คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 121

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องร้องของบริษัท: คำร้องทุกข์ที่ลงชื่อกรรมการบริษัท ถือเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัท
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ.และนางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ.ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อ นาย จ.แล้ว นางสาว ศ.กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ.กับนางสาว ศ.ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้ว หาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ.ในฐานะส่วนตัวไม่
ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คพิพาทและอำนาจร้องทุกข์: กรณีมอบเช็คให้ห้างหุ้นส่วนและเบิกเงินแทน
การที่ อ. รับเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือแล้วนำไปมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท และแม้ อ. จะสามารถรับเงินแทนห้างฯ ได้ ก็ในฐานะผู้แทนของห้างฯ เท่านั้น อ. จึงมิใช่ผู้เสียหาย ซึ่งจะมีอำนาจร้องทุกข์ในคดีเกี่ยวกับเช็คพิพาทตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์หากไม่ได้มีเจตนาให้ดำเนินคดี และคดีเช็คขาดอายุความหากไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมายแต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถามผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความล่าช้าในคดีเช็ค: ผลกระทบต่ออายุความและความเป็นคำร้องทุกข์
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมาย แต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถาม ผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7)
คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นการร้องทุกข์ที่ไม่ชอบ เพราะ พ. ไม่ใช่ผู้เสียหาย เท่ากับว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การมอบอำนาจที่ไม่ชัดเจน ทำให้การร้องทุกข์ไม่ชอบและไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นการร้องทุกข์ที่ไม่ชอบ เพราะ พ. ไม่ใช่ผู้เสียหาย เท่ากับว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์โดยไม่ชอบทำให้การฟ้องเป็นโมฆะ
โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ พ. ไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 กลับไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นการร้องทุกข์ที่ไม่ชอบ เพราะ พ. ไม่ใช่ผู้เสียหาย เท่ากับว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีนี้ซึ่งเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวแก่จำเลยทั้งสองต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์ขึ้นอยู่กับผู้เสียหายที่แท้จริง แม้ทรัพย์สินจะอยู่ในความครอบครองของผู้อื่น การบุกรุกต้องมีเจตนา
แม้ปูนซีเมนต์ที่จำเลยทำให้เสียหายจะอยู่ในบริเวณโรงเรียนซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของ ส. ครูใหญ่ แต่ปูนซีเมนต์ดังกล่าวเป็นของ ล. ซึ่งรับเหมาก่อสร้างให้โรงเรียน และมีคนงานของ ล. พักอาศัยอยู่ในบริเวณโรงเรียนด้วย แสดงว่า ล. มอบปูนซีเมนต์ดังกล่าวให้อยู่ในความครอบครองดูแลของคนงานของตนส. จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน การสอบสวนไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยเดินเข้าไปในบริเวณโรงเรียนในเวลากลางคืน จนไปถึงอาคาร 2 ซึ่งไม่ใช่ทางผ่านและฉีกถุงปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้หน้าอาคาร 2 แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ ส. ครูใหญ่ ของโรงเรียนดังกล่าวโดยปกติสุขจำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การแจ้งข้อมูลเท็จ และการรอการลงโทษ
ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว ผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่ พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
จำเลยกรอกใบสมัครเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจำเลยจบการศึกษาประโยคชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ความจริงแล้วจำเลยไม่ได้จบการศึกษาชั้นดังกล่าว อันเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับสมัครเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 กับแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติใน ความหมายของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 มาตรา 6 นั้น หมายถึงหลักสูตรหรือแผนการศึกษาของชาติในขณะที่บุคคลนั้น ๆ สอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยสอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลายมัธยมปีที่ 6 ในปี พ.ศ.2503 ซึ่งขณะนั้นแผนการศึกษาของชาติที่ใช้บังคับอยู่คือแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาแยกออกเป็น 3 สาย ในสาย ข.มัธยมวิสามัญศึกษาซึ่งมีชั้นมัธยมวิสามัญตอนปลายเพียงแค่มัธยมปีที่ 6 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยสอบไล่ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแผนการศึกษาของชาติ พ.ศ.2494 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ที่แก้ไขแล้ว การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะกรอกคุณสมบัติทางการศึกษาลงในใบสมัครไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 26
การที่จำเลยกระทำผิดโดยแจ้งคุณสมบัติทางการศึกษาเป็นเท็จเป็นเพราะจำเลยเข้าใจผิดว่าตนไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งความจริงแล้วจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์สิ่งแวดล้อมแล้ว สมควรรอการลงโทษไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายเงินผิดพลาดทางบัญชีและการพิสูจน์เจตนาทุจริต จำเลยไม่มีความผิด
แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะได้ความว่าเหตุตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2525 และวันที่ 11 มีนาคม2525 แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2526และวันที่ 11 มีนาคม 2526 เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดถือไม่ได้ว่าต่างกันในสาระสำคัญและเมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้
of 22