คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แม้ไม่ได้เข้าเวร ย่อมมีอำนาจสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็น พนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่างจากฟ้อง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความจริง
ป. ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ. โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: แม้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงในชั้นพิจารณา ก็ไม่กระทบอำนาจเดิม
ป.ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ.โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ศาลต้องพิจารณาความผิดจำเลยตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295,83 ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเหตุคดีนี้เกิดจากผู้เสียหายเริ่มก่อเหตุก่อนและสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยทั้งสาม ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และพิพากษายกฟ้องเช่นนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์มีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า คดีนี้การสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องความผิดอาญาแผ่นดินประเด็นเรื่องผู้เสียหายจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลชั้นต้นจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นเหตุให้เพิกถอนคำสั่งประทับฟ้องเดิม ขอให้ยกกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและสั่งให้ศาลชั้นต้นรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปตามรูปคดีนั้น ถือได้ว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงแสดงไว้ชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวนั้น พนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการสอบสวนได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบดังนั้นแม้ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุและสมัครใจวิวาทกับจำเลยทั้งสามอันมีผลทำให้ผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายก็ตามพนักงานอัยการโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีอาญา: ตัวแทนไม่ใช่ผู้เสียหายเมื่อส่งมอบเงินตามคำสั่ง
เงินที่บ.โอนมาให้โจทก์ร่วมโดยผ่านทางธนาคารเพื่อให้นำไปชำระราคาซื้อที่ดินแก่ป.นั้น โจทก์ร่วมมีหน้าที่เพียงเบิกจากธนาคารมามอบให้แก่จำเลยตามคำสั่งของบ.เท่านั้น โจทก์ร่วมจึงจึงเป็นเพียงตัวแทนของบ. หาได้เป็นผู้รับฝากเงินจากบ.ไม่เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้แก่จำเลยรับไปตามคำสั่งแล้วโจทก์ร่วมก็หมดหน้าที่และความรับผิดชอบในเงินดังกล่าวต่อบ.ตัวการแม้จำเลยจะยักยอกเงินนั้นเสียไม่ได้นำไปมอบให้แก่ป.โจทก์ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดชอบต่อบ.เกี่ยวกับเงินนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ กรณีนี้ผู้เสียหายคือบ. เมื่อเป็นคดีอันยอมความได้และไม่ปรากฏว่าบ.ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง, การแก้คำฟ้อง, และอำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์
ฎีกาของจำเลยที่ว่าคำเบิกความของพยานโจทก์แตกต่างกันเป็นพิรุธไม่น่าเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องร้อง โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย แม้ในคำฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยกับพวกร่วมกันลักทรัพย์ของ ศ.ไม่ได้กล่าวถึงจำเลยลักทรัพย์ของว. ซึ่งเป็นผู้เสียหายแต่เมื่อโจทก์ขอแก้คำฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องแล้วว่า สิ่งของที่ลักเป็นของ ว.ซึ่งอยู่ในความครอบครองของศ.ตรงกับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความรับเงินแทนลูกความโดยไม่ได้รับมอบหมาย ไม่ถือเป็นการยักยอกทรัพย์
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความของผู้เสียหายโดยมิได้รับมอบหมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น จำเลยหามีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จาก ค.ต่อมาผู้เสียหายกับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000 บาทจะผ่อนชำระ ต่อมา ค.ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินดังกล่าวโดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค.แทนผู้เสียหาย ฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ตามก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 190/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์และอำนาจฟ้องคดีอาญา แม้มีการตรวจสอบเขตที่ดินก่อน
เอกสารการแจ้งความมีข้อความกล่าวถึงเรื่องจำเลยที่ 1 เข้าไปทำบ่อเลี้ยงกุ้งในที่ดินของโจทก์ร่วมและผู้เสียหายอื่น และมีข้อความสำคัญว่า "จึงมาแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบ แล้วดำเนินการตามกฎหมาย" เป็นข้อความที่ระบุแจ้งชัดว่าผู้เสียหายแจ้งโดยมีความประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ แม้พนักงานสอบสวนจะให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายอื่นไปดำเนินการตรวจสอบเขตที่ดินให้แน่นอนเสียก่อน ก็ไม่ลบล้างความประสงค์หรือเจตนาของโจทก์ร่วมและผู้เสียหายอื่น ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์โดยตรง
คดีอาญาซึ่งมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์ พนักงานสอบสวน ก็ มีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคหนึ่ง เมื่อทำการสืบสวน หรือสอบสวนไปทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนได้แล้ว พนักงานสอบสวนไม่จัดให้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 123,124,125 ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นเสียไป พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องร้องของบริษัท: คำร้องทุกข์ที่ลงชื่อกรรมการบริษัท ถือเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัท
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ.และนางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ.ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อ นาย จ.แล้ว นางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ.กับนางสาว ศ.ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้ว หาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ.ในฐานะส่วนตัวไม่
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้
of 22