พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245-6246/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและผลกระทบต่อการพิจารณาคดี ศาลใช้ดุลพินิจชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นตรวจและมีคำสั่งในคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า "รับฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์วางค่าส่งในวันนี้..." โดยวันที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมายมาพร้อมด้วย ในคำแถลงโจทก์ยืนยันว่า จำเลยมีภูมิลำเนาตามฟ้องตามหนังสือรับรองบริษัทจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำแถลงนั้นว่ามีหลักฐานภูมิลำเนา หากส่งไปรษณีย์ไม่ได้ ให้เจ้าพนักงานส่ง ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด ดังนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคหนึ่ง แล้ว
เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีก แม้จะเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอของโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในทางไม่จำหน่ายคดีและให้ดำเนินคดีต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีก แม้จะเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอของโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในทางไม่จำหน่ายคดีและให้ดำเนินคดีต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างดำเนินคดีอาญา ส่งผลให้คดีความผิดต่อส่วนตัวระงับตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 341 ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้อง ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์ภาค 5 คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องอ้างว่า จำเลยได้บรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์แล้ว คณะกรรมการโจทก์มีมติให้ถอนฟ้องจำเลยและไม่ติดใจว่ากล่าวคดีนี้อีก จำเลยไม่คัดค้านและท้ายคำร้องลงลายมือชื่อจำเลยไว้ด้วย คำร้องขอถอนฟ้องโจทก์เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: คณะกรรมการต้องมอบหมายผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทน
กรณีความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคล ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 (3) สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 51 บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้" ประกอบกับข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 58 (16) ระบุให้คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์มีอำนาจและหน้าที่ให้ฟ้อง ต่อสู้คดี หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์ฯ ดังนี้ คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ที่เป็นเสียงข้างมาก จึงเป็นผู้แทนโจทก์ที่มีอำนาจฟ้องคดีด้วยตนเองหรือจะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทนก็ได้ เมื่อการฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ได้มอบหมายให้ ช. และ ก. ดำเนินคดีแทน แม้ ช. และ ก. จะเป็นกรรมการของโจทก์หรือสมาชิกโจทก์ก็ไม่อาจฟ้องคดีแทนโจทก์และไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ แม้กรรมการของโจทก์คนใดคนหนึ่งจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแสวงหาผลประโยชน์จากคดีความของผู้อื่น เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
สัญญาว่าจ้างที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ของจำเลยในคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาโดยให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ค่าทนายความ และค่าขึ้นศาล ทำขึ้นโดยหวังจะได้ส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ที่ได้จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันโดยที่โจทก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี วัตถุประสงค์แห่งสัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับมานั้นเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ โจทก์จึงไม่อาจนำสัญญาว่าจ้างดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยชำระส่วนแบ่งให้แก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานพาอาวุธ: ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด ศาลพิพากษายกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานพาอาวุธว่า จำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลม ความยาวพร้อมด้ามประมาณ 1 ฟุต 1 เล่ม ติดตัวไปบริเวณสามแยกบ้านชมน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลชมเจริญ อำเภอปากชม จังหวัดเลย อันเป็นในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธติดตัวจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ทั้งจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะระบุอ้าง ป.อ. มาตรา 371 ไว้ด้วยก็ตาม แต่ถ้อยคำที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า "โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธติดตัวจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ทั้งจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานและไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย" มิใช่องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ทั้งไม่อาจแปลว่าถ้อยคำนั้นมีความหมายว่าไม่มีเหตุสมควรตามที่โจทก์ฎีกาได้ เพราะคำฟ้องต้องบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อโจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดดังกล่าวว่าเป็นการพาอาวุธโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรมาด้วย ฟ้องโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิด แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 371 มิได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง