พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. เจตนาฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์และการกระทำหลังเกิดเหตุ
จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียว เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีไป ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยวิ่งไล่ตามไปทำร้ายผู้เสียหายอีก ซึ่งจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าใช้มีดฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวเพื่อช่วยเหลือเพื่อนที่ชกต่อยกับผู้เสียหาย โดยไม่ได้เลือกว่าจะฟันผู้เสียหายบริเวณใด หากจำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายมาก่อน จำเลยสามารถวิ่งไล่ตามไปใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายได้อีกโดยไม่ปรากฏว่ามีสิ่งใดมาขัดขวางไม่ให้จำเลยทำเช่นนั้น ประกอบกับพวกของจำเลยก็มีหลายคนสามารถวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปได้นอกจากนี้ขณะที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหาย ผู้เสียหายเพียงแต่ยกแขนขึ้นบังเท่านั้นไม่ได้ปัดป้องแต่อย่างใด ปรากฏว่าผู้เสียหายมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณข้อศอกข้างขวายาวประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งไม่ใช่บาดแผลฉกรรจ์ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ใช้มีดฟันอย่างรุนแรง อีกทั้งจำเลยและผู้เสียหายไม่มีเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนถึงขนาดจะต้องเอาชีวิต พฤติการณ์การกระทำของจำเลยมีเจตนาเพียงแต่จะทำร้ายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะของเจ้าพนักงานตำรวจหลังถูกทำร้ายและเหตุการณ์ต่อเนื่อง ศาลฎีกาพิจารณาโทษกรรมเดียว
ผู้เสียหายที่ 4 เป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนโดยกระโดดถีบหน้าอกจำเลย แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 4 เห็นจำเลยชักปืนพกออกมาจึงร้องบอกให้ผู้เสียหายอื่นทราบ แล้วผู้เสียหายทั้งสี่ต่างก็วิ่งหนีเช่นนี้ ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่มีต่อจำเลยจึงไม่มีต่อไปแล้ว การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสี่หลายนัดและกระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 3 ที่ด้านหลังของต้นขาขวา ทำให้ผู้เสียหายที่ 3 ได้รับอันตรายสาหัส แต่กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายอื่น อันแสดงให้เห็นว่าเป็นการยิงขณะผู้เสียหายทั้งสี่หันหลังให้จำเลย การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงหาเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ แต่เห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะผู้เสียหายทั้งสี่อยู่ในวัยรุ่นและจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจด้วย แม้ผู้เสียหายทั้งสี่จะไม่รู้ก็ตาม ทั้งเหตุแต่แรกก็เป็นสาเหตุเล็กน้อยเพียงแต่โต้เถียงกันเรื่องขวางทางเดินเท่านั้น การที่ผู้เสียหายทั้งสี่กลับมาพบจำเลยในที่เกิดเหตุอีก แล้วผู้เสียหายที่ 4 กระโดดถีบหน้าอกจำเลยเช่นนี้ ย่อมทำให้จำเลยโกรธเพราะถือว่าเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามศักดิ์ศรีของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีลักษณะเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและจำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสี่ทันทีในขณะผู้เสียหายทั้งสี่วิ่งหนี จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ในขณะที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงนั้น ผู้เสียหายที่ 3 อยู่ห่างจำเลยเพียง 2 ถึง 3 เมตร ส่วนผู้เสียหายอื่นก็อยู่ห่างจำเลยเพียง 5 เมตร ถึง 6 เมตร เท่านั้น จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีความชำนาญในการใช้อาวุธปืนมากกว่าบุคคลทั่วไปและได้ยิงถึง 6 นัด แต่กระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 3 เพียงคนเดียวและถูกที่ด้านหลังของต้นขาขวา ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่สำคัญอันไม่สามารถทำให้ถึงตายได้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเพียงทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 3 ได้รับอันตรายสาหัสจากการถูกยิง ส่วนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ประกอบมาตรา 72 และพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 80 และ 72 อันเป็นการกระทำกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกายผู้บุพการีและผลกระทบจากอาการป่วยทางจิตต่อการลดโทษ
ผู้เสียหายทั้งสองเป็นมารดาและตาซึ่งเป็นบุพการีของจำเลย จำเลยใช้ค้อนที่ถืออยู่ในมือขณะตอกตะปูฝาบ้านตีผู้เสียหายที่ 1 แทบจะในทันทีที่ผู้เสียหายที่ 1 พูดห้ามให้หยุดตอกตะปู และใช้ค้อนดังกล่าวตีผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอยู่คนละบ้านในเวลาต่อเนื่องกัน เมื่อพิจารณาความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยและผู้เสียหายทั้งสองแล้ว เหตุที่ผู้เสียหายที่ 1 พูดห้ามปรามจำเลย และผู้เสียหายที่ 2 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยในขณะนั้น ประกอบกับจำเลยเจ็บป่วยทางจิตประสาทมานานหลายปีแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งสองคงมีเพียงเจตนาจะทำร้ายร่างกายเท่านั้น
ขณะที่จำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างพิจารณาอยู่ในเรือนจำ จำเลยก่อเหตุทำร้ายร่างกายผู้ที่ถูกควบคุมอยู่ด้วยกันหลายรายเป็นการผิดปกติ เรือนจำจังหวัดนนทบุรีจึงมีหนังสือขออนุญาตศาลส่งตัวจำเลยไปรับการตรวจวินิจฉัยที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ผลการตรวจพบว่าจำเลยมีอาการจิตหวาดระแวง ขณะประกอบคดีไม่รู้ผิดชอบ ขณะนี้สามารถต่อสู้คดีได้ ทั้งในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันสอบคำให้การจำเลยได้บันทึกถึงความผิดปกติในการพูดของจำเลยมีลักษณะควบคุมเรื่องที่พูดไม่ได้และมีอาการไม่ปกติ ดังนั้น ข้อเท็จจริงเรื่องผลการวินิจฉัยของแพทย์ดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดีที่ศาลรับฟังได้ และเมื่อรับฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยป่วยทางจิตประสาทมาหลายปี พยานหลักฐานดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าขณะทำความผิดจำเลยมีความผิดปกติในลักษณะที่มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 แล้วก็เดินออกจากบ้านพักเพื่อไปมอบตัวกับเจ้าพนักงานตำรวจแต่ไม่พบ จึงเดินย้อนกลับมา ระหว่างทางผ่านบ้านของผู้เสียหายที่ 2 จึงเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยเดินทางไปมอบตัวกับพนักงานสอบสวน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าขณะกระทำความผิดจำเลยยังพอจะมีความรู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ขณะที่จำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างพิจารณาอยู่ในเรือนจำ จำเลยก่อเหตุทำร้ายร่างกายผู้ที่ถูกควบคุมอยู่ด้วยกันหลายรายเป็นการผิดปกติ เรือนจำจังหวัดนนทบุรีจึงมีหนังสือขออนุญาตศาลส่งตัวจำเลยไปรับการตรวจวินิจฉัยที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ผลการตรวจพบว่าจำเลยมีอาการจิตหวาดระแวง ขณะประกอบคดีไม่รู้ผิดชอบ ขณะนี้สามารถต่อสู้คดีได้ ทั้งในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันสอบคำให้การจำเลยได้บันทึกถึงความผิดปกติในการพูดของจำเลยมีลักษณะควบคุมเรื่องที่พูดไม่ได้และมีอาการไม่ปกติ ดังนั้น ข้อเท็จจริงเรื่องผลการวินิจฉัยของแพทย์ดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานโดยตรงในคดีที่ศาลรับฟังได้ และเมื่อรับฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยป่วยทางจิตประสาทมาหลายปี พยานหลักฐานดังกล่าวทำให้เชื่อได้ว่าขณะทำความผิดจำเลยมีความผิดปกติในลักษณะที่มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 แล้วก็เดินออกจากบ้านพักเพื่อไปมอบตัวกับเจ้าพนักงานตำรวจแต่ไม่พบ จึงเดินย้อนกลับมา ระหว่างทางผ่านบ้านของผู้เสียหายที่ 2 จึงเข้าไปทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยเดินทางไปมอบตัวกับพนักงานสอบสวน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าขณะกระทำความผิดจำเลยยังพอจะมีความรู้สึกผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำความผิดต่างกรรมกัน: ข่มขืนใจ vs. ทำร้ายร่างกาย
เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันไปที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ผู้เสียหายบังคับให้ผู้เสียหายไปกับจำเลยและพวกจนผู้เสียหายกลัวและยอมทำตาม การกระทำของจำเลยและพวกเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง แล้ว การที่จำเลยกับพวกนำตัวผู้เสียหายไปจนถึงบ้านร้างแล้วจำเลยสอบถามผู้เสียหายแต่ได้คำตอบไม่เป็นที่พอใจ จำเลยจึงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นใหม่แยกต่างหากจากความผิดข้างต้น ถึงแม้จำเลยจะอ้างว่ามีวัตถุประสงค์เดียวคือทวงหนี้จากผู้เสียหายก็ตาม แต่จำเลยมีเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างกันและแยกออกจากกันได้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5087/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าในคดีชุลมุนต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงและฟันผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลฉีกขาดที่แขนขวาท่อนล่างยาว 5 เซนติเมตร เอ็นฉีกขาดและเส้นประสาทขาด บาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าอกด้านซ้ายกว้าง 1.5 เซนติเมตร ลึก 2 เซนติเมตร นิ้วก้อยซ้ายและนิ้วนางซ้ายขยับไม่ได้ ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ แสดงให้เห็นว่า ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บมากจนนิ้วก้อยซ้ายและนิ้วนางซ้ายขยับไม่ได้ ผู้เสียหายที่ 1 รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 5 วัน และรักษาตัวที่บ้านประมาณ 2 เดือน แผลจึงหายเป็นปกติ ระหว่างที่รักษาตัวไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ จึงรับฟังได้ว่าผู้เสียหายที่ 1 ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันเป็นอันตรายสาหัส
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าแต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายที่ 1 ถูกทำร้ายเนื่องจากการชุลมุนต่อสู้ ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกอันเป็นการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากการชุลมุนดังกล่าวหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าแต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายที่ 1 ถูกทำร้ายเนื่องจากการชุลมุนต่อสู้ ถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกอันเป็นการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากการชุลมุนดังกล่าวหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งทรัพย์โดยไม่เจตนาชิงทรัพย์ และความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษ
เหตุที่จำเลยทำร้ายทุบบริเวณท้ายทอยและหลังของผู้เสียหายที่ 2 ในตอนแรก มีสาเหตุจากการที่ผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปปลุกจำเลยขณะหลับอยู่บนรถโดยสารมินิบัสของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งขณะนั้นจำเลยมีการเมาสุรา เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ถามจำเลยว่าจะลงจากรถหรือไม่ จำเลยตอบว่าลง และเดินไปที่ประตูด้านหลังของรถยนต์มินิบัสแต่กลับย้อนมาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีก ผู้เสียหายที่ 2 พยายามใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารต่อสู้กับจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารแล้วลงจากรถวิ่งหนีไปเป็นเพราะจำเลยเมาสุราและไม่ประสงค์จะต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกับผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารทำร้ายจำเลยด้วย การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารจากผู้เสียหายที่ 2 ไป ก็เพราะไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตามมาทำร้ายจำเลยอีก หากจำเลยประสงค์จะชิงทรัพย์จำเลยอาจหยิบเอาเฉพาะเงินจากกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสาร ทิ้งกระบอกตั๋วไว้แล้วหลบหนีไปก็อาจกระทำได้ การที่จำเลยยังคงมีกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตัวอยู่ ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้ผู้ใดนำกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารมาทำร้ายจำเลยอีก การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการพาเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ไม่ได้เกิดโดยเจตนาทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 ที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลย มีอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและจำเลยไม่สืบพยานก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 นั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกัน ผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้กำปั้นและมือทุบตีบริเวณท้ายทอยและด้านหลังหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ไม่ปรากฏบาดแผล ทั้งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่เป็นเพียงความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 ที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลย มีอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและจำเลยไม่สืบพยานก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 นั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกัน ผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้กำปั้นและมือทุบตีบริเวณท้ายทอยและด้านหลังหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ไม่ปรากฏบาดแผล ทั้งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่เป็นเพียงความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์ vs. แก้แค้นทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์: การพิจารณาความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะชิงทรัพย์ของผู้เสียหายมาแต่แรก แต่สาเหตุเนื่องจากผู้เสียหายกับจำเลยมีเรื่องวิวาทกันก่อน จำเลยสู้ไม่ได้จึงพาพรรคพวกคือ ส. และ ท. มารุมทำร้ายผู้เสียหายในภายหลัง ที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปน่าจะเป็นผลพลอยได้จากการที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บแล้วมากกว่า มิฉะนั้นจำเลยคงไม่พูดประโยคว่า "มึงทำกูเจ็บ ก็ต้องเอาของมึง" ซึ่งมีลักษณะเป็นการแก้แค้นจากการถูกผู้เสียหายทำร้ายมาก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์: การกระทำที่ไม่ได้มุ่งแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สิน
ก่อนเกิดเหตุ เวลาประมาณ 22 นาฬิกา จำเลยทั้งสามนั่งดื่มสุราอยู่ในร้านคาราโอเกะห่างจากโต๊ะผู้เสียหายที่นั่งดื่มสุราเช่นกันเพียงประมาณ 1 เมตร ระหว่างที่นั่งอยู่ในร้านคาราโอเกะจำเลยทั้งสามและผู้เสียหายต่างก็ร้องเพลงคาราโอเกะ ต่อมาเวลาประมาณ 1 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น ผู้เสียหายกลับบ้านก่อนจำเลยทั้งสามประมาณ 5 นาที จากนั้นจำเลยทั้งสามได้ไปหาผู้เสียหายที่บ้านและขอร้องให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่งอย่างเปิดเผย ไม่ได้ปิดบังหรืออำพรางตัว ผู้เสียหายตกลงโดยให้จำเลยทั้งสามนั่งรถจักรยานยนต์ไปด้วย เมื่อรถวิ่งไปได้ประมาณ 100 เมตร จำเลยทั้งสามจึงทำร้ายผู้เสียหายโดยการเตะและกระทืบ ก่อนที่จะทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยทั้งสามไม่ได้เรียกร้องเอารถจักรยานยนต์หรือทรัพย์สินอื่นของผู้เสียหายก่อน หลังจากจำเลยทั้งสามทำร้ายผู้เสียหายแล้ว ได้ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายออกไปจากที่เกิดเหตุเพียง 100 เมตร ก็จอดรถทิ้งไว้โดยจอดไว้ริมถนนข้างบ้าน ว. ผู้ใหญ่บ้านท้องที่ที่เกิดเหตุโดยเปิดเผยและเสียบกุญแจรถคาไว้ทั้งที่จำเลยทั้งสามสามารถนำรถจักรยานยนต์ไปได้โดยสะดวก เพราะไม่มีผู้ใดติดตามและเป็นยามวิกาล จากนั้นจำเลยทั้งสามพากันไปนอนที่บ้านของจำเลยที่ 1 มิได้หลบหนีและเมื่อทราบว่าเจ้าพนักงานตำรวจติดตามหาตัวจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามก็ยินยอมให้ ว. พาไปมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนโดยดี และให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า มีเจตนาเพียงทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ประสงค์จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสามมิได้มุ่งประสงค์ต่อผลในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินโดยแท้จริง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงขาดเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสามกระทำการดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยทั้งสามคงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8092/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนสลบ ถือเป็นอันตรายแก่จิตใจ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295
จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย โดยใช้ของแข็งกระแทกตัวผู้เสียหาย และเตะผู้เสียหายจนผู้เสียหายสลบไปประมาณ 5 นาที แม้ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย แต่การที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนสลบไปประมาณ 5 นาที ถือว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจแล้ว จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6480/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกระทำความผิดอาญา แม้ไม่ได้ลงมือทำร้ายร่างกายโดยตรง แต่มีส่วนร่วมวางแผน
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมเห็น อ. นั่งดื่มสุราอยู่ที่หน้าร้านของจำเลย ต่อมาจำเลยเข้ามาทวงหนี้จากโจทก์ร่วมโดยจำเลยกับ อ. พากันเข้ามาในร้านเกมของโจทก์ร่วมพร้อมกัน แล้วจำเลยชี้ตัวโจทก์ร่วมให้ อ. ดูพร้อมกับพูดว่า คนนี้แหละชื่อยันต์ หลังจากนั้น อ. พูดว่า มึงพากูออกไปตามหาพ่อมึง ติดหนี้แล้วต้องใช้หนี้ เมื่อโจทก์ร่วมบอกว่าไม่ทราบว่าพ่ออยู่ที่ไหนและไม่ยอมไป อ. ก็เดินเข้ามาเตะโจทก์ร่วม พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยสมคบร่วมกันกับ อ. มาเตะทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว แม้ขณะที่ อ. เข้ามาเตะทำร้ายโจทก์ร่วม จำเลยจะเพียงแต่ยืนอยู่เฉย ๆ ไม่ได้พูดอะไรก็ตาม