พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ภายหลังการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการประเมินภาษี
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทนตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 58 โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินได้ต่อไป เมื่อการให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินตามที่โจทก์ถูกเรียกตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงอยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะจัดการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วแต่จำเลยมิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น จึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56, 77
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 แม้จำเลยมิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตาม มาตรา 91 เจ้าพนักงาน-ประเมินก็มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์
แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วแต่จำเลยมิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น จึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56, 77
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 แม้จำเลยมิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตาม มาตรา 91 เจ้าพนักงาน-ประเมินก็มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดหลังศาลสั่งยกเลิกการล้มละลาย – ข้อตกลงประนอมหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังศาลเห็นชอบการประนอมหนี้
ในการขอประนอมหนี้ครั้งแรกซึ่งถูกศาลสั่งยกเลิกและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย จำเลยขอชำระหนี้เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของยอดหนี้ที่ไม่มีประกัน รวมทั้งหนี้มีประกันของผู้ร้องส่วนที่ยังขาดอยู่หลังจากบังคับจำนองทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วด้วย ในการขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้โดยระบุว่าจำเลยจะยอมชำระหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้วเป็นจำนวนร้อยละ 15 แม้ว่าในคำขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยจะมิได้ระบุ รายละเอียดเหมือนการประนอมหนี้ครั้งแรก แต่การประนอมหนี้ทั้งสองครั้งได้กระทำในคดีล้มละลายเรื่องเดียวกัน เมื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ทั้งสองครั้งประกอบกันแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอประนอมหนี้เฉพาะหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นจำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ทั้งหมดส่วนที่เป็นหนี้มีประกันจำเลยยินยอมให้เจ้าหนี้บังคับเอาแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน หากยังขาดอยู่ จำเลยจึงขอชำระหนี้จำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ส่วนที่ขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ การที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากจำเลยขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายสำเร็จ และศาลสั่งให้จำเลยมีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของตนนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายยังมิได้สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีหน้าที่ในการที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้อยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังการประนอมหนี้และการล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6243/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นอำนาจ
จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นในระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการฟ้องให้จำเลยล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ ศาล มีคำสั่งเพิกถอนการโอนดังกล่าว คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของ ศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้และให้ยกเลิก การล้มละลายของจำเลย จำเลยจึงพ้นจากภาวะการเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนที่ดิน พิพาท ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,114,116.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4989/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการประมูลและการผิดสัญญา: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการค้ำประกัน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแก่ผู้ซื้อ โดยไม่งดการขายทอดตลาดไว้รอพิจารณาคำขอประนอมหนี้ตามคำขอของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยประวิงคดี ขอให้ยกคำร้องของจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยและ ส.ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงกันว่า ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงวางเงิน 100,000 บาทให้ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดรับไปเป็นค่าเสียหาย เพื่อจะได้ไม่คัดค้านที่จะมีการขายทอดตลาดใหม่ มิใช่เป็นการตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดสละสิทธิในที่ประมูลซื้อได้ในครั้งก่อน เพราะการที่ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงจะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทครั้งใหม่ในราคาไม่ต่ำกว่า 18,000,000 บาทนั้น จะต้องจัดหาธนาคารมาค้ำประกันจำนวน 2,000,000 บาท เพื่อเป็นประกันค่าเสียหายแก่กองทรัพย์สินหากผู้ซื้อรายใหม่เข้าสู้ราคาต่ำกว่า 18,000,000 บาท ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ซื้อรายใหม่ต้องปฏิบัติก่อน เมื่อผู้ซื้อรายใหม่ไม่สามารถหาธนาคารมาค้ำประกันได้ จึงเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงศาลต้องจำหน่ายคำร้องของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4989/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการประนีประนอมในการขายทอดตลาด: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข และการจำหน่ายคำร้อง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแก่ผู้ซื้อ โดยไม่งดการขายทอดตลาดไว้รอพิจารณาคำขอประนอมหนี้ตามคำขอของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยประวิงคดี ขอให้ยกคำร้องของจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยและ ส. ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงกันว่า ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงวางเงิน 100,000 บาท ให้ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดรับไปเป็นค่าเสียหาย เพื่อจะได้ไม่คัดค้านที่จะมีการขายทอดตลาดใหม่ มิใช่เป็นการตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดสละสิทธิในที่ประมูลซื้อได้ในครั้งก่อน เพราะการที่ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงจะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทครั้งใหม่ในราคาไม่ต่ำกว่า 18,000,000 บาทนั้น จะต้องจัดหาธนาคารมาค้ำประกันจำนวน 2,000,000 บาท เพื่อเป็นประกันค่าเสียหายแก่กองทรัพย์สินหากผู้ซื้อรายใหม่เข้าสู้ราคาต่ำกว่า 18,000,000 บาท ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ซื้อรายใหม่ต้องปฏิบัติก่อน เมื่อผู้ซื้อรายใหม่ไม่สามารถหาธนาคารมาค้ำประกันได้ จึงเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงศาลต้องจำหน่ายคำร้องของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงไว้