คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537-4540/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า ความผิดกรรมเดียว การริบของกลาง และการแก้ไขโทษ
คดีความผิดอันไม่อาจยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนหรือดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายมอบอำนาจช่วงโดยชอบหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานอัยการโจทก์มีคำสั่งและฟ้อง การสอบสวนตลอดจนอำนาจฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือ และเครื่องหมายการค้าเป็นคำว่า "SQUARE D" แยกต่างหากจากกัน ผู้เสียหายจึงมีสิทธิที่จะเลือกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเครื่องหมายใดเครื่องหมายหนึ่งเพียงเครื่องหมายเดียวกับสินค้าของตน หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งสองเครื่องหมายประกอบกันกับสินค้าของตนก็ได้ การเสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายปลอม แม้จะเป็นการปลอมเพียงเครื่องหมายเดียวก็อาจเป็นความผิดตามฟ้องได้
มาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ใช้บังคับเมื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคล เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และลงโทษมาตรา 114 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง
สินค้าของกลางทั้งสี่สำนวนจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในวันเวลาเดียวกันหรือคราวเดียว ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะเสนอจำหน่ายสินค้าจำนวนดังกล่าวในคราวเดียวกัน เพียงแต่จำเลยแบ่งสินค้านำไปวางเสนอจำหน่ายเพื่อหากำไรหลายสถานที่ แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสี่สำนวน เมื่อมีการรวมพิจารณาจึงต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว
การมีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่าย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 โดยไม่ต้องคำนึงว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร และเมื่อพิพากษาให้ริบสินค้าของกลางตามมาตรา 115 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทริบทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 อันเป็นบททั่วไปอีก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/43 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาญาแผ่นดินไม่ต้องคำนึงถึงการร้องทุกข์ของโจทก์ อำนาจสอบสวนเกิดได้แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ
ความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรที่ฟ้องเป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้ ดังนั้น แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนคดีได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย ฉะนั้นหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายจะชอบด้วยกฎหมายอย่างไรหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ยึดของกลางในคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจยึดของกลาง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่าในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่เกี่ยวกับความผิดอาญาให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ย่อมมีความหมายว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้นแต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132(2) และ (3)เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสามที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดเมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่าเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้วย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ) ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไปและถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวนดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้วก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ (เดิม)กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูลจึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดของกลางในคดีป่าไม้: เจ้าหน้าที่ป่าไม้ vs พนักงานสอบสวน
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่า ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. ก็ย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้น แต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 131 มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 132 (2) และ (3) เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆ ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 85 วรรคสาม ที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ)ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป และถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวน ดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้ว ก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิด ข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ(เดิม) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกัน และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล จึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตรา ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์
จำนวนเงินในเช็คพิพาทได้รวมดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. 2475 มาตรา 3(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดเกินอัตราตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ไม่ได้ ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตามมาตรา 3(1) การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นไปโดยไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตามมาตรา 120,121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8078/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์และการมีอำนาจสอบสวน-ฟ้องในคดีอนาจาร ความผิดต่อส่วนตัว
แม้พนักงานสอบสวนจะได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ากระทำอนาจารผู้เสียหายต่อหน้าธารกำนัล อันไม่ใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ ซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ตามระเบียบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหากระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายโดยไม่มีกรณีเกิดต่อหน้าธารกำนัลซึ่งเป็นความผิดอันย่อมความได้นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในอายุความแล้ว ทั้งโจทก์ได้นำสืบว่า ผู้เสียหายได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหาย จึงฟังได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในความผิดเช็ค: ต้องเป็นผู้ทรงเช็คหรือผู้เสียหายโดยตรง จึงมีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดี
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้วได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมป. ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารและธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทจึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 121 วรรคสอง และมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องทุกข์ของผู้รับเช็คลดชั้น กรณีไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม ป.ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคาร และธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาท จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา121 วรรคสอง และมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ อาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แต่การพิพากษาลงโทษฐานจัดหางานไม่ถูกต้อง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ เจ้าพนักงานตำรวจก็มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้อยู่แล้ว ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกง: การสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ.ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับว่าในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าว ไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ร้อยตำรวจโท อ.ไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกงหรือหลอกลวงผู้ใดไว้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้วพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงโดยวินิจฉัยว่าไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว
of 22