คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1584

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย
คำว่า 'คู่สมรส' ของผู้รับบุตรบุญธรรมที่จะต้องให้ความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 นั้นหมายถึงสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้อง ว. ผู้เยาว์เป็นจำเลย แต่ใส่ไว้ในช่องคู่ความว่า 'เด็กชาย ว. โดย ก. บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลย' นั้น หมายความว่า ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เท่านั้นเองหาใช่โจทก์ฟ้อง ก. เป็นจำเลยไม่
เมื่อการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมายแล้วบิดาโดยกำเนิดของจำเลยยังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยอยู่ และอยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยผู้เยาว์ได้
การที่จำเลยอ้างสิทธิเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ และไปขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้ตายด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คดีโจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ เพราะฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1590 ที่จะต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปีแต่มิได้มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากความยินยอมจากคู่สมรสที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำว่า "คู่สมรส" ของผู้รับบุตรบุญธรรมที่จะต้องให้ความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 นั้นหมายถึงสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้อง ว. ผู้เยาว์เป็นจำเลย แต่ใส่ไว้ในช่องคู่ความว่า "เด็กชาย ว. โดย ก. บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลย" นั้นหมายความว่า ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เท่านั้นเองหาใช่โจทก์ฟ้อง ก. เป็นจำเลยไม่
เมื่อการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมายแล้วบิดาโดยกำเนิดของจำเลยยังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยอยู่ และอยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยผู้เยาว์ได้
การที่จำเลยอ้างสิทธิเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ และไปขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้ตายด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คดีโจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ เพราะฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1590 ที่จะต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปีแต่มิได้มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยา แม้การสมรสจะโมฆะ และมีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น. ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย. แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด.
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้ว.แม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส.
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม. คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้. แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้อยู่กินร่วมกัน และการฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้ความสัมพันธ์เดิมเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรม: สิทธิความเป็นบุตรตามกฎหมายไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติกับคู่สมรสของผู้รับ
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการรับเด็กซึ่งเป็นบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงเหมือนกับบุตรของตนแล้วให้ถือว่าเป็นบุตรตามกฎหมายของตน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ประสงค์ให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยและกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรส: สิทธิความเป็นบุตรตามกฎหมาย
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการรับเด็กซึ่งเป็นบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงเหมือนกับบุตรของตนแล้วถือให้ว่าเป็นบุตรตามกฎหมายของตน
หาก ป.พ.พ.มาตรา 1584 ประสงค์ให้ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรก็คงบัญญัติไว้โดยตรงว่าต้องให้คู่สมรสรับบุตรบุญธรรมด้วย การที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องได้รับความยินยอม ก็ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่ายินยอมให้คู่สมรสอีกฝ่ายรับบุตรบุญธรรมได้ ไม่ใช่ตัวเองเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย และกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์ และผลต่อสิทธิในการปกครองเด็ก
บิดามารดาพิพาทกันเรื่องบุตรจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลให้บุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยตลอดชีวิตของจำเลย และมารดาเด็กยังได้จดทะเบียนเด็กให้เป็นบุตรบูญธรรมของจำเลยอีก แต่ปรากฎว่าการจดทะเบียนรับบุตรบูญธรรมของจำเลยขาดความยินยอมของสามีจำเลย จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1584 และ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว 2478 มาตรา 22 ดังนี้ จึงไม่ทำให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กและจำเลยเป็นบุคคลภายนอกคดีที่บิดามารดาเด็กยอมความกัน จำเลยจึงไม่ได้สิทธิตามกฎหมายอย่างไร ฉะนั้นจำต้องคืนเด็กให้แก่บิดามารดาเด็กนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิปกครองเด็ก
บิดามารดาพิพาทกันเรื่องบุตรจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลให้บุตรอยู่ในความปกครองของจำเลยตลอดชีวิตของจำเลย และมารดาเด็กยังได้จดทะเบียนเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมของจำเลยอีก แต่ปรากฏว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมของจำเลยขาดความยินยอมของสามีจำเลย จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 และ พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว 2478 มาตรา 22 ดังนี้ จึงไม่ทำให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็ก และจำเลยเป็นบุคคลภายนอกคดีที่บิดามารดาเด็กยอมความกัน จำเลยจึงไม่ได้สิทธิตามกฎหมายอย่างไร ฉะนั้นจำต้องคืนเด็กให้แก่บิดามารดาเด็กนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร
แต่งงานกันตามประเพณีโดยมิได้จดทะเบียน แต่อยู่กินด้วยกันและระคนทรัพย์กันนั้น ทรัพย์ใดที่หามาได้ด้วยทรัพย์หรือแรงงานของฝ่ายใดก็ต้องถือว่าเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อไม่ปรากฏอย่างอื่นก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่งแม้จะแยกกันอยู่ภายหลังโดยมีการเยี่ยมเยียนกันอยู่ก็ไม่พอถือว่าจะไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขและไม่ระคนทรัพย์ต่อกัน
บิดามารดาแยกกันอยู่ มีบุตรเป็นทารกยังไม่เดียงสาและบิดามีภรรยาใหม่ ควรให้มารดาเป็นผู้ปกครอง
มารดาซึ่งขอเป็นผู้ปกครองบุตรนั้น แม้จะไม่มีทรัพย์พอเลี้ยงดูหรือมีพอก็ตามเมื่อบิดามีฐานะจะออกค่าเลี้ยงดูได้ บิดาก็ต้องออกค่าเลี้ยงดู
จำเลยฎีกาเฉพาะทุนทรัพย์ที่แพ้ชั้นศาลอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่แพ้นั้น
โจทก์ฟ้องแบ่งที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000 บาท ศาลจะพิพากษาว่าโจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งไม่ได้ จะต้องพิพากษาให้แบ่งกันด้วย แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาทเท่าที่โจทก์ขอ