พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาที่ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลฎีกายกฟ้องได้ แม้จำเลยรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดซึ่งเป็นอาวุธ ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาขาดองค์ประกอบความผิดฐานมั่วสุมทำร้ายผู้อื่นและพาอาวุธ ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดดาบซึ่งเป็นอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงที่ไม่มีศาลแขวง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และ ป.วิ.อ.
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาล ถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐาน และให้คู่ความ ลงชื่อไว้ การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ และให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่าคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ จึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรี ตามพระราชบัญญัติให้นำ วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงและการนำบทบัญญัติมาใช้บังคับเมื่อไม่มีศาลแขวงในพื้นที่
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะและให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 157 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้องเมื่อคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการจึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรีตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9273/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และการบันทึกคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอำนาจอนุญาตให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงได้นั้นจะต้องบันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยชัดเจน คือ จะต้องบันทึกความเห็นของตนให้ได้ความว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึก ยืนยันด้วยว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า "?รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม?" เช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโต้เถียงข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ทำร้ายร่างกายซึ่งกัน โดยจำเลยที่ 1 ใช้ไม้กระบองเป็นอาวุธตีทำร้ายจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ขวดสุราเป็นอาวุธตีทำร้ายจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จำคุก 2 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 จะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแขวง การใช้บทบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้เหตุเกิดที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีอันเป็นศาลชั้นต้น และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนและวันเปิดทำการของศาลแขวงในบางจังหวัด พ.ศ. 2500 มาตรา 18 บัญญัติว่า"ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีศาลแขวงหนึ่งศาล มีเขตอำนาจในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี" ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวงสุราษฎร์ธานีอีกหลายฉบับซึ่งได้กำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภออื่นนอกจากอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานีมีเขตอำนาจในอำเภอเกาะสมุยด้วย ดังนี้บทบัญญัติมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาใช้บังคับแก่คดีนี้มิได้และจะนำบทบัญญัติมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากมาตรา 2แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่มาตรา 3 จะใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา" สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการและมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 3 ดังกล่าวบังคับคงมีเฉพาะท้องที่อำเภอไชยาอำเภอท่าฉางและอำเภอท่าชนะเท่านั้น จึงนำบทบัญญัติมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ที่ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์มาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอเกาะสมุย ได้ และมีปัญหาว่าคดีของโจทก์นี้จะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและการฟ้องเกินกำหนด: ผลกระทบต่อการรับฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ส่วนการที่จะนำมาใช้ในท้องที่ใด เมื่อใดนั้นก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532 บัญญัติให้นำมาใช้บังคับในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาได้ระบุให้ใช้เฉพาะในเขตหรืออำเภอเมืองบุรีรัมย์ คูเมือง นางรอง บ้านกรวด ประโคนชัยลำปลายมาศและสตึกเท่านั้น มิได้ระบุให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ตำบลทองหลางกิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ ในอันที่จะต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับด้วย การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเกินกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้ผัดฟ้องหาได้ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกปัญหาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเกินกำหนดระยะเวลาโดยมิได้มีการผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดขึ้นวินิจฉัยโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงและศาลจังหวัด
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับเพื่อชำระหนี้เงินกู้การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กู้เงินจากโจทก์และไม่เคยรับเงินใดจากโจทก์เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เพื่อนำไปกู้เงินมิได้มีเจตนาให้มีผลผูกพันกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาและเป็นยุติแล้วจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่ และความเกี่ยวพันของความผิดอาญา
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ.อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวนสภ.อ. เมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกันซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้