คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 295

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อส่วนตัวไม่กระทบอำนาจฟ้องคดีทำร้ายร่างกาย และเหตุไม่ควรปรานีในการรอการลงโทษ
ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 297ที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยนั้น มิใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้น การที่ ถ.และอ. จะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือไม่ หามีผลต่ออำนาจฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ พฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกกระทำแก่ ถ.และอ. เป็นการกระทำที่รุนแรง มีการใช้ไม้ท่อนและขวดเป็นอาวุธ ร่วมกระทำความผิดด้วยกันหลายคนโดยที่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายก่อเหตุก่อนและผลแห่งการถูกทำร้ายร่างกายครั้งนั้น ถ. ได้รับอันตรายสาหัสถึงกับเลือดคั่งใต้กะโหลกศีรษะ สมองช้ำ เดินไม่ได้ตามปกติทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บรรเทาผลร้ายแห่งคดีแต่อย่างใดเลยจึงไม่มีเหตุอันควรปรานีด้วยการรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดต่อเจ้าพนักงาน: มาตรา 296 ไม่ต้องปรับตาม 295, มาตรา 140 ต้องปรับตาม 138
การปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม มาตรา 295 อีก ส่วนการปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคแรก นั้น ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 138 วรรคสองด้วย เพราะมาตรา 140 วรรคแรก มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่ฆ่า ขวาน-ค้อนขนาดเล็ก บาดแผลหายได้ ไม่เป็นอันตรายฉกรรจ์
แม้จำเลยใช้ขวานและค้อนเป็นอาวุธฟันและตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง แต่สาเหตุของการทำร้ายไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเกิดเหตุ สาเหตุการทำร้ายเป็นเพราะความไม่พอใจกันในหมู่ญาติ ขณะเกิดเหตุจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ต่างมีอาการเมาสุราและสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เมื่อมีผู้ห้ามต่างก็เลิกรากันไป ทั้งขนาดของคมขวานยาว 3 นิ้ว สันขวานหนาเพียง 1 นิ้วครึ่ง เป็นขวานขนาดเล็ก เฉพาะความยาวของขวานรวมทั้งด้ามมีความยาว 14 นิ้วครึ่ง ส่วนขนาดของค้อนไม่ปรากฏและแม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่หางคิ้วซ้ายยาว 1.5 เซนติเมตรลึกถึงกระดูก บาดแผลที่เหนือท้ายทอยยาว 3 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก กับบาดแผลฉีกขาดที่ริมฝีปากด้านบนยาว 4 เซนติเมตร ส่วนผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณศีรษะด้านหน้ายาว 5 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลกก็ตาม แต่บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1และที่ 2 หายเป็นปกติภายใน 10 วัน และ 7 วัน ไม่ถือว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ขวานฟันและใช้ค้อนตีผู้เสียหายทั้งสองโดยแรง ดังนี้ จำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ไม่ใช่เจตนาฆ่า
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้อง
โทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธ แต่เจตนาไม่ถึงฆ่า ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
แม้จำเลยใช้ขวานและค้อนเป็นอาวุธฟันและตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง แต่สาเหตุของการทำร้ายไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเกิดเหตุ สาเหตุการทำร้ายเป็นเพราะความไม่พอใจกันในหมู่ญาติ ขณะเกิดเหตุจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ต่างมีอาการเมาสุราและสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เมื่อมีผู้ห้ามต่างก็เลิกรากันไป ทั้งขนาดของคมขวานยาว 3 นิ้ว สันขวานหนาเพียง 1 นิ้วครึ่ง เป็นขวานขนาดเล็กเฉพาะความยาวของขวานรวมทั้งด้ามมีความยาว 14 นิ้วครึ่ง ส่วนขนาดของค้อนไม่ปรากฏและแม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่หางคิ้วซ้ายยาว 1.5 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก บาดแผลที่เหนือท้ายทอยยาว 3 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก กับบาดแผลฉีกขาดที่ริมฝีปากด้านบนยาว 4 เซนติเมตร ส่วนผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณศีรษะด้านหน้ายาว 5 เซนติเมตร ลึกถึงกระโหลกก็ตาม แต่บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 หายเป็นปกติภายใน 10 วัน และ 7 วันไม่ถือว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ขวานฟันและใช้ค้อนตีผู้เสียหายทั้งสองโดยแรง ดังนี้ จำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ไม่ใช่เจตนาฆ่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้อง โทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัส การทำร้ายต่อเนื่อง และความผิดกรรมเดียว
แม้หลังเกิดเหตุแล้ว 2 เดือน นิ้วก้อยซ้ายของผู้เสียหายยังไม่สามารถยืดออกได้ตามปกติก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าอาการป่วยเจ็บเช่นว่านั้นทำให้ผู้เสียหายได้รับทุกขเวทนาหรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ปากซอย แล้วไล่ตามเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในบริเวณบ้านของ พ. อีกนั้น ถือได้ว่า เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอันเดียวมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัส – การพิสูจน์ความทุกขเวทนาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิต, กรรมเดียวผิดหลายบท
แม้หลังเกิดเหตุแล้ว 2 เดือน นิ้วก้อยซ้ายของผู้เสียหายยังไม่สามารถยืดออกได้ตามปกติก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าอาการป่วยเจ็บเช่นว่านั้นทำให้ผู้เสียหายได้รับทุกขเวทนาหรือไม่สามารถประกอบกรณียกิจได้ตลอดระยะเวลาดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่า บาดแผลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส
การที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้เสียหายที่ปากซอย แล้วไล่ตามเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายในบริเวณบ้านของ พ.อีกนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอันเดียวมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยป่วยทางจิต แต่ยังสามารถต่อสู้คดีได้ ศาลลงโทษฐานทำร้ายร่างกายแทนชิงทรัพย์
แม้จำเลยจะมีอาการป่วยทางประสาทอย่างรุนแรง และได้เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมาแล้วเป็นเวลาหลายเดือน และหลังจากออกจากโรงพยาบาลจำเลยยังต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้านด้วยการสั่งซื้อยาจากโรงพยาบาลมารับประทานก็ตาม แต่เมื่อศาลได้ซักถามเรื่องราวต่าง ๆจากจำเลยแล้ว ปรากฏว่าจำเลยสามารถพูดจาโต้ตอบได้ดี อีกทั้งในชั้นสืบพยานจำเลย ตัวจำเลยยังได้เข้าเบิกความเป็นพยานโดยมิได้ปรากฏเหตุผิดปกติซึ่งส่อแสดงอาการวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้แต่ประการใด จำเลยคงต่อสู้คดีจนจบกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นแสดงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมส่งตัวจำเลยไปยังโรงพยาบาลนิติจิตเวชก่อน จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว ความผิดที่โจทก์ ฟ้องจำเลยคือความผิดฐานชิงทรัพย์ รวมความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ป่วยทางจิตเวช และการลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย
แม้จำเลยจะมีอาการป่วยทางประสาทอย่างรุนแรง และได้เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมาแล้วเป็นเวลาหลายเดือน และหลังจากออกจากโรงพยาบาลจำเลยยังต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้านด้วยการสั่งซื้อยาจากโรงพยาบาลมารับประทานก็ตาม แต่เมื่อศาลได้ซักถามเรื่องราวต่าง ๆ จากจำเลยแล้ว ปรากฏว่าจำเลยสามารถพูดจาโต้ตอบได้ดี อีกทั้งในชั้นสืบพยานจำเลย ตัวจำเลยยังได้เข้าเบิกความเป็นพยานโดยมิได้ปรากฏเหตุผิดปกติซึ่งส่อแสดงอาการวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้แต่ประการใด จำเลยคงต่อสู้คดีจนจบกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นแสดงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมส่งตัวจำเลยไปยังโรงพยาบาลนิติจิตเวชก่อน จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคือความผิดฐานชิงทรัพย์ รวมความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ลักทรัพย์, ทำร้ายร่างกาย, กระทำอนาจาร แม้มีเหตุการณ์ต่อเนื่อง แต่ถือเป็นกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
จำเลยเข้าไปลักทรัพย์แล้วเข้าไปหลบอยู่ในห้องน้ำก่อนที่จะกระทำอนาจารผู้เสียหาย เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายขัดขืนจำเลยจึงทำร้ายผู้เสียหายดังนี้ ที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเป็นการกระทำที่ไม่ต่อเนื่องกับการลักทรัพย์ แต่เป็นการกระทำที่ขาดตอนแยกต่างหากจากกันแล้ว เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าเกิดภายหลัง-ตัวการร่วมทำร้าย: ศาลลดโทษจำเลยร่วมจากฆ่าผู้อื่นเป็นทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยการชกต่อย ส่วนจำเลยที่ 3 ใช้ไม้ตีซึ่งล้วนไม่ก่อให้เกิดบาดแผลถึงตายได้ แต่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทง แม้ว่าหลังจากจำเลยที่ 3 ใช้ไม้ตีผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้เข้าทำร้ายผู้ตายก็ตามแต่ก็ด้วยการเตะ จำเลยที่ 1 หาได้ใช้มีดที่พกติดตัวมานั้นแทงทำร้ายผู้ตายทันทีไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเพียงเจตนาร่วมทำร้ายก่อน ต่อเมื่อเกิดการโต้ตอบเป็นเชิงต่อว่าระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงชักมีดออกมาแทงผู้ตาย เจตนาในการฆ่าผู้ตายของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังเช่นนี้จึงเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธมีดติดตัวตั้งแต่ก่อนหรือแรกเกิดเหตุ ไม่มีเหตุที่จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 จะฆ่าผู้ตายจึงไม่อาจรับฟังเป็นโทษแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่า มีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยการแบ่งหน้าที่กันทำ คดีต้องฟังเป็นคุณว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาเพียงร่วมในการทำร้าย จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดเพียงฐานเป็นตัวการร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก,83
of 59