คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 269/1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์หลายฉบับ ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
บัตรเดบิต บัตรเดบิตวีซ่าการ์ด บัตรมาสเตอร์การ์ด บัตรเครดิตวีซ่าการ์ด และบัตรเติมเงินวีซ่าการ์ดปลอม ซึ่งเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกให้เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากธนาคาร แต่ละใบมีข้อมูลในบัตรของผู้ถือบัตรต่างรายกันและต่างหมายเลขกัน กับออกโดยต่างธนาคารกัน ทั้งโดยสภาพของการปลอมและใช้หรือมีไว้เพื่อใช้บัตรดังกล่าวต้องปลอมทีละใบและใช้แต่ละใบแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจึงไม่ได้มีเจตนาเดียวในการปลอมและใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งบัตรนั้น แต่มีเจตนาปลอมและใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งบัตรดังกล่าวแต่ละฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
บัตรเดบิต บัตรเดบิตวีซ่าการ์ด บัตรมาสเตอร์การ์ด บัตรเครดิตวีซ่าการ์ด และบัตรเติมเงินวีซ่าการ์ดปลอม เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกให้เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากธนาคาร บัตรดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายของคำว่า เอกสารและเอกสารสิทธิ แห่ง ป.อ. มาตรา 1 (7) และ (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16000/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์และการใช้บัตรปลอม ศาลฎีกาวินิจฉัยกรรมเดียวผิดหลายบทและยืนโทษเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำคุก 2 ปี ฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ จำคุก 2 ปี และฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม จำคุก 3 ปี แต่ความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม ศาลชั้นต้นปรับบทว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/5 ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปรับบทว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนโทษคงพิพากษาจำคุก 3 ปี เช่นเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 212