คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกระทง: ศาลแขวงและศาลจังหวัด กรณีความผิดเกี่ยวพันกัน
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด โดยมิต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลยตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 เพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน: ศาลจังหวัดพิจารณารวมได้ แม้บางความผิดอยู่ในอำนาจศาลแขวง
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลจังหวัดโดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯเพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาในศาลจังหวัดตามวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง และการวินิจฉัยขาดเจตนาทำให้ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136,137,326 และ 328 อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนามีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ ในการไต่สวนมูลฟ้องแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาที่ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ศาลชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136, 137, 326, และ 328 อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำโดยขาดเจตนา มีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของโจทก์จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 หรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระ
ในการไต่สวนมูลฟ้งแม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามฟ้องแต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิดไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาหรือมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะทำการวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วไปพิพากษายกฟ้องในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีเช็ค: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ม.สามีโจทก์มิได้โอนเช็คให้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงเช็ค มิใช่ผู้เสียหาย โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้เสียหายอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาตรา 3 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาข้อนี้
ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นเพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีเช็คและการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ม.สามีโจทก์มิได้โอนเช็คให้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่ผู้ทรงเช็ค มิใช่ผู้เสียหาย โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้เสียหาย อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาข้อนี้
ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นเพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกล่าวคือถ้ายังโต้เถียงว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใดย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดและคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2526แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่23เมษายน2527ซึ่งเป็นเวลาเกิน3เดือนนับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีจึงเป็นอันขาดอายุความอันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา22ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ.2520มาตรา3โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดเข้าข่ายปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กล่าวคือ ถ้ายังโต้เถียงว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด และคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2526 แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นเวลาเกิน 3 เดือน นับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดี จึงเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหมิ่นประมาท: การโต้เถียงเรื่องวันรู้ความผิดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ห้ามอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้นอาจเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กล่าวคือถ้ายังโต้เถียงว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง หากข้อเท็จจริงที่ได้ความยุติแล้วว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด และคู่ความโต้เถียงกันเพียงว่าอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดแล้วย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม2526 แต่ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นเวลาเกิน3 เดือน นับแต่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงเป็นอันขาดอายุความ อันเป็นการยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520มาตรา 3 โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้เสียหายเพิ่งจะรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาหลังรับสารภาพในศาลชั้นต้น ถือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยวาจา ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าจำเลยบังอาจใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมงภายในเขตระยะ3,000 เมตร นับจากขอบแนวตามชายฝั่งโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงเกษตรเรื่องกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2515จำเลยให้การรับสารภาพดังนี้ ประกาศกระทรวงเกษตรฉบับดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด และมีข้อความว่าอย่างไรนั้นเป็นข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์และกล่าวอ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยประการต่าง ๆ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จำเลยยกขึ้นฎีกามาอีกต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 9