พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีชิงทรัพย์ที่ไม่ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ หากโจทก์บรรยายรายละเอียดอื่นครบถ้วน
ความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ตามลักษณะของความผิดจะต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่น และโดยปกติฟ้องย่อมต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เพื่อจำเลยจะต่อสู้คดีได้ แต่กฎหมายก็มิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เสมอไปเช่นในกรณีที่ไม่อาจทราบตัวเจ้าของทรัพย์ที่แน่นอนได้ คำฟ้องเพียงแต่กล่าวไว้พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ โดยลักเอากระเป๋าสตางค์1 ใบ ราคา 50 บาท เงินสด 370 บาท .....ของหญิงไม่ทราบชื่อ อายุประมาณ 35 ปี ผู้เสียหายไปโดยทุจริต.....เป็นการบรรยายฟ้องที่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้วคงขาดแต่ชื่อเจ้าของทรัพย์เท่านั้นแต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจว่าทรัพย์ที่จำเลยลักเอาไปเป็นของผู้อื่น มิใช่เป็นทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ดังนี้ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ โดยลักเอากระเป๋าสตางค์1 ใบ ราคา 50 บาท เงินสด 370 บาท .....ของหญิงไม่ทราบชื่อ อายุประมาณ 35 ปี ผู้เสียหายไปโดยทุจริต.....เป็นการบรรยายฟ้องที่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้วคงขาดแต่ชื่อเจ้าของทรัพย์เท่านั้นแต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจว่าทรัพย์ที่จำเลยลักเอาไปเป็นของผู้อื่น มิใช่เป็นทรัพย์ของจำเลยหรือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ดังนี้ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: การบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า 'เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือ การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างผู้แทนลูกจ้างกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการหรือ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง' การที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ โดยไม่เป็นธรรม ไร้เหตุผลในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งโจทก์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไว้ต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้น เป็นการบรรยายการกระทำผิดของจำเลยทั้งสอง ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนการกระทำ ของจำเลยทั้งสองเป็นกรณีไม่เป็นธรรมหรือไร้เหตุผลหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดนั้นฉะนั้นโจทก์จะบรรยายฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนและคณะกรรมการสอบสวน ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
พนักงานสอบสวน และคณะกรรมการผู้ทำการสอบสวน ซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นโดยทางราชการถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน
ในเรื่องฟ้องขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จ ฟ้องของโจทก์ระบุว่าแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน แม้ไม่มีคำว่าเจ้าพนักงาน ก็ลงโทษฐานแจ้งความเท็จได้.
ในเรื่องฟ้องขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จ ฟ้องของโจทก์ระบุว่าแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน แม้ไม่มีคำว่าเจ้าพนักงาน ก็ลงโทษฐานแจ้งความเท็จได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่เข็ญตามกฎหมายอาญา: การกระทำโดยกิริยาและความเพียงพอของฟ้อง
คำว่าขู่เข็ญตามความในมาตรา 339 ข้อ 1 ก.ม.ลักษณะอาญา นั้นอาจมีความหมายไม่ฉะเพาะแต่ว่าจะต้องกระทำด้วยวาจา อาจหมายตลอดถึงการกระทำโดยกิริยาด้วย
ฟ้องบรรยายแต่เพียงว่าจำเลยชักอาวุธมีดไล่จะแทงนั้น ยังไม่พอจะฟังว่าเป็นการขู่เข็ญตามความในมาตรา 339 ข้อ 1.
ฟ้องบรรยายแต่เพียงว่าจำเลยชักอาวุธมีดไล่จะแทงนั้น ยังไม่พอจะฟังว่าเป็นการขู่เข็ญตามความในมาตรา 339 ข้อ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ใช้เรือที่มีลูกเรือเป็นชาวต่างชาติละเมิดกฎหมายประมง เจ้าของเรือไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้อยู่ในเรือขณะละเมิด
ใช้เรือไทยซึ่งมีคนต่างด้าวทั้งหมดประจำเรือทำการละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิ์การประมง ฯ ถ้าเจ้าของเรือไม่อยู่ในเรือขณะละเมิดเจ้าของเรือไม่มีความผิดไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าของเรือเป็นผู้ใช้คนอื่นหรือไม่ ส่วนพวกใช้เรือทั้งหมดมีความผิด
ฟ้องระบุว่า เจ้าของเรือไม่อยู่ขณะทำการละเมิด และว่าจำเลยใช้เรือไทยที่มีคนต่างด้าวทั้งหมด จำเลยก็รับสารภาพ ดังนี้เป็นฟ้องที่รับฟังลงโทษจำเลยผู้ใช้เรือได้ โจทก์ไม่จำต้องระบุว่าไม่มีผู้ควบคุมเรือ
ฟ้องระบุว่า เจ้าของเรือไม่อยู่ขณะทำการละเมิด และว่าจำเลยใช้เรือไทยที่มีคนต่างด้าวทั้งหมด จำเลยก็รับสารภาพ ดังนี้เป็นฟ้องที่รับฟังลงโทษจำเลยผู้ใช้เรือได้ โจทก์ไม่จำต้องระบุว่าไม่มีผู้ควบคุมเรือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาสูบเกินราคา: จำเลยต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจึงจะมีความผิด
ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายยาสูบเกินราคาแต่มิได้ระบุว่า จำเลยเป็นผู้จำหน่ายดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายยาสูบเกินราคาไม่ได้.