พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอประนอมหนี้หลังล้มละลายกระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน การประชุมเจ้าหนี้ไม่ชอบ
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้รายที่ 190, 353 และ 354 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 206459 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยขอให้ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันแล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) การที่จำเลยที่ 2 เสนอคำขอประนอมหนี้โดยขอชำระเงิน 590,000,000 บาท เพื่อไถ่ถอนจำนองทรัพย์หลักประกันจากผู้ร้องและให้คืนโฉนดที่ดินแก่จำเลยที่ 2 แล้วขอให้ผู้คัดค้านถอนการยึดทรัพย์หลักประกัน ทั้งที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้รายที่ 190, 353 และ 354 ขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้รายที่ 190 เป็นเงิน 174,335,644.93 บาท เจ้าหนี้รายที่ 353 เป็นเงิน 182,019,304.11 บาท ส่วนเจ้าหนี้รายที่ 354 มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเงิน 701,691,757.72 บาท และผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอันมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ใช้สิทธิเลือกที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการกับทรัพย์หลักประกันของผู้ร้องด้วยวิธีให้ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) คำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของจำเลยที่ 2 ที่ขอไถ่ถอนทรัพย์หลักประกันของผู้ร้องโดยที่จำเลยที่ 2 กำหนดราคาไถ่ถอนทรัพย์หลักประกันเองซึ่งผู้ร้องไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นคำขอประนอมหนี้ที่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน อันเป็นคำขอประนอมหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้คัดค้านไม่อาจดำเนินการจัดประชุมเพื่อเสนอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวได้ การจัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561 เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของจำเลยที่ 2 ของผู้คัดค้านจึงกระทำโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีได้ครั้งเดียว หากพ้นระยะเวลาหรือขั้นตอนแล้ว ยื่นเพิ่มเติมไม่ได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 บัญญัติบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษา หรือรอการพิพากษา หรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลังเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีกอันมิใช่เป็นการขอแก้ไขคำขอประนอมหนี้ตามมาตรา 47 และเป็นการพ้นระยะเวลาตามมาตรา 45 แล้ว การยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายอีกครั้งจะทำให้คดีล้มละลายไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็วผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: ยื่นได้ครั้งเดียวตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 บังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษาหรือรอการพิพากษาหรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลัง เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้วตามมาตรา 63 การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีก จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการยกเหตุไม่ควรให้ล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในชั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายจำเลยอุทธรณ์ 2 ประการ คือไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยทุจริตดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประการหนึ่ง และคดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดจำนวนหนี้ขั้นต่ำที่จะฟ้องคดีล้มละลายไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และในคดีมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 4 ราย ขอให้ศาลอุทธรณ์หยิบยกมาตรา 14 ขึ้นพิจารณาอีกประการหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาที่สองว่าจำเลยจะสามารถขอให้ศาลยกเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มลายตามมาตรา 14 มาพิจารณาในชั้นขอประนอมหนี้ได้หรือไม่ อย่างไร จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วสมดั่งเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียว
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้จำนองโดยบุคคลภายนอก
ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินโดยให้บริษัทร. ลูกหนี้ของผู้ล้มละลายถือกรรมสิทธิ์แทน และบริษัทร. ได้นำไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ล้มละลายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของบริษัทร. ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความทวงหนี้ให้บริษัทร. ชำระหนี้ผู้ร้องจึงขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้โดยขอผ่อนชำระหนี้จำนองนั้นเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อื่นยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองแก่ผู้ล้มละลาย เมื่อการเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าจะขัดกับเจตนาของบริษัทร. และผู้ล้มละลายแล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้แทนบริษัทร. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 และมาตรา 314 กรณีไม่ใช่เรื่องการขอประนอมหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัทร. แก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย ชอบที่ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 32 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
การที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง14แปลงแทนลูกหนี้ของผู้ล้มละลายเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230,314 เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนลูกหนี้มีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินทั้ง14โฉนดอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายศาลชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามมาตรา32แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้จำนองแทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขต่อที่ประชุมเจ้าหนี้และการพิจารณาของศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยให้บริษัท ร.ลูกหนี้ของผู้ล้มละลายถือกรรมสิทธิ์แทน และบริษัท ร.ได้นำไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ล้มละลายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท ร.ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความทวงหนี้ให้บริษัท ร.ชำระหนี้ ผู้ร้องจึงขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้โดยขอผ่อนชำระหนี้จำนองนั้น เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดตราดยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองแก่ผู้ล้มละลาย เมื่อการเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าจะขัดกับเจตนาของบริษัท ร.และผู้ล้มละลายแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนบริษัท ร.ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 และมาตรา 314 กรณีไม่ใช่เรื่องการขอประนอมหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์หรือขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ เพราะตามคำร้องของผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ขอให้ปล่อยทรัพย์หรือเพิกถอนการยึดทรัพย์ และหากผู้ร้องชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนบริษัท ร.ครบถ้วนแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจากบริษัท ร.ต่อไป ซึ่งหาใช่ข้อพิพาทในชั้นนี้ไม่
เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัท ร.ดังกล่าวแก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย เช่นนี้ศาลก็ชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 32
เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัท ร.ดังกล่าวแก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย เช่นนี้ศาลก็ชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: สิทธิจำนองยังคงอยู่จนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน
ตามคำขอประนอมหนี้ประกอบคำร้องแก้ไขคำขอประนอมหนี้ของโจทก์ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคืนโจทก์คงมีข้อความเพียงว่าเมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ข้อ1แล้วขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของโจทก์คืนให้โจทก์ไปเท่านั้นและตามบันทึกรายงานการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็สรุปใจความได้ว่าโจทก์จะขอไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยภายหลังเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำขอประนอมหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ได้มีความหมายถึงขนาดว่าจำเลยยินยอมสละที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทอันเป็นหลักประกันทั้งไม่ใช่วิสัยที่จำเลยจะพึงกระทำเช่นนั้นเพราะจำเลยในฐานะผู้รับจำนองสามารถบังคับเอาจากทรัพย์จำนองได้อยู่แล้วจำเลยยังคงมีสิทธิเหนือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในฐานะผู้รับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้และการไถ่ถอนจำนอง: สิทธิของผู้รับจำนองยังคงอยู่
ตามคำขอประนอมหนี้ประกอบคำร้องแก้ไขคำขอประนอมหนี้ของโจทก์ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคืนโจทก์ คงมีข้อความเพียงว่าเมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ข้อ 1 แล้วขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของโจทก์คืนให้โจทก์ไปเท่านั้นและตามบันทึกรายงานการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็สรุปใจความได้ว่าโจทก์จะขอไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยภายหลังเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำขอประนอมหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ได้มีความหมายถึงขนาดว่าจำเลยยินยอมสละที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทอันเป็นหลักประกัน ทั้งไม่ใช่วิสัยที่จำเลยจะพึงกระทำเช่นนั้นเพราะจำเลยในฐานะผู้รับจำนองสามารถบังคับเอาจากทรัพย์จำนองได้อยู่แล้ว จำเลยยังคงมีสิทธิเหนือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในฐานะผู้รับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: การชำระหนี้ตามสัดส่วน และผลของการผิดนัดชำระหนี้
คำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ที่2ซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วนั้นมีความว่าข้อ1.ลูกหนี้ที่2ยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483โดยเต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ข้อ2นอกจากหนี้ที่กล่าวในข้อ1ลูกหนี้ที่2ยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วเป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้มีกำหนดดังนี้คืองวดแรกชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ภายในวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน1ปีโดยแบ่งออกเป็น3งวดงวดละเท่าๆกันโดยมีกำหนด4เดือนต่อ1งวดข้อ3.หนี้ตามข้อ1.และ2.นั้นลูกหนี้ที่2จะชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่2จำนวน10รายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วจำนวน9รายแม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3คดียังไม่ถึงที่สุดก็เป็นเพียงทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมตามมาตรา130(4)กับจำนวนเงินที่ต้องวางชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ข้อ1.และข้อ2.เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3นี้เท่านั้นแต่สำหรับค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา130(1)-(7)และจำนวนที่ต้องชำระร้อยละห้าสิบของจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งเก้ารายซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้และคดีถึงที่สุดแล้วมิใช่ไม่อาจคำนวณได้และหากต้องรอให้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทุกรายถึงที่สุดก่อนย่อมไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ในรายที่คดีถึงที่สุดซึ่งจะทำให้ได้รับชำระหนี้ล่าช้าออกไปทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งกำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งลูกหนี้ที่2จะนำเหตุที่คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่3ยังไม่ถึงที่สุดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้เสียทั้งหมดเลยหาได้ไม่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ที่3นำเงินค่าธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ไปวางชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2ก็ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการวางเงินโดยอ้างว่ากำลังรวบรวมเงินอยู่และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้โอกาสให้เลื่อนการวางเงินออกไปตามที่ลูกหนี้ที่2ขอแต่เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้ที่2กลับเพิกเฉยเสียย่อมเป็นข้อแสดงว่าลูกหนี้ที่2ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ที่2ผิดนักไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ที่2ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา60วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2เด็ดขาดและคำพิพากษาให้ล้มละลายลับหลังลูกหนี้ที่2โดยในวันนัดลูกหนี้ที่2ไม่ได้มาฟังคำสั่งและคำพิพากษาและระยะเวลานับแต่วันผิดหมายถึงวันอ่านคำสั่งและคำพิพากษาเป็นเวลาน้อยกว่า15วันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153แม้จะมีผลที่ให้ถือว่าลูกหนี้ที่2ทราบวันนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาไม่ได้และถือว่าลูกหนี้ที่2ยังไม่ทราบคำสั่งและคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านนั้นก็ตามแต่ต่อมาลูกหนี้ที่2ได้ยื่นอุทธรณ์แสดงว่าลูกหนี้ที่2ได้ทราบคำสั่งและคำพิพากษานั้นแล้วลูกหนี้ที่2จึงไม่ได้รับผลเสียหายใดๆจากการอ่านคำสั่งและคำพิพากษาที่ผิดระเบียบนั้นเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยให้ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำสั่งและคำพิพากษาใหม่