คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามกฎหมายและการพิจารณาวันหยุดทำการ
คดีครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน คือวันที่ 5 ธันวาคม 2541 เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์และศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ จึงต้องนับต่อจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่ 5 โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6 , 7 และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่ เพราะวันเวลาดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งเหตุผลและรายละเอียดข้อเท็จจริง ทำให้ศาลไม่รับวินิจฉัยและยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ถ้าศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบพยานก็จะทราบข้อเท็จจริงในคดีที่จะทำให้จำเลยชนะคดีได้ โดยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ชัดแจ้ง เพียงแต่กล่าวอ้างถึงคำร้องจำเลยที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยาน จำเลยให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์จำเลย ทั้งมิได้กล่าวรายละเอียดตามคำร้องคัดค้านดังกล่าวมาในอุทธรณ์ด้วย จึงไม่อาจจะนำเอารายละเอียดในคำร้องนั้นมาประกอบอุทธรณ์จำเลยให้ชัดแจ้งได้ อุทธรณ์จำเลยจึงเป็น อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลในการกำหนดสถานที่นั่งพิจารณาคดีและการรับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 35
ป.วิ.พ.มาตรา 35 บัญญัติให้การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทำในศาลนั้น ในวันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีดังนั้น คำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงาน หรือในเวลาใด ๆ ตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้อง คำร้อง คำขอต่าง ๆ มิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไป
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (9) จะให้คำนิยามคำว่า การนั่งพิจารณา หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีเช่นชี้สองสถานสืบพยาน ทำการไต่สวน ฟังคำขอต่าง ๆ และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา แต่เมื่อถ้อยคำในมาตรา 35 มีวัตถุประสงค์แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ หมายความรวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาด้วยแล้ว การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ณ อาคารที่ว่าการ อำเภอนางรอง (หลังเก่า) จังหวัดบุรีรัมย์โดยให้มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่อำเภอนางรองและอำเภออื่นๆ ดังกล่าวในคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 แห่ง ป.วิ.พ.จึงเป็นคำสั่งที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจออกคำสั่งซึ่งมีความหมายถึงการนั่งพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอนางรองและอำเภออื่น ๆ ที่ระบุในคำสั่ง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการนั่งพิจารณาคดีดังกล่าวด้วย
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องมูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอนางรองและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอนางรอง ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)ตามคำสั่งของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และเมื่อไม่ปรากฎว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)นั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ คำสั่งศาลจังหวัดบุรีรัมย์ที่ไม่รับคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลา
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเจ้าหน้าที่ศาลจะทำรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและหามีผลให้รายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเป็นรายงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติบังคับไว้ ศาลชั้นต้นให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในวันที่20พฤศจิกายน2534โจทก์จะต้องมีคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดในวันที่5ธันวาคม2534แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอได้ในวันที่6ธันวาคม2534แม้ในวันดังกล่าวเจ้าหน้าที่ศาลจะรายงานต่อศาลว่าครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองจะต้องยื่นคำให้การมานานแล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งไม่ถูกต้องแต่เมื่อช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มีคำขอข้างต้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความในวันที่9ธันวาคม2534ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันครบกำหนดให้โจทก์มีคำขอจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์นอกกรอบ, การคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, และการพิจารณาข้อตกลงดอกเบี้ยใหม่หลังผิดนัด
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์, ผลของการอุทธรณ์เกินกำหนด, และข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง
++ เรื่อง ++++
++ คดีแดงที่ 1968-1969/2537 ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน 2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้
เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128-129/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม แม้มีวันหยุดราชการ
วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องระงับการบังคับคดี: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อนสั่งยกคำร้องหากพิจารณาแล้วไม่มีเหตุสมควร
การพิจารณาคำร้องของผู้ร้องว่าที่ดินและบ้านเรือนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยและบริวารออกไปนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลย ขอให้ระงับการบังคับคดีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำการไต่สวนก่อน ที่ศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อมให้ผู้ร้อง โจทก์ จำเลยมาศาลก็เพื่อทำการพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้อง และในวันนัดพร้อม หากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่สมควรอนุญาตตามคำร้องก็อาจยกคำร้องเสียได้ ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์แล้วว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้อง จึงยกคำร้อง มิได้สั่งยกคำร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่มาศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นคำให้การ: ผลของการนับวันและวันหยุดราชการ
แม้วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้คือวันที่ 29 มิถุนายน 2518(ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการ) แต่เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 5 วันโดยมิได้ระบุว่านับแต่วันใดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมโดยไม่คำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: การนับวันและผลกระทบของวันหยุดราชการ
แม้วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้คือวันที่ 29 มิถุนายน 2518 (ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการ) แต่เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 5 วันโดยมิได้ระบุว่านับแต่วันใด จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิม โดยไม่คำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่
of 3