คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1656.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องโต้แย้งคำสั่งก่อน และหลักเกณฑ์สมบูรณ์ของพินัยกรรม
การฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำชี้ขาดตัดสินคดีนั้น จะต้องได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้แล้ว จึงจะฎีกาได้ตาม ม.226 ป.ม.วิ.แพ่ง
ตาม ม.1656 ป.ม.แพ่งฯ ไม่จำเป็นต้องถามผู้อาพาธ 3 ครั้ง 3 หน พินัยกรรม์จึงจะสมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาในพินัยกรรม, การกำหนดวิธีการให้พินัยกรรมสมบูรณ์, และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
ข้อความในพินัยกรรมว่า "เมื่อฉัยตายไปแล้วก็ขอให้ทรัพย์ทั้งหมดดังกล่าวแล้ว ตกเป็นกรรมสิทธิแก่เก็กหลานของฉันตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้ใดอื่นหรือนายกระจ่างซึ่งเป็นบุตรของฉันจะมาเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้เป็นอันขาด ฯลฯ" นี้เป็นอันถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้โดยพินัยกรรมแล้ว
ในพินัยกรรมที่มีข้อความต่อไปว่า "และขอให้นางช่วยซึ่งเป็นน้องของฉัน เป็นผู้แทนฉันจัดการยื่นคำร้องต่ออำเภอมอบกรรมสิทธิทรัพย์ให้" นั้น เป็นการกำหนดวิธีการที่จะให้เป็นผลสมบูรณ์ตามพินัยกรรม เนื่องจากทรัพย์ที่ยกให้บางอย่างเป็นที่ดิน ดังนี้ หาทำให้พินัยกรรมขาดลักษณะของการเป็นพินัยกรรมไม่
พยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมนั้น ไม่จำต้องระบุเขียนลงไว้ว่า ได้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ เมื่อได้ความว่า เจ้ามฤดกกดพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน ก็เป็นการใช้ได้ (อ้างฎีกาที่ 45 พ.ศ.2485)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรม: แม้ไม่มีถ้อยคำระบุการเผื่อตายโดยตรง ก็ถือเป็นพินัยกรรมได้ หากมีเจตนาชัดเจน
ข้อความในหนังสือไม่ได้ระบุการเผื่อตายไว้โดยตรง แต่มีคำว่าพินัยกรรม์และข้อความในนั้นก็แสดงว่าผู้ทำตั้งใจยกทรัพย์ให้เมื่อตายแล้วดังนี้ แม้จะมีข้อความว่าได้มอบทรัพย์ให้ตั้งแต่วันทำหนังสือนั้นก็ตาม ก็ยังคงถือว่าเป็นหนังสือพินัยกรรม์ หนังสือมีข้อความเป็นพินัยกรรม์แต่ระบุว่าได้มอบทรัพย์และได้ลงชื่อผู้มอบผู้รับมอบและพะยานกับผู้เขียนด้วยนั้น ก็คงถือว่าสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมได้.