คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1530

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรนอกสมรส: การตกลงยกบุตรไม่มีผลผูกพัน อำนาจเป็นของมารดา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งมีผลตามกฎหมายว่า บุตรผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรนอกสมรส อำนาจปกครองอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดา จำเลยให้การรับว่า จำเลยกับโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจริง ต่อสู้เพียงว่าจำเลยมีอำนาจปกครองบุตรทั้งสี่โดยโจทก์ตกลงยกบุตรทั้งสี่ให้จำเลยเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว เช่นนี้ ประเด็นที่ว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ นั้น จึงเป็นอันยุติต้องฟังว่าผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ฝ่ายเดียวการที่จำเลยแถลงต่อศาลในภายหลังว่าจำเลยมีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาล และได้จดทะเบียนรับรองบุตรด้วยนั้น ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรนอกสมรส: มารดายังคงมีอำนาจ แม้มีการตกลงเลี้ยงดูโดยบิดา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งมีผลตามกฎหมายว่า บุตรผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรนอกสมรส อำนาจปกครองอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดา จำเลยให้การรับว่า จำเลยกับโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจริง ต่อสู้เพียงว่าจำเลยมีอำนาจปกครองบุตรทั้งสี่โดยโจทก์ตกลงยกบุตรทั้งสี่ให้จำเลยเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว เช่นนี้ ประเด็นที่ว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ นั้น จึงเป็นอันยุติต้องฟังว่าผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ฝ่ายเดียว การที่จำเลยแถลงต่อศาลในภายหลังว่าจำเลยมีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาล และได้จดทะเบียนรับรองบุตรด้วยนั้น ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู: การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต้องเกิดขึ้นก่อนการเสียชีวิต
โจทก์เพิ่งจะได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วผู้ตาย ซึ่งเป็นบิดาตามคำสั่งศาล และคดีถึงที่สุดเมื่อนายแก้วได้ตายไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยฐานละเมิดที่ทำให้นายแก้วบิดาตนถึงแก่ความตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเกิดขึ้นเมื่อเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนการเสียชีวิตของผู้มีหน้าที่
โจทก์เพิ่งจะได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วผู้ตาย ซึ่งเป็นบิดาตามคำสั่งศาล และคดีถึงที่สุดเมื่อนายแก้วได้ตายไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยฐานละเมิดที่ทำให้นายแก้วบิดาตนถึงแก่ความตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าปลงศพ, ละเมิด, ความรับผิดนายจ้าง
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม(อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน(อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอยด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดและการเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องคดีไม่สมบูรณ์มีผลต่อสิทธิของโจทก์ร่วม
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน (อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองเด็ก: ศาลพิพากษาให้เด็กอยู่กับมารดาถือเป็นการมอบอำนาจปกครองตามกฎหมาย จำเลยต้องขอถอนอำนาจก่อนจึงจะรับตัวเด็กได้
การที่ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย(บิดา)และให้เด็กอยู่กับโจทก์ (มารดา) โดยให้จำเลยส่งค่าเลี้ยงดูเด็กจนเด็กอายุครบ 20 ปี ถือได้ว่าศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดา ตามมาตรา 1538(6) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: การพิพากษาให้บุตรอยู่กับมารดาถือเป็นการให้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
การที่ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย (บิดา) และให้เด็กอยู่กับโจทก์ (มารดา) โดยให้จำเลยส่งค่าเลี้ยงดูเด็กจนเด็กอายุครบ 20 ปี ถือได้ว่าศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดา ตามมาตรา 1538(6) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทของทารกในครรภ์ และการนับอายุความฟ้องร้องมรดก เริ่มเมื่อคลอด
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตายมีสิทธิเป็นทายาทได้ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการคือนับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกอีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องร้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทของทารกในครรภ์ และการเริ่มนับอายุความฟ้องเรียกมรดก
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตายมีสิทธิเป็นทายาทได้ ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทายกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการ คือ นับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก อีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
of 2