คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12603/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นฎีกาไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งกระบวนการออกหมายจำคุก
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ แล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์ที่ว่า การออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากคดียังอยู่ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใด อย่างไร อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10493/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัด โจทก์ต้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามขั้นตอนกฎหมาย
คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 และมาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งขั้นตอนในการปฏิบัติตามข้อยกเว้นให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังกล่าวมิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องดังที่กล่าวข้างต้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้ส่งสำเนาให้จำเลยทั้งสามแก้ จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10424/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการพิพากษาในคดีอาญา: ศาลไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติมหากจำเลยให้การรับสารภาพ
ข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมิใช่เป็นข้อหาความผิดที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นให้ขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องหาได้ไม่ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9076/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสิทธิฟ้อง และข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา คดีโกงเจ้าหนี้
แม้ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น ว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า การกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลยคดีนี้เป็นกรรมเดียวกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้นแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) จึงเป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2553 โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินแก่โจทก์เป็นเงิน 3,080,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ได้ส่งคำบังคับให้จำเลยทราบตามกฎหมายแล้ว ระหว่างดำเนินการสืบหาทรัพย์เพื่อจะบังคับคดี โจทก์ทราบว่าเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จำเลยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 27896 ไปขายให้แก่บุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนเองหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่น ซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเป็นหนี้จำนวนใด อันไม่เป็นความจริงก็ดี โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้แล้ว ซึ่งครบองค์ประกอบของความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8576-8578/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิ่งปลูกสร้างอาคารชุด ร. เป็นส่วนควบของที่ดินตามโฉนดที่ดิน โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ สรุปได้ความว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุด ร. โดยเจ้าของที่ดินยินยอมให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิเหนือพื้นดิน ทั้งยังปรากฏตามสัญญาซื้อขายว่า ซื้อขายเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง และงบการเงิน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสินค้าคงเหลือเป็นอาคารชุด ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดิน อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่เกี่ยวกับบริษัท กรณีจึงเป็นที่แจ้งชัดว่า กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างอาคารชุด ร. ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดที่ดิน เป็นของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ดังนี้ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารชุด ร. บนที่ดินดังกล่าวหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อ้างอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8496/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เรื่องอายุความคดีอาญา: ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการรู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดก่อน หากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์จึงต้องห้าม
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดอย่างช้าวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 โจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ดังนี้ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อไร อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย หาใช่เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานประจำวันเป็นคำร้องทุกข์ได้ หากแสดงเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี และฟ้องภายใน 3 เดือน
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ร. ร่วมกับ ณ. และ อ. หลอกลวงให้โจทก์โอนเงิน 13 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,952,000 บาท โดยแจ้งว่าจะนำเงินที่โจทก์โอนให้ไปลงทุนหรือให้บุคคลอื่นกู้ยืม และจะให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อเดือน ประกอบกับ ร. มากับ ส. เจ้าของรีสอร์ท ทำให้โจทก์หลงเชื่อ เป็นเหตุให้โจทก์โอนเงินเพื่อปล่อยกู้จำนวนดังกล่าว ช่วงแรก ร. โอนเงินดอกเบี้ยให้ร้อยละ 15 ต่อเดือนจริง ประมาณ 4 ครั้ง โจทก์จึงหลงเชื่อโอนเงินให้ แต่เมื่อ ร. กับพวกได้เงินแล้ว โจทก์ติดต่อไป ร. กับพวกกลับเงียบหาย โจทก์จึงทราบว่าถูกหลอกลวง การกระทำของ ร. กับพวก เป็นการฉ้อโกง โจทก์จึงมาที่สถานีตำรวจบ่อผุดเพื่อลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานและเพื่อจะได้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งพันตำรวจโท พ. พนักงานสอบสวนเวร รับแจ้งไว้ตามประสงค์ของผู้แจ้ง เพื่อดำเนินการต่อไป แสดงให้เห็นแล้วว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตลอดจนชื่อของผู้กระทำผิดและโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดให้ได้รับโทษทั้งพนักงานสอบสวนเวรผู้รับแจ้งความก็รับว่าจะไปดำเนินการต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 แล้ว หาใช่เป็นเพียงข้อความที่โจทก์เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อโจทก์จะไปดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามด้วยตนเองต่อไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และผลกระทบต่อคำขอส่วนแพ่ง
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 120,000 บาท แก่โจทก์ร่วมที่ 1 และคืนเงิน 600,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 แต่จำเลยยังคงยื่นฎีกา คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินแทนโจทก์ร่วมทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีก คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอถือตามคำฟ้องของพนักงานอัยการย่อมตกไป ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างฎีกา และผลกระทบต่อคำขอส่วนแพ่ง
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 120,000 บาท แก่โจทก์ร่วมที่ 1 และคืนเงิน 600,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 ก็ตาม แต่จำเลยยังคงยื่นฎีกา จึงยังถือไม่ได้ว่าคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อระหว่างฎีกา จำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินแทนโจทก์ร่วมทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีก คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอถือเอาตามคำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ก็ย่อมตกไปด้วย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เดิมที่ให้จำเลยคืนเงิน 120,000 บาท แก่โจทก์ร่วมที่ 1 และคืนเงินจำนวน 600,000 บาท แก่โจทก์ร่วมที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษปรับเกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิจารณาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 13,500 บาท รวม 4 กระทง คงปรับ 54,000 บาท โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้ เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
of 9