คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก: ผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยตรง โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) สำหรับความผิดนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเลี้ยวรถตัดหน้าตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: เลี้ยวตัดรถสวนทาง ไม่ใช่รถตาม
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 9 วรรคสาม ซึ่งมิให้เลี้ยวรถตัดหน้ารถยนต์หรือรถรางซึ่งแล่นภายในระยะน้อยกว่า15 เมตร หมายถึงการเลี้ยวตัดหน้ารถที่กำลังสวนทางมาไม่ใช่รถที่แล่นตามมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผู้ไม่ก่อให้เกิดเหตุไม่มีหน้าที่
จำเลยที่ 1 ขับรถมาชนรถจำเลยที่ 2 ซึ่งหยุดรออยู่ขอบทาง เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บ ดังนี้ จำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายผู้อื่นการที่จำเลยที่ 2 ไม่หยุดรถทำการช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 มาตรา 30 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขับรถประมาทแม้ไม่มีผู้เสียหาย ถือเป็นความผิดตามกฎหมายจราจร
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกหินประมาณ 70 ไมล์ต่อชั่วโมง ผ่านทางแยกซึ่งมีคนพลุกพล่านและแซงรถยนต์บรรทุกซึ่งจอดริมถนนห่างทางแยกประมาณ 5 วา เป็นการขับรถโดยความประมาทแม้จะปรากฏว่ารถยนต์โฟล์สวาเกนวิ่งล้ำเข้ามาเฉี่ยวชนรถจำเลยในเส้นทางของรถจำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2508 มาตรา 7 ไม่จำต้องเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การจับกุมต้องแจ้งข้อหาและควบคุมตัว หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการจับกุม
พนักงานสอบสวนสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยด้วยวาจาโดยไม่ได้ออกหมายจับ และเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับจำเลยนั้นไม่ได้เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจะจับจำเลยได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้แล้วได้ส่งมอบตัวจำเลยต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย และไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้หรือให้ประกันตัวไป เพียงแต่นัดให้จำเลยมาสถานีตำรวจในวันรุ่งขึ้นเท่านั้นพฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกจับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การสั่งจับด้วยวาจาโดยมิได้ออกหมายจับ และการปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่แจ้งข้อหา
พนักงานสอบสวนสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยด้วยวาจาโดยไม่ได้ออกหมายจับ และเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับจำเลยนั้นไม่ได้เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจะจับจำเลยได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้แล้วได้ส่งมอบตัวจำเลยต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย และไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้หรือให้ประกันตัวไป เพียงแต่นัดให้จำเลยมาสถานีตำรวจในวันรุ่งขึ้นเท่านั้นพฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกจับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการกำหนดสถานที่จอดพักรถและสถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.การขนส่ง
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้ แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของ ทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรี ที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50(1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่งผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่สถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก กับ พ.ร.บ.การขนส่ง และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50 (1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขอส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานทีที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต้องระบุข้อเท็จจริงชัดเจนพอให้ศาลพิจารณาลงโทษได้ หากฟ้องไม่ชัดเจนแต่มีหลักฐานอื่นประกอบก็ใช้ได้
ฟ้องด้วยวาจานั้น ผู้ว่าคดีต้องบรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏครบถ้วนพอที่ศาลจะลงโทษตามบทกฎหมายที่ขอประกอบด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 19 ด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลต้องถามผู้ต้องหาถ้าให้การ รับสารภาพ ศาลจะบันทึกคำฟ้องให้ได้ใจความแห่งข้อหาเพื่อพิพากษาคดีต่อไป ถ้าคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ไม่ปรากฏว่าที่บาดเจ็บรักษา 30 วันหายนั้นถึงสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ข้อใดศาลย่อมพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบหลักฐานการฟ้องด้วยวาจาและรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องได้ เมื่อเห็นว่าปรากฏข้อเท็จจริงพอที่จะพิจารณาพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ได้ก็พิพากษาลงโทษไปได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณา 'อันตรายสาหัส' ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297: การสูญเสียฟันไม่ถือเป็นอันตรายสาหัส
การถูกกระทำร้ายถึงเสียอวัยวะที่จะถือว่าเป็นอันตรายสาหัสตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 คำว่า อวัยวะอื่นใดในอนุมาตรา 3 นั้น ย่อมหมายถึงอวัยวะอื่นนอกจากที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นอวัยวะที่สำคัญเช่นกันและเมื่อสูญเสียอวัยวะนั้นไปแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ได้รับอันตรายกลายเป็นคนพิการไปด้วย
การที่จำเลยขับรถโดยประมาทชนรถผู้อื่นทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บฟันหัก 1 ซี่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าได้รับอันตรายสาหัสตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
of 4