คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกงแม้พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหายักยอก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการยักยอก โจทก์มีสิทธิปรับบทฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเครื่องหมายการค้า-ยาสูบ: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุม-สอบสวนได้ แม้ไม่มีผู้ร้องทุกข์ และการประกาศราคายาสูบไม่ต้องลงราชกิจจานุเบกษา
ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจทำการสอบสวนได้ ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษผู้กระทำผิดหรือไม่ แม้จะวินิจฉัยว่าการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีผลทำให้การดำเนินคดีนี้แก่จำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ศาลจังหวัดมุกดาหารดำเนินการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ตามคำขอของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 47 วรรคสอง เมื่อศาลจังหวัดมุกดาหารเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและสืบพยานเพิ่มเติมตามมาตรา 26 และ 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 45
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 23 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตออกประกาศเพื่อกำหนดราคายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตเพื่อใช้เป็นมูลค่าในการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบ ตามมาตรา 5 ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้บังคับให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้ แม้ประกาศกรมสรรพสามิตจะมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็มีผลใช้บังคับในการนำไปคำนวณค่าปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์: การมอบอำนาจช่วงที่มิชอบ ทำให้การฟ้องร้องเป็นโมฆะ
บริษัท ย. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ได้มอบอำนาจให้บริษัท ค. โดย พ. มีอำนาจร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ กับทั้งให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวแทนผู้เสียหายได้ แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายคือบริษัท ค. มิใช่ พ. เช่นนี้ พ. ในฐานะส่วนตัวจึงไม่อาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลใดไปร้องทุกข์แทนผู้เสียหายได้ การที่ พ. มอบอำนาจช่วงให้ ป. ไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะที่ พ. เองเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การแจ้งความร้องทุกข์โดย ป. ตามที่ได้รับมอบอำนาจจาก พ. จึงเป็นการร้องทุกข์โดยมิชอบเพราะกระทำไปโดยผู้ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ดังนั้น พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในข้อหาความผิดนี้ได้ ปัญหาเรื่องการสอบสวนและการฟ้องคดีชอบหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้ผู้เสียหายตกเป็นผู้กระทำผิด จึงขาดอำนาจฟ้องคดีเช็ค
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายเพียง 50,000 บาท แต่ในสัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยกู้ไป 60,000 บาท แสดงว่าเงิน 10,000 บาท ที่เกินมาคือดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดจากจำเลย ปรากฏว่าในสัญญากำหนดเวลาใช้เงินกู้คืนภายใน 1 เดือน จึงเท่ากับเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราตามกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตรา แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความที่ไม่ชัดเจนถึงเจตนาที่จะดำเนินคดี ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีความผิดอันยอมความได้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมมีข้อความแต่เพียงว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ร. จัดการแจ้งความเรื่องเช็คคืน โดยไม่ได้ระบุให้ มีอำนาจ แจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีเจตนาที่จะให้จำเลยต้องรับโทษทั้งได้ความว่า เหตุที่แจ้งความร้องทุกข์ ก็เพราะไม่ต้องการให้เช็คขาดอายุความ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดี ความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสองการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจต้องถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องข่มขืนกระทำชำเราต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่มี พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใด การรับแจ้งความเช่นนี้แม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนความผิดข่มขืนต้องมีคำร้องทุกข์ที่แสดงเจตนาจะให้ลงโทษ การแจ้งความไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ตามป.อ.มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน และคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีข่มขืนที่ขาดความชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้อง และความผิดเป็นเรื่องยอมความได้
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
of 22