พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายเดิมที่ใช้โดยสุจริต และข้อยกเว้นการห้ามจดทะเบียน
พ.ร.ฎ.การแบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2542 มาตรา 4 กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานรวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น การดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จึงอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 เป็นคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เมื่อคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 เป็นเหตุให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึง 13
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้จากพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องนำสืบในประเด็น เมื่อปรากฏว่าปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 90 วัน จำเลยทั้งสิบสามมิได้ให้การไว้ ทั้งคู่ความมิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานี้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีสิทธิยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของบริษัท ย. ผู้คัดค้าน ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว มีสาระสำคัญที่เหมือนกันคือเป็นรูปเด็กนั่งอุ้มขวด แม้จะมีข้อแตกต่างกันบ้าง เช่น รูปเด็กของโจทก์ถือขวดทางด้านซ้ายมือ แต่รูปเด็กของผู้คัดค้านถือขวดทางด้านขวามือ ก็เป็นข้อแตกต่างในลักษณะปลีกย่อย สินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์เป็นสินค้าจำพวกน้ำปลา ส่วนสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านเป็นสินค้าจำพวกซีอิ้วอันเป็นสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส สินค้าจำพวกที่ 30 เช่นเดียวกัน ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อเป็นการขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันย่อมเป็นกรณีที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ซึ่งมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้บัญญัติห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว อย่างไรก็ดีถ้านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าสมควรรับจดทะเบียน มาตรา 27 ของกฎหมายฉบับเดียวกันก็บัญญัติให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ โดยจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือเงื่อนไขและข้อจำกัดอื่นตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรกำหนดด้วยก็ได้
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อนำสืบของโจทก์ ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" มานานแล้วโดยสุจริต เช่นเดียวกับที่ผู้คัดค้านใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านจะเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันและใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมมีอำนาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์ตามมาตรา 27 ได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 27 ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ถือเป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย ไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน และแม้ข้อเท็จจริงตามที่ฝ่ายจำเลยนำสืบจะรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของผู้คัดค้าน ใช้กับสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีการโฆษณาส่งเสริมการขายอย่างกว้างขวางเป็นที่แพร่หลายจนสาธารณชนทั่วไปที่บริโภคสินค้าของผู้คัดค้านรู้จักเป็นอย่างดี ตรงตามหลักเกณฑ์ของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2534) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่ห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 8(10) แต่ข้อห้ามดังกล่าวย่อมหมายถึงการห้ามบุคคลอื่นใดนำเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปมายื่นขอจดทะเบียนโดยเจตนาลอกเลียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตนโดยมิชอบ อันนำไปสู่การสร้างความสับสนหลงผิดให้แก่สาธารณชนทั่วไปในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า กรณีดังกล่าวไม่อาจแปลความรวมไปถึงเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของตนโดยสุจริตควบคู่ร่วมสมัยกับเครื่องหมายการค้าที่ต่อมาภายหลังกลับกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดั่งเช่น เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ในคดีนี้ เพราะมิฉะนั้นแล้วเท่ากับว่าเป็นการจำกัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้มาโดยสุจริตให้ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ย่อมเป็นการไม่ชอบธรรมกับเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารายการน้ำปลามาเป็นเวลานานโดยสุจริต โจทก์ย่อมรับได้ความคุ้มครองตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีดุลพินิจที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันได้ โดยจะมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้นเพื่อป้องกันสาธารณชนสับสนหลงผิดไว้ด้วยก็ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 วินิจฉัยให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้จากพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องนำสืบในประเด็น เมื่อปรากฏว่าปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 90 วัน จำเลยทั้งสิบสามมิได้ให้การไว้ ทั้งคู่ความมิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานี้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จำเลยทั้งสิบสามจึงไม่มีสิทธิยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของบริษัท ย. ผู้คัดค้าน ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว มีสาระสำคัญที่เหมือนกันคือเป็นรูปเด็กนั่งอุ้มขวด แม้จะมีข้อแตกต่างกันบ้าง เช่น รูปเด็กของโจทก์ถือขวดทางด้านซ้ายมือ แต่รูปเด็กของผู้คัดค้านถือขวดทางด้านขวามือ ก็เป็นข้อแตกต่างในลักษณะปลีกย่อย สินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์เป็นสินค้าจำพวกน้ำปลา ส่วนสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านเป็นสินค้าจำพวกซีอิ้วอันเป็นสินค้าประเภทเครื่องปรุงรส สินค้าจำพวกที่ 30 เช่นเดียวกัน ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อเป็นการขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันย่อมเป็นกรณีที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ซึ่งมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้บัญญัติห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว อย่างไรก็ดีถ้านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นว่าสมควรรับจดทะเบียน มาตรา 27 ของกฎหมายฉบับเดียวกันก็บัญญัติให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ โดยจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือเงื่อนไขและข้อจำกัดอื่นตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นสมควรกำหนดด้วยก็ได้
ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อนำสืบของโจทก์ ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" มานานแล้วโดยสุจริต เช่นเดียวกับที่ผู้คัดค้านใช้เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วของผู้คัดค้านจะเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันและใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมมีอำนาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์ตามมาตรา 27 ได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 27 ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ถือเป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย ไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน และแม้ข้อเท็จจริงตามที่ฝ่ายจำเลยนำสืบจะรับฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ของผู้คัดค้าน ใช้กับสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีการโฆษณาส่งเสริมการขายอย่างกว้างขวางเป็นที่แพร่หลายจนสาธารณชนทั่วไปที่บริโภคสินค้าของผู้คัดค้านรู้จักเป็นอย่างดี ตรงตามหลักเกณฑ์ของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2534) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่ห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนตามมาตรา 8(10) แต่ข้อห้ามดังกล่าวย่อมหมายถึงการห้ามบุคคลอื่นใดนำเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปมายื่นขอจดทะเบียนโดยเจตนาลอกเลียนเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตนโดยมิชอบ อันนำไปสู่การสร้างความสับสนหลงผิดให้แก่สาธารณชนทั่วไปในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า กรณีดังกล่าวไม่อาจแปลความรวมไปถึงเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของตนโดยสุจริตควบคู่ร่วมสมัยกับเครื่องหมายการค้าที่ต่อมาภายหลังกลับกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดั่งเช่น เครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" กับเครื่องหมายการค้า "ตราเด็กสมบูรณ์" ในคดีนี้ เพราะมิฉะนั้นแล้วเท่ากับว่าเป็นการจำกัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมที่ใช้มาโดยสุจริตให้ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายโดยเท่าเทียมกัน ย่อมเป็นการไม่ชอบธรรมกับเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารายการน้ำปลามาเป็นเวลานานโดยสุจริต โจทก์ย่อมรับได้ความคุ้มครองตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีดุลพินิจที่จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันได้ โดยจะมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้นเพื่อป้องกันสาธารณชนสับสนหลงผิดไว้ด้วยก็ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 วินิจฉัยให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "ตราเด็ก" ของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8189/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยใช้เครื่องหมายแพร่หลายก่อนโจทก์จดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ "TOT" เพื่อการติดต่อกับหน่วยงานต่างประเทศเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้คำดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายทั่วไป ขณะที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้คำว่า "TOT" จนเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป และไม่ปรากฏว่าโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยไม่สุจริตเช่นใดด้วย การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้า ในภายหลัง จึงไม่เป็นสาเหตุที่จะทำให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กลับเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต และเป็นการมุ่งหวังให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่จำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งในทำนองว่า จำเลยที่ 1 เป็นหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจที่รัฐมีนโยบายให้จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย ได้ประกอบกิจการโทรศัพท์ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2497 อันเป็นเหตุให้รับฟังว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อรัฐประศาสโนบาย โดยไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ขัดต่อรัฐประศาสโนบายในประเด็นอื่นอย่างไร จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน: การใช้ชื่อเสียงของบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยมิชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" ซึ่งเป็นชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายของสาธารณชน จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับรูปประดิษฐ์ต่าง ๆ ไปจดทะเบียนการค้าเพื่อใช้กับสินค้าลูกฟุตบอลของจำเลยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองนับว่าเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคสอง ในกรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังกล่าวอ้างอีกว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" แม้จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในความหมายของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ห้ามมิให้จดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: สิทธิในเครื่องหมาย, ชื่อเสียงแพร่หลาย, และการใช้ก่อน
โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้ใช้และโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวสำหรับสถานบริการและสถานบันเทิงของโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการพิพาทมีปริมาณการให้บริการจำนวนมากหรือโจทก์ได้ใช้หรือโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิได้เป็นเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายบริการดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายบริการที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (10) ประกอบมาตรา 6 (2) และมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าบริษัท ว. และเครื่องหมายบริการพิพาทมิใช่เครื่องหมายบริการที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน การขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทของบริษัท ว. จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง การลวงขาย และการใช้ชื่อทางการค้าโดยไม่ชอบ
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเลียนแบบเครื่องหมายการค้าตราเด็กสมบูรณ์และคำว่า หยั่นหว่อหยุ่น ของโจทก์ โดยนำเอารูปรอยประดิษฐ์ตลอดจนสีสันในฉลากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปดัดแปลงเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเพื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันทำให้สาธารณชนผู้บริโภคเกิดความสับสนในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ดังนี้ ตามฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการลวงขายนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ เพียงแต่คล้ายกันเช่นอย่างที่ปรากฏในคดีนี้ก็ถือว่าเป็นการลวงขายได้แล้ว ที่สำคัญก็คือเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ฉะนั้น แม้ภาคส่วนอื่นๆ ในฉลากที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้ตามมาตรา 46 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง แม้สินค้าต่างชนิดกัน หากทำให้สาธารณชนสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามภาพถ่ายรวม 10 รูปมีทั้งเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยไม่มีตัวอักษรอยู่ด้วย และเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพเสือโดยมีอักษรไทยคำว่า "ตราเสือ" และอักษรโรมันคำว่า "TIGER" อยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 10 เครื่องหมายจึงมีลักษณะเด่นอยู่ที่ภาพเสือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" เพื่อแสดงว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า "ไทเกอร์" แม้จะไม่มีภาพเสือ หรือคำว่า "ตราเสือ" และ "TIGER" อยู่ด้วย แต่คำว่า "ไทเกอร์" ก็เป็นคำอ่านในภาษาอังกฤษของคำว่า "TIGER" จึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป แต่จำเลยยังเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้สินค้าหลักของโจทก์จะเป็นยาหม่อง ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นยากันยุงอันเป็นสินค้าคนละชนิดกัน ก็มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 61 (4) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป แต่จำเลยยังเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ แม้สินค้าหลักของโจทก์จะเป็นยาหม่อง ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นยากันยุงอันเป็นสินค้าคนละชนิดกัน ก็มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 61 (4) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันจนสับสน แม้มีรูปถ้วยและตัวอักษร ศาลยืนยกฟ้อง
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างประกอบด้วยรูปถ้วยและตัวอักษร แต่ลักษณะรูปถ้วยแตกต่างกัน กล่าวคือ รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนหูมีลักษณะโปร่งเป็นรูปโค้งงอจับได้ ขาของถ้วยเป็นแนวตรง และฐานของถ้วยมีลักษณะเป็นรูปวงกลม แต่รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนหูจะมีลักษณะทึบคล้ายสามเหลี่ยม ขาของถ้วยสั้นและฐานของถ้วยมีขนาดใหญ่ แตกต่างกับของโจทก์ที่ฐานของถ้วยมีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้เมื่อดูในภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรโรมันคำว่า Golden Cup เพราะมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่ารูปถ้วย ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเน้นที่รูปถ้วยมากกว่าตัวอักษรเพราะรูปถ้วยมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่าตัวอักษร ตัวอักษร A.P.P. ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับคำว่า "Golden Cup" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งการเขียนและการอ่านออกเสียง คำว่า Golden Cup แปลว่า ถ้วยทอง ในขณะที่ตัวอักษร A.P.P. แปลความหมายไม่ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิได้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนสับสน และมีผลต่อชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้าเดิม
คำว่า ROZA เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งในลักษณะของภาษาเขียนและภาษาพูด โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าย่อมมุ่งหวังให้สาธารณชนรู้จักด้วยการอ่านและออกเสียง เสียงอ่านของคำว่า ROZA เป็นสำเนียงไทยว่า โรซ่า เมื่อพิจารณาคำว่า ROZA ของโจทก์กับคำว่า ROSA จะเห็นว่ามีอักษรโรมัน 4 ตัวเรียงกัน คงแตกต่างกันเฉพาะตัวที่ 3 คือ ตัว Z กับตัว S เท่านั้น ที่สำคัญคือตัวอักษรที่เป็นสระและมีผลต่อการออกเสียงคือตัว O และตัว A ทั้ง 2 คำใช้เหมือนกันและอ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์เช่นกัน ส่วนตัว S และ Z นั้น แม้จะเขียนแตกต่างกัน แต่การออกเสียงเป็นสำเนียงไทยก็คล้ายคลึงกันมาก ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ROZA สำหรับสินค้าประเภทซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ปลากระป๋อง น้ำมะเขือเทศ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า ROSA จดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทกาแฟ ชา ลูกกวาด น้ำผึ้ง เค้ก เมื่อเครื่องหมายการค้าคำว่า ROZA เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามนัยมาตรา 8 (10) ของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แม้จะเป็นการจดทะเบียนกับสินค้าต่างจำพวกกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเสียได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ROZA สำหรับสินค้าประเภทซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ปลากระป๋อง น้ำมะเขือเทศ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า ROSA จดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทกาแฟ ชา ลูกกวาด น้ำผึ้ง เค้ก เมื่อเครื่องหมายการค้าคำว่า ROZA เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามนัยมาตรา 8 (10) ของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แม้จะเป็นการจดทะเบียนกับสินค้าต่างจำพวกกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5214/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึง, การใช้ก่อน, และสิทธิในการจดทะเบียน
โจทก์ประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ในสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั่วไปก่อนที่จำเลยจะใช้คำว่า SUN เป็นคำนำหน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลย แม้สินค้าของจำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUN นำหน้าจำนวนมากมาย แต่เป็นการใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า SUNGARD เลียนแบบหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าภายใต้คำว่า SUN นำหน้าของจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5214/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'SUNGARD' ก่อน 'SUN' ไม่ทำให้สับสน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จดทะเบียนได้
โจทก์ประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ในสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั่วไปก่อนที่จำเลยจะใช้คำว่า SUN เป็นคำนำหน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลย แม้สินค้าของจำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUN นำหน้าจำนวนมากมาย แต่เป็นการใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า SUNGARD เลียนแบบหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าภายใต้คำว่า SUN นำหน้าของจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย