พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกรรมต่างท้องที่: ความผิดเกี่ยวพันและการรวมฟ้อง
จำเลยถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่ สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ อ.สุไหงโก-ลก ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง พนักงานสอบสวน สภ อ. เมือง-นราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการรับอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยตบหน้าผู้เสียหายที่บริเวณแก้มซ้าย 1 ครั้ง พิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องลงโทษปรับ 1,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยข้อเท็จจริงมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบและแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษากลับโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฎีกา และศาลฎีกายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3และยกฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่เกิดจากหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ต่อมาเมื่อถึงกำหนด จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาซื้อขายที่พิพาท โดยตีราคาที่พิพาทเท่ากับยอดรวมของต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ดังนี้สัญญาซื้อขายที่พิพาทจึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้ราคาบางส่วนคือเงินต้นจะเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาแบ่งแยกซื้อขายที่พิพาทบางส่วนในราคาเท่ากับต้นเงินที่ค้างชำระ สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีโกงเจ้าหนี้ในศาลแขวง: วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องไป ยังไม่พอรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องไปก็โดยเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์แก้ไขคำสั่งส่งตัวจำเลยฝึกอบรมเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปให้ส. ซึ่งเป็นป้าของจำเลย ดูแลแทนการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม ย่อมมีผลเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 22 กับพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความฯ มาตรา 3 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 แล้ว หากจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวของศาลเปลี่ยนแปลงไป จำเลยชอบที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้นหรือมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่นำสืบฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ได้รับอันตรายเป็นบาดแผลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และผลของการแก้ไขกฎหมาย
การอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าคดีใดจะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดีความผิดหลายกระทงพร้อมกัน ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาจากศาลแขวงได้
แม้ความผิดต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ กับความผิดต่อพ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ ที่โจทก์ฟ้องจะเป็นความผิดที่แยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อ พ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ อยู่ในอำนาจการพิจารณา พิพากษาของศาลแขวงก็ตาม แต่ก็ได้กระทำลงโดยผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกันจึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ พร้อมกับความผิดต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษต่อศาลจังหวัดได้โดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน: โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลจังหวัด แม้บางข้อหาเป็นอำนาจศาลแขวง
แม้ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ กับความผิดต่อพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่โจทก์ฟ้องจะเป็นความผิดที่แยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงก็ตาม แต่ก็ได้กระทำลงโดยผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พร้อมกับความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษต่อศาลจังหวัดได้โดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาหลายกระทง และการพิจารณาคดีในศาลที่มีอำนาจชำระคดี
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด โดยมิต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลยตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2532).