทษต่างจากความผิดศุลกากร
ความผิดฐานนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรหรือเจตนาจะฉ้อภาษีของรัฐบาล เมื่อมีการนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยไม่ได้รับอนุญาตก็เป็นความผิดแล้ว ซึ่งแตกต่างจากความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ที่ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือเจตนาจะฉ้อภาษีของรัฐบาล เมื่อใบพืชกระท่อมสดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้เป็นความผิด ไม่อาจเสียภาษีได้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่เป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรหรือเจตนาจะฉ้อภาษีของรัฐบาล จึงไม่เป็นความผิดฐานนำของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16037/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาขณะสมรส: สิทธิบอกล้างสัญญาและการกลับสู่ฐานะเดิม
สัญญาให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา ทำขึ้นขณะที่โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ซึ่งข้อความในสัญญาเป็นการตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยไม่มีข้อความใดในสัญญากล่าวถึงการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย ดังนี้ ข้อตกลงตามสัญญาให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาจึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรงที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน จึงถือเป็นสัญญาระหว่างสมรส โจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 อันเป็นผลให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์ จำเลยสิ้นผลผูกพัน ผลของการบอกล้างดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15695/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากสระว่ายน้ำ: จำเลยต้องดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ แม้ไม่มีกฎหมายบังคับเฉพาะ
สถานที่ที่โรงแรม ข. ตั้งอยู่ ไม่มีระเบียบข้อบังคับหรือข้อบัญญัติที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง อำเภอปากช่อง เกี่ยวกับการก่อสร้างและใช้สระว่ายน้ำเอกชน โจทก์ จ. ผู้ตาย และ ม. กับครอบครัวของ น. เข้าพักที่โรงแรม ข. ผู้ตาย ม. และ ด.ญ.ด. ว่ายน้ำอยู่ในสระว่ายน้ำของโรงแรม โดยมี จ. นั่งอยู่ริมสระว่ายน้ำ ขณะที่ผู้ตายว่ายน้ำอยู่กลางสระ ผู้ตายจมน้ำ ม. ว่ายไปช่วยแต่ช่วยไม่ได้จึงเรียก จ. ลงไปช่วย จ. ลงในสระช่วยผู้ตาย แต่ช่วยไม่ได้จึงให้ ม. ไปตามโจทก์ โจทก์จึงกระโดดลงไปดำน้ำช่วยจนกระทั่งสามารถดึงผู้ตายขึ้นมาที่ขอบสระได้และช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วนำผู้ตายส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา แพทย์ตรวจร่างกายผู้ตายพบว่าผู้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หัวใจไม่เต้น วัดความดันไม่ได้ ม่านตาไม่ตอบสนอง แสดงว่าผู้ตายเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล ต่อมาโจทก์และ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองแต่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง คดีถึงที่สุด
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิยื่นฟ้องแทน จ. เหตุแห่งการฟ้องในครั้งนี้เกิดจากโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องสินสมรสเพราะไม่เกี่ยวกับรายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นสิทธิของแต่ละคนที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำละเมิดตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัวตามที่บทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้
การที่จำเลยทั้งสองจัดให้มีสระว่ายน้ำไว้ในโรงแรมก็เพื่อเป็นทางเลือกที่จะให้ลูกค้าเข้าใช้บริการโรงแรมของจำเลยทั้งสองเพิ่มขึ้นมิฉะนั้นจำเลยทั้งสองคงไม่สร้างสระว่ายน้ำในปี 2540 ซึ่งต้องใช้เงินถึง 560,000 บาท ทั้งสระว่ายน้ำของจำเลยทั้งสองมีความลึกสูงสุด 2.55 เมตร และบริเวณที่ลึกที่สุดมีลักษณะเป็นกรวยลงไปด้วย ลักษณะดังกล่าวของสระว่ายน้ำ ทำให้ยากต่อการช่วยเหลือผู้ที่จมน้ำ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสองจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลความปลอดภัยและช่วยเหลือผู้ใช้บริการเมื่อเกิดอุบัติเหตุตลอดเวลาที่เปิดบริการ ชุดปฐมพยาบาลประจำสระว่ายน้ำ อุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น ไม้ช่วยชีวิต ห่วงชูชีพ โฟมช่วยชีวิต เครื่องช่วยหายใจ ทั้งจะต้องมีป้ายบอกแสดงความลึกของสระว่ายน้ำให้ผู้ใช้บริการทราบ ซึ่งจำเลยทั้งสองได้คิดค่าบริการส่วนนี้รวมกับค่าเช่าที่พักแล้วไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม หากจำเลยทั้งสองจัดหาบุคลากรและอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าว เมื่อผู้ตายจมน้ำก็สามารถช่วยเหลือผู้ตายให้รอดชีวิตได้ แต่เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดบุคลากรและอุปกรณ์จึงเป็นเหตุให้โจทก์ ภริยาโจทก์และบุตรโจทก์ไม่สามารถช่วยผู้ตายขึ้นจากสระว่ายน้ำ ซึ่งได้ความจากโจทก์และภริยาโจทก์ว่า พื้นสระว่ายน้ำของจำเลยทั้งสองลื่นเนื่องจากขาดการดูแลรักษา สระว่ายน้ำของจำเลยทั้งสองเปิดให้บุคคลที่มาใช้บริการโรงแรมของจำเลยทั้งสองเข้าใช้ได้ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกถึง 2.55 เมตร ซึ่งท่วมศีรษะของบุคคลทั่วไป หากมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรืออาจจะเป็นเด็กเล็ก หรือผู้สูงวัยพลัดตกลงไปอาจจมน้ำเสียชีวิตได้ ควรอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสองจะจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำมาคอยดูแลหรือมีเชือกกั้นแสดงเขตส่วนที่ลึกท่วมศีรษะเพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ใช้สระว่ายน้ำจมน้ำได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองสามารถกระทำได้แต่หาได้กระทำไม่ แม้ว่าสระว่ายน้ำในโรงแรมของจำเลยทั้งสองจะตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แต่หาทำให้ความสำคัญของสระว่ายน้ำแตกต่างไปจากสระว่ายน้ำในกรุงเทพมหานครไม่ แม้ อ.บ.ต. หมูสีและอำเภอปากช่องจะไม่มีข้อบังคับหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการก่อสร้างสระว่ายน้ำ ก็หาทำให้จำเลยทั้งสองพ้นความรับผิดในกรณีที่มีผู้ประสบภัยจมน้ำตายดังเช่นผู้ตายในคดีนี้ไม่ ทั้งนี้เพราะการที่จำเลยทั้งสองมีสระว่ายน้ำซึ่งลึกและมีสภาพเป็นกรวยย่อมเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าหากบุคคลที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรือเกิดเป็นตะคริวจมน้ำลงไปย่อมถึงแก่ความตาย หรือเด็กอาจพลัดตกลงไปถึงแก่ความตายได้ ทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะต้องป้องกันเองโดยไม่จำเป็นต้องมีข้อบังคับหรือระเบียบใดๆ ของทางราชการออกมาบังคับอีกชั้นหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15663-15664/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ และข้อยกเว้น พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ใช้บังคับแก่การเรียกดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินเท่านั้นไม่อาจจะนำมาใช้บังคับแก่หนี้เงินที่เกิดจากมูลหนี้ประเภทอื่นได้ การคิดดอกเบี้ยในมูลหนี้การซื้อขายเช่นคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน ..." หมายความว่าบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ไม่ได้เท่านั้น หามีผลทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ และมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย คดีนี้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 จำเลยออกเช็คลงวันที่ 15 ธันวาคม 2546 เพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2546 หนี้ที่จำเลยออกเช็คจึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ แม้เช็คพิพาทดังกล่าวธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2546 หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยก็ตาม การกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยยังดำเนินต่อไปได้และไม่ทำให้จำเลยพ้นผิด จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15518/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำคู่ความทางโทรสารต้องเป็นไปตามประกาศศาล และเหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ไม่อาจดำเนินการได้ก่อนสิ้นระยะเวลา
การส่งคำคู่ความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลทางโทรสารตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2550 จะกระทำได้ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีความพร้อมที่จะรับคำคู่ความที่ส่งโดยทางโทรสาร และได้ออกประกาศแจ้งหมายเลขโทรสารของศาลชั้นต้นให้ทราบทั่วกัน มิใช่ว่าเมื่อข้อบังคับของประธานศาลฎีกาใช้บังคับแล้ว คู่ความจะส่งคำคู่ความไปยังหมายเลขโทรสารของศาลชั้นต้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ดำเนินการออกประกาศดังกล่าว จึงยังไม่อาจนำเรื่องการส่งคำคู่ความทางโทรสารมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
เมื่อโจทก์นำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มายื่นต่อศาลชั้นต้นหลังจากสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วโจทก์จะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าขอคัดถ่ายคำพิพากษาแต่ได้รับแจ้งว่ายังอยู่ที่งานหน้าบัลลังก์นั้น เมื่อตรวจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยให้เหตุผลว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เมื่อนับจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเกินกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาจากจำเลยได้อีกต่อไป โจทก์ย่อมสามารถคัดลอกผลตามคำพิพากษาดังกล่าวไปจัดทำอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องรอการคัดถ่ายอีก กรณีจึงเป็นความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15140/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งในคดีอาญาที่จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามระเบียบได้
คดีนี้เดิมจำเลยให้การปฏิเสธ เมื่อสืบพยานโจทก์ไป 1 ปาก จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ กรณีจึงเป็นไปตามข้อ 7 แห่งระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 พ.ศ.2548 ที่ระบุว่า "ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ หรือคดีเสร็จไปโดยศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษา เช่น คดีที่โจทก์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือจำเลยถึงแก่ความตาย เป็นต้น หรือในกรณีที่มีการสืบพยานไว้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล หรือไต่สวนชันสูตรพลิกศพ หรือในคดีที่ทนายความปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงบางส่วน โดยไม่ได้เป็นความผิดของทนายความผู้นั้น และศาลเห็นว่ามีเหตุผลพิเศษที่ทนายความผู้นั้นควรได้รับเงินรางวัล ให้ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลให้แก่ทนายความได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท" การสั่งจ่ายเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้จึงต้องเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อดังกล่าว โดยไม่จำต้องอ้างอิงตารางอัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ท้ายระเบียบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินรางวัลทนายความให้แก่ผู้ร้อง 2,000 บาท จึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
อำนาจในการกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ เป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฎีกาให้ศาลฎีกากำหนดเงินรางวัลทนายความใหม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14793/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารและการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายโดยตรง
จำเลยปลอมเอกสาร เอกสารราชการ และเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ โดยลงลายมือชื่อปลอมของโจทก์ร่วมและทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ แล้วนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปใช้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขายฝาก ไถ่ถอนการขายฝาก และขายที่ดินของโจทก์ร่วม 2 แปลง ทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย แม้ฟ้องโจทก์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับที่ตั้งที่ดินของโจทก์ร่วมและไม่ได้แนบสำเนาโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ร่วมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร เอกสารราชการ และเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และใช้เอกสารปลอมดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14791/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการอนุญาตถอนอุทธรณ์และออกหมายจำคุกเพื่อประโยชน์ในการขอพระราชทานอภัยโทษ
จำเลยขอถอนอุทธรณ์และขอให้ศาลออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเพื่อจำเลยจะได้รับพระราชทานอภัยโทษในวันครบรอบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้จำหน่ายคดี ให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้นับแต่วันที่จำเลยเข้ามอบตัว ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยนับแต่วันใด แล้วแต่ศาลอุทธรณ์จะเห็นควร เมื่อศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้นับแต่วันที่จำเลยเข้ามอบตัว จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14342/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลชั้นต้นสั่งริบ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเพราะผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ของกลาง คดีถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยว่า รถยนต์ของกลางที่ถูกริบเป็นของผู้ใดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางในคดีนี้อีก โดยอ้างว่ารถยนต์หมายเลขทะเบียน ป้ายแดง ก - 1523 กาญจนบุรี ของกลาง ที่ถูกริบ ซึ่งปัจจุบันได้จดทะเบียนเปลี่ยนเป็นหมายเลขทะเบียน ถพ 1295 กรุงเทพมหานคร เป็นของผู้ร้อง จึงเป็นการรื้อร้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14294/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในสัญญาซื้อขายแทนผู้อื่นโดยมิได้เจตนาปลอมแปลงเอกสาร ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
จำเลยเขียนชื่อของผู้เสียหายลงในช่องผู้จะซื้อของสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยเป็นการเขียนให้เป็นลายมือของจำเลยเอง และยังใช้คำว่านายนำหน้าชื่อผู้เสียหายและเขียนชื่อผู้เสียหายผิดจาก "ประพฤทธิ์" เป็น "ประพฤติ" แสดงว่าจำเลยมิได้เจตนาจะเลียนให้เหมือนหรือคล้ายคลึงลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การลงลายมือชื่อปลอม เมื่อจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายทั้ง 2 ฉบับ ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เสียหายและ ฉ. ไม่ได้ทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงซึ่งผู้เสียหายทำด้วยตนเอง อันจะเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ ส่วนจำเลยจะเป็นตัวแทนมีอำนาจทำสัญญาแทนผู้เสียหายจริงหรือไม่ ก็เป็นปัญหาเพียงเรื่องการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งหรือจะผูกพันผู้เสียหายที่เป็นตัวการหรือไม่เพียงใดเท่านั้น แต่ไม่ทำให้สัญญาดังกล่าวกลายเป็นเอกสารปลอมไปได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
of 15