คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทรับมรดก การครอบครองทรัพย์สินแทนเจ้าของรวม และอายุความเรียกร้องทรัพย์มรดก
โจทก์เป็นบุตรของนาง ศ. จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทส่วนของนาง ศ. เมื่อโจทก์ไปขอให้จำเลยดำเนินการแบ่งแยกที่ดินพิพาทแก่โจทก์แต่จำเลยเพิกเฉย ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยจะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกับนาง ศ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท นาง ศ. ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่ง และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการบ่งชี้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแต่อย่างใด การที่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการครอบครองไว้แทนนาง ศ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย
โจทก์เป็นบุตรของนาง ศ. ผู้ตาย จึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1) มีสิทธิรับมรดกของนาง ศ. ส่วนจำเลยเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนาง ศ. เป็นทายาทโดยธรรมในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของนาง ศ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้ และโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ครอบครองแทน กรณีมิใช่เรื่องเรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาตัดฟ้องโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยนหนี้ต่างประเทศ – ศาลพิพากษาเกินคำขอ, การใช้สิทธิโดยสุจริต, และการปฏิบัติตามสัญญา
คำฟ้องของโจทก์จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณาจาก การบรรยายฟ้องเป็นสำคัญ เมื่อคำฟ้องเป็นที่พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาและที่ขอบังคับจำเลยตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเอกสารที่ต้องแนบมาท้ายคำฟ้องตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 7 นั้น ก็เพื่อจะให้จำเลยได้รู้ว่ามีเอกสารใดที่เกี่ยวข้องตามคำฟ้องบ้างในเบื้องต้น อันจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยความสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น แม้เอกสารดังกล่าวเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ในชั้นพิจารณาจะต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาการให้สินเชื่อแล้ว มีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดใดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทำให้มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินคืนได้ การที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อกำหนดตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้คืน เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายโดยชอบ แม้โจทก์จะรู้ว่าอยู่ในระหว่างที่จำเลยกำลังเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือเงินดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินใน วันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นอกจากจะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง แล้วยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ โดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าถือเป็นการให้สัตยาบันสิทธิ โจทก์มีสิทธิฟ้องผู้เลียนแบบได้
บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในภายหลัง แสดงว่าบริษัทดังกล่าวได้ให้สัตยาบันการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย มีอำนาจฟ้องผู้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า FRITOS อ่านว่าไฟรทอสหรือฟรีโดส์หรือฟรีโตส์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า FREEDOS อ่านว่า ฟรีโดส์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 6 ตัว ส่วนของจำเลยมี 7 ตัวแต่ซ้ำกันกับของโจทก์ถึง 4 ตัว คือ F,R,O,S, ตัวอักษรเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนการออกเสียงนั้นแม้คำของโจทก์จะสามารถอ่านออกเสียงได้หลายอย่าง ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงได้อย่างเดียว แต่ก็มีเสียงเพียง 2 พยางค์เกือบเหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ ทำให้สาธารณชนหลงผิดสับสนได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้างโดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้งและไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้งไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาลโดยทำสัญญาไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับจำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใดเพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาสัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญยาประกันต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใดๆก็ดีถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า'ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161,167และตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้อง ของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลย จึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอน เพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทน จนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลย แต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิด ก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกัน ต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หา ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็น ผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ ไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับ จำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็น หลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกันต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและคำสั่งรื้อถอน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เมื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาและตราข้อบัญญัติไว้แล้ว อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยไม่มีความปลอดภัย
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับ อนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 และต่อมา ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนตามมาตรา 42 วรรคแรกแล้ว อาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอน แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยโดยอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานเขตออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม
ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 35 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจมอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติราชการแทนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่จำต้องปิดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจด้วย จึงรับฟังเอกสารเป็นพยานได้
เมื่อพยานโจทก์คนสุดท้ายคอบคำถามติงแล้ว โจทก์ส่งเอกสารเป็นพยานต่อศาล แล้วให้พยานนั้นดูเอกสารดังกล่าว และพยานโจทก์แถลงประกอบเอกสาร ถือได้ว่าเป็นการซักถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์กระทำเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคสี่ จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
การที่หัวหน้าเขตซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบหมายงานโยธา ให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบสั่งการแทนหัวหน้าเขตได้ เป็นการมอบให้ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการมอบอำนาจช่วง ผู้ช่วยหัวหน้าเขตมีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็รับฟังเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทางธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล ไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเดิม
เดิมร้าน ล. มี น. เป็นเจ้าของ ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ และ น. ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายกับโจทก์ และจ้างเหมาโจทก์ติดตั้งสายไฟ ต่อมาร้าน ล. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อบริษัทจำเลย โดยใช้ชื่อร้าน ล. บ้างใช้ชื่อจำเลยบ้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยลงชื่อรับสินค้าไว้จากโจทก์ ต่อมาจำเลยยังได้ชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ ดังนี้ แสดงว่าเป็นกิจการเดียวกัน โดยขณะทำสัญญายังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดการศพ: ทายาทโดยธรรมมีอำนาจจัดการศพได้เอง ไม่ต้องร้องต่อศาลหากไม่มีข้อพิพาท
กรณีร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายมาตรา 1649 นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ อำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้ แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายมีอำนาจจัดการทำศพหรือมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ทั้งปรากฏว่าก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ไปขอรับศพผู้ตาย แต่ ส.ซึ่งรับศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปก่อน ไม่ยอมมอบให้โดยอ้างว่าเป็นภรรยาผู้ตาย จึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ส. ผู้ร้องชอบทีจะดำเนินคดีกับ ส. อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ที่ร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีนิติสัมพันธ์และอำนาจฟ้องขับไล่ จำเลยครอบครองก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของ แม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
of 2