คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาการยื่นคำให้การหลังการส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย และผลของการผัดยื่น
การส่งหมายเรียกให้แก้คดีโดยวิธีปิดหมายนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 กำหนดให้เวลาล่วงแล้ว 15 วันจึงจะมีผลพนักงานส่งหมายส่งหมายในวันที่ 4 ก.ย. 98 เรื่องการนับระยะเวลาล่วงพ้น 15 วันจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 5 แล้วเริ่มนับกำหนดยื่นคำให้การภายใน 8 วันตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 98 ครบในวันที่ 27 ก.ย. 98 แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยผัดยื่นคำให้การได้ 3 วันโดยมิได้ระบุว่านับแต่วันใด จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับหนึ่งแต่วันที่ 28 ก.ย. 98จำเลยยื่นคำให้การวันที่ 1 ต.ค.98 จึงพ้นกำหนดไป 1 วันแล้วจึงไม่รับเป็นคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งสำเนาอุทธรณ์
กรณีที่ผู้ยื่นคำคู่ความจดไว้ในคำคู่ความว่าจะรอฟังคำสั่ง ถ้าไม่รอฟัง ให้ถือว่าได้ทราบคำสั่งนั้น แม้ผู้ยื่นคำร้องมิได้ฟังคำสั่งก็ถือว่าได้ทราบคำสั่งแล้ว
เรื่องการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ โดยอนุโลม
ผู้อุทธรณ์ไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งภายในกำหนดที่ศาลสั่งย่อมเป็นการทิ้งฟ้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการถือว่าทราบคำสั่งเมื่อจดไว้ในคำคู่ความ
กรณีที่ผู้ยื่นคำคู่ความจดไว้ในคำคู่ความว่าจะรอฟังคำสั่งไม่รอฟัง ให้ถือว่าได้ทราบคำสั่งนั้น แม้ผู้ยื่นคำร้องมิได้ฟังคำสั่งก็ถือว่าได้ทราบคำสั่งแล้ว
เรื่องการทิ้งฟ้องตาม ม.174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ โดยอนุโลมผู้อุทธรณ์ไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่าย 1 ภายในกำหนด ที่ศาลสั่งย่อมเป็นการทิ้งฟ้องศาลอุทธรณ์ย่อมสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและพิจารณาคดีอาญา: เขตอำนาจ, ที่อยู่ผู้ต้องหา, และการไม่คัดค้านการสอบสวน
เจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดอ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตต์อำนาจหรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตต์อำนาจของตนได้ฉะนั้น เพียงแต่ปรากฎว่าเหตุที่เกิดและที่อยู่ผู้ต้องหาอยู่นอกเขตต์อำนาจ ยังไม่พอที่จะชี้ว่า เจ้าพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนั้น และศาลซึ่งอยู่ในเขตต์สอบสวนนั้นย่อมีอำนาจพิจารณาคดีนั้น
เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านว่าการสอบสวนไม่ชอบ คดีจึงไม่จำเป็นต้องมีการนำสืบเรื่องสอบสวน
of 3