คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงรับสมัครงานและกู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยสูง
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงาน โดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเอง หรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงาน แต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำ แต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแกประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัคร การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 341, 343 วรรคแรก
การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ 30 หุ้น เป็นเงิน 3,000 บาท มีลักษณเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ 135 บาท จึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบ หรือจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าว และในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ 135 บาท หรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ 54 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายให้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว จึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ได้กระทำในนามบริษัท โดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดี การรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดี การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้วก็ดี ล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น มิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้มาทำงาน เพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำ ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรก ๆ และจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้ กรณีจึงมิใช่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตาม ป.อ. มาตรา 344 ไม่มีความผิดตามมาตรานี้
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 20 ปี นั้นไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) รวมจำคุกคนละ 50 ปี แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้า ควรแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์และรับของโจร: การพิสูจน์ความรู้และเจตนาในการกระทำผิด
ส. พาจำเลยไปขนสุราซึ่งกองอยู่หน้าโรงเก็บสินค้าล.ที่ส. เป็นลูกจ้างอยู่มิได้ไปขนสุราจากโรงเก็บสินค้าก.และโรงเก็บสินค้าพ. ที่ผู้เสียหายนำสุราไปเก็บรักษาไว้แสดงว่าส. ลักสุราของผู้เสียหายและขนสุราดังกล่าวออกจากโรงเก็บสินค้าก. ไปเก็บไว้ที่โรงเก็บสินค้าล. ตอนที่จำเลยไปช่วยขนสุราของผู้เสียหายจึงเป็นเวลาที่ส. ลักสุราของผู้เสียหายเสร็จแล้วจำเลยจึงมิได้เป็นตัวการร่วมกับส. ลักทรัพย์ สุราของกลางแม้จะมีสารชนิดหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการปวดศีรษะแต่ก็เป็นสุราที่ผลิตโดยได้รับอนุญาตจึงมิใช่สุราที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดและสุราดังกล่าวก็เป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์และคดีที่จำเลยถูกกล่าวหาเป็นคดีความผิดต่ออาญาแผ่นดินมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา121วรรคหนึ่งถึงแม้ผู้เสียหายจะมิได้ร้องทุกข์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อส่วนตัวไม่กระทบอำนาจฟ้องคดีทำร้ายร่างกาย และเหตุไม่ควรปรานีในการรอการลงโทษ
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 297ที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยนั้น มิใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้น การที่ ถ.และอ. จะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือไม่ หามีผลต่ออำนาจฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ พฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกกระทำแก่ ถ.และอ. เป็นการกระทำที่รุนแรง มีการใช้ไม้ท่อนและขวดเป็นอาวุธ ร่วมกระทำความผิดด้วยกันหลายคนโดยที่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายก่อเหตุก่อนและผลแห่งการถูกทำร้ายร่างกายครั้งนั้น ถ. ได้รับอันตรายสาหัสถึงกับเลือดคั่งใต้กะโหลกศีรษะ สมองช้ำ เดินไม่ได้ตามปกติทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บรรเทาผลร้ายแห่งคดีแต่อย่างใดเลยจึงไม่มีเหตุอันควรปรานีด้วยการรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและการพิจารณาโทษจากพฤติการณ์ร้ายแรง
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 และ 297 ที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยนั้น มิใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้น การที่ถ.และ อ. จะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือไม่ หามีผลต่ออำนาจฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกกระทำแก่ ถ.และ อ.เป็นการกระทำที่รุนแรง มีการใช้ไม้ท่อนและขวดเป็นอาวุธ ร่วมกระทำความผิดด้วยกันหลายคนโดยที่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายก่อเหตุก่อนและผลแห่งการถูกทำร้ายร่างกายครั้งนั้น ถ.ได้รับอันตรายสาหัสถึงกับเลือดคั่งใต้กะโหลกศีรษะ สมองช้ำ เดินไม่ได้ตามปกติ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บรรเทาผลร้ายแห่งคดีแต่อย่างใดเลย จึงไม่มีเหตุอันควรปรานีด้วยการรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวเนื่องกัน บุกรุก-ทำให้เสียทรัพย์: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ ศาลลงโทษได้
เมื่อข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่า ข้อหาความผิดฐานบุกรุกกับข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน และเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน การที่ได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วก็เท่ากับได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานบุกรุกด้วย เมื่อมีการสอบสวนในความผิดทั้งสองข้อหานี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องทั้งสองข้อหา และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานบุกรุกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวกัน โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากมีการสอบสวนทั้งสองข้อหา
เมื่อข้อเท็จจริงในคดีปรากฏว่า ข้อหาความผิดฐานบุกรุกกับข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน การที่ได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วก็เท่ากับได้ร้องทุกข์ในข้อหาความผิดฐานบุกรุกด้วย เมื่อมีการสอบสวนในความผิดทั้งสองข้อหานี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องทั้งสองข้อหา และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานบุกรุกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยไม่มีสิทธิร้องทุกข์
ณ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ณ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่มีสิทธิร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย
ณ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ. ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยณ. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจพนักงานสอบสวน-การฟ้องคดีอาญา-การถอนคำร้องทุกข์-ไม่เป็นละเมิด
การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเชื่อคำให้การของผู้เสียหายและไม่สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก เป็นดุลพินิจของจำเลย เมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลแล้ว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ก็มิได้หมายความว่าคดีที่โจทก์ถูกฟ้องไม่มีมูลความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แม้ไม่ได้เข้าเวร ย่อมมีอำนาจสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็น พนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี
of 22