พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอประนอมหนี้หลังล้มละลายกระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน การประชุมเจ้าหนี้ไม่ชอบ
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้รายที่ 190, 353 และ 354 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 206459 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยขอให้ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันแล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) การที่จำเลยที่ 2 เสนอคำขอประนอมหนี้โดยขอชำระเงิน 590,000,000 บาท เพื่อไถ่ถอนจำนองทรัพย์หลักประกันจากผู้ร้องและให้คืนโฉนดที่ดินแก่จำเลยที่ 2 แล้วขอให้ผู้คัดค้านถอนการยึดทรัพย์หลักประกัน ทั้งที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้รายที่ 190, 353 และ 354 ขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้รายที่ 190 เป็นเงิน 174,335,644.93 บาท เจ้าหนี้รายที่ 353 เป็นเงิน 182,019,304.11 บาท ส่วนเจ้าหนี้รายที่ 354 มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเงิน 701,691,757.72 บาท และผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอันมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ใช้สิทธิเลือกที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการกับทรัพย์หลักประกันของผู้ร้องด้วยวิธีให้ผู้คัดค้านขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) คำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของจำเลยที่ 2 ที่ขอไถ่ถอนทรัพย์หลักประกันของผู้ร้องโดยที่จำเลยที่ 2 กำหนดราคาไถ่ถอนทรัพย์หลักประกันเองซึ่งผู้ร้องไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นคำขอประนอมหนี้ที่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน อันเป็นคำขอประนอมหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้คัดค้านไม่อาจดำเนินการจัดประชุมเพื่อเสนอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวได้ การจัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561 เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายของจำเลยที่ 2 ของผู้คัดค้านจึงกระทำโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622-5623/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย และอำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน: โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียโดยตรง
แม้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ย.259/2544 ของศาลชั้นต้น แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย ในคดีล้มละลายดังกล่าว มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ 6 ราย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 3 ยื่นขอรับชำระหนี้มูลหนี้ตามคำพิพากษาจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 (จำเลยที่ 1) แบบเจ้าหนี้ไม่มีประกัน จากนั้นจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้รวมทั้งโจทก์ยอมรับ ไม่คัดค้านการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ และศาลล้มละลายกลางไต่สวนแล้ว ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 1 ทุจริตหรือกระทำความผิดอันมีโทษทางอาญาเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลาย การประนอมหนี้มีข้อความลำดับการใช้หนี้ก่อนหลังถูกต้องตามกฎหมายล้มละลาย เจ้าหนี้มีมติยอมรับ คำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 การประนอมหนี้เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้โดยทั่วไป ไม่ได้เปรียบแก่กัน จึงมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ให้ยกเลิกการล้มละลาย และให้ลูกหนี้ที่ 1 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน ทั้งยังปรากฏว่าต่อมาโจทก์โดย ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกแทนลูกหนี้จนเป็นที่พอใจแล้ว ไม่ประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้อีกต่อไป จึงขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ดังนี้โจทก์จึงผูกมัดโดยข้อตกลงในการประนอมหนี้ดังกล่าวในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 63 ประกอบมาตรา 56 และทำให้จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ย.259/2544 ของศาลชั้นต้นต่อโจทก์อีกต่อไป นอกจากนี้ หากจะรับฟังว่าการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสามตกเป็นโมฆะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็มิได้หมายความว่า การประนอมหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบต้องถูกยกเลิกไปตามผลแห่งคำพิพากษา ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในกองล้มละลายสามารถยื่นขอรับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทได้ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์หากนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทที่กล่าวอ้างในคดีนี้ว่าเป็นโมฆะเป็นผลหรือไม่เป็นหรือกลับกัน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในที่ดินพิพาท ที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15152/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลายผูกพันเจ้าหนี้ แม้มีการยกเลิกการล้มละลาย ย่อมต้องชำระหนี้ตามข้อตกลง
แม้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หลังล้มละลายของลูกหนี้ที่ 2 และให้ยกเลิกการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 63 แต่การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้ว ย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามมาตรา 63 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 56 ลูกหนี้ที่ 2 จึงยังคงต้องผูกพันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ตามข้อความในคำขอประนอมหนี้ ศาลฎีกาจึงต้องพิจารณาอุทธรณ์ของลูกหนี้ที่ 2 ในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: ยื่นได้ครั้งเดียวตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 บังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษาหรือรอการพิพากษาหรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลัง เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้วตามมาตรา 63 การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีก จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีได้ครั้งเดียว หากพ้นระยะเวลาหรือขั้นตอนแล้ว ยื่นเพิ่มเติมไม่ได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 บัญญัติบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษา หรือรอการพิพากษา หรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลังเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีกอันมิใช่เป็นการขอแก้ไขคำขอประนอมหนี้ตามมาตรา 47 และเป็นการพ้นระยะเวลาตามมาตรา 45 แล้ว การยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายอีกครั้งจะทำให้คดีล้มละลายไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็วผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันตามแผนประนอมหนี้: ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมแม้มีข้อเท็จจริงใหม่
เมื่อการประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ และลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นแล้ว ไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไร แม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงผูกมัดเจ้าหนี้ แม้มีทรัพย์สินเพิ่ม ศาลไม่อาจนัดประชุมเพิ่มเติม
เมื่อการประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้และลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลผูกพันของข้อตกลง
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายและมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายกับให้ลูกหนี้มีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายและมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินได้ต่อไปและการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา56ดังนั้นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเท่านั้นและถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะรายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา60เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขการประนอมหนี้โดยให้ลูกหนี้นำเงินที่มีสิทธิจะได้จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งมาชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หาได้ไม่เพราะเท่ากับเป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่และเป็นการเข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงในขณะที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรและแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีหลังการประนอมหนี้และการยกเว้นหนี้ภาษีในคดีล้มละลาย
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 58โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินได้ต่อไป เมื่อการให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินตามที่โจทก์ถูกเรียกตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงอยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะจัดการได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้ว แต่จำเลยมิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น จึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56,77พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 77 บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 แม้จำเลยมิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามมาตรา 91 เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและอำนาจการประเมินภาษี: เจ้าหนี้ภาษีไม่ผูกมัดการประนอมหนี้และมีอำนาจเรียกเก็บภาษีได้
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทนตามล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 58 แล้วโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีความสามารถประกอบกิจการ หรือจัดการทรัพย์สินได้ต่อไป เมื่อการให้ถ้อยคำ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามที่โจทก์ถูกเรียกตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงอยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะจัดการได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากร ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้ว แต่กรมสรรพากรจำเลยก็มิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้นจึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56,77 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 77บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้มีบัญญัติว่าต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้วหรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ แม้กรมสรรพากรจำเลย มิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามมาตรา 91 ก็ตาม