คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 38

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการส่งประกาศขายทอดตลาดที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้
กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า มีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยได้แถลงไว้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบและไม่ได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาหรือหาบุคคลอื่นเข้าสู้ราคาหรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งขอเปลี่ยนที่อยู่จัดส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งคำร้องว่า "ทราบ รวม จำเลยทราบประกาศขายในวันนี้แล้ว" เมื่อประกาศขายทอดตลาดใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจำต้องส่งประกาศขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ที่อยู่ตามที่จำเลยแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้ กลับจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ถือมิได้ว่ามีการจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่จำเลยแล้ว การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ครั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดตามภูมิลำเนา แม้จำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง ศาลฎีกาเห็นชอบด้วยการส่งหมายนัดไปยังบ้านเลขที่ที่ระบุในทะเบียนราษฎร
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยโดยระบุว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านเลขที่ 436 ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และตามข้อมูลทะเบียนราษฎรก็ระบุว่าจำเลยมีที่อยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว ประกอบกับในชั้นพิจารณา เมื่อจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานต่อศาลก็ได้ระบุที่อยู่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเช่นเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใด กรณีถือว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลย แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 29/31 หมู่ที่ 4 ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ก็ตาม หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง ดังนั้น บ้านเลขที่ 436 ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การผิดสัญญา, ภูมิลำเนา, และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ค่าปรับ
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล ส. โดยมี อ. เป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย อ. จึงมิได้กระทำในฐานะส่วนตัว เมื่อจำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาแก่โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ อ. ยังเป็นพนักงานสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาล ส. ก็ตาม แต่เมื่อ ธ. เป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาล ส. ในขณะยื่นฟ้องและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 จึงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยได้โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำร้องขอประกันและสัญญาประกันผู้ต้องหาที่จำเลยทำกับโจทก์อยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน คำร้องดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยขอประกัน จ. ซึ่งต้องหาว่าออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค ฉ้อโกง... ฟังได้ว่าจำเลยเจตนาประกันตัวผู้ต้องหาในความผิดฐานฉ้อโกงด้วย เมื่อโจทก์พิจารณาคำร้องขอประกันของจำเลยและอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา จำเลยจะอ้างว่าประกันผู้ต้องหาเฉพาะความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากใช้เช็คฯ ซึ่งระบุไว้ในสัญญาประกันและจะเรียกหลักประกันเกิน 1 ใน 3 ของจำนวนเงินตามเช็คหาได้ไม่ เมื่อการกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การที่โจทก์ใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันเป็นเงิน 975,000 บาท อันเป็นการพิจารณาให้ประกันในความผิดฐานฉ้อโกงที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ซึ่งไม่เกิน 3 ใน 4 ของจำนวนเงิน 1,300,000 บาท ที่ผู้เสียหายถูกผู้ต้องหาฉ้อโกงไปตามหลักเกณฑ์ จึงชอบแล้ว สัญญาประกันไม่เป็นโมฆะ
แม้จำเลยจะอยู่กับครอบครัวที่บ้านเลขที่ 44/16 แต่บ้านเลขที่ 62/2 ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคฯ ซึ่งจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าไปอยู่เพื่อสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี 2529 จนบัดนี้ยังไม่แจ้งย้ายไปอยู่แห่งใหม่ โดยจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ 62/2 ในวันเสาร์ อาทิตย์และจันทร์ ที่ทำการพรรคดังกล่าวเป็นที่ทำการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคฯ มีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนประจำอยู่ กับจำเลยได้แจ้งที่อยู่ให้พนักงานสอบสวนว่าเป็นที่อยู่สะดวกแก่การติดต่อดังนี้ บ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นทั้งภูมิลำเนาและเป็นหลักแหล่งที่ทำการตามปกติของจำเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์โดยส่งไปยังบ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นการส่งตามภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว เมื่อมีผู้รับหนังสือแทนโดยชอบและจำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด จำเลยจึงผิดสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก นั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทันทีที่จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด แต่การที่จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดเป็นเพียงก่อให้เกิดหนี้ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในเงินค่าปรับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้จำเลยชำระหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา ความผิดฐานฉ้อโกงและตาม พ.ร.บ. เช็ค การผิดสัญญาและดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารโดยมีร้อยตำรวจเอก อ. เป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลย ร้อยตำรวจเอก อ. จึงมิได้กระทำในฐานะส่วนตัว เมื่อจำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาแก่โจทก์ตามกำหนดนัด แม้ร้อยตำรวจเอก อ. ยังเป็นพนักงานสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารแต่เมื่อพันตำรวจเอก ธ. เป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 จึงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยอยู่กับครอบครัวที่บ้านเลขที่ 44/16 ส่วนบ้านเลขที่ 62/2 เป็นที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์เขต 10 ท้องที่อำเภอปากพนัง ซึ่งจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าไปอยู่เพื่อสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี 2529 จนบัดนี้ยังไม่แจ้งย้ายไปอยู่แห่งใหม่ โดยจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ 62/2 ในวันเสาร์ อาทิตย์ และจันทร์ ที่ทำการพรรคดังกล่าวเป็นที่ทำการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคฯ มีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนประจำอยู่ จำเลยได้แจ้งที่อยู่ดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นที่อยู่ที่สะดวกแก่การติดต่อ ดังนี้ บ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นทั้งภูมิลำเนาและเป็นหลักแหล่งที่ทำการตามปกติของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยส่งตัวผู้ต้องหาแก่โจทก์ โดยส่งไปยังบ้านเลขที่ 62/2 จึงเป็นการส่งตามภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว เมื่อมีผู้รับหนังสือแทนโดยชอบ จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด จำเลยจึงผิดสัญญา
ขณะทำสัญญาจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและใช้ตำแหน่งดังกล่าวประกันผู้ต้องหา ระบุในสัญญาประกันว่าที่อยู่ของจำเลยอยู่ที่อาคารรัฐสภา กับแสดงบัตรประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจำเลยแก่โจทก์ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำหนังสือรับรอง จึงถือว่าจำเลยได้เลือกเอาอาคารรัฐสภาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยใช้สำหรับการติดต่อกับโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 42 การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่าปรับแก่โจทก์ โดยส่งไปที่อาคารรัฐสภาและบ้านเลขที่ 62/2 โดยมีผู้รับไว้แทน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยได้ชื่อว่าผิดนัด ต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์
หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทันทีที่จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด แต่การที่จำเลยไม่ส่งผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดเป็นเพียงก่อให้เกิดหนี้ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในเงินค่าปรับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้จำเลยชำระหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรก เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินมาชำระในวันที่ 30 มกราคม 2542 แล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2542

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา, การจัดการมรดก, ไวยาวัจกรมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
พระภิกษุ พ. มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัดหัวป่าและวัดผู้คัดค้าน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น จึงต้องถือว่าวัดหัวป่าเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุเพิ่มแห่งหนึ่งด้วย ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดภูมิลำเนาของพระภิกษุเพื่อการจัดการมรดก และสิทธิของพนักงานอัยการในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
พระภิกษุ พ. มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัด ห. และวัดผู้คัดค้าน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น จึงต้องถือว่าวัด ห. เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ พ. อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อพระภิกษุ พ. มีทรัพย์มรดกและมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประกาศขายทอดตลาดที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร์ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ร้องอ้างว่าไม่ใช่ที่อยู่จริง
ผู้ร้องเบิกความเป็นพยานในสำนวนร้องขัดทรัพย์สำนวนแรกว่า มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า สำนวนที่สองว่า มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า และจากแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ว่าผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวทั้งสองแห่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดให้ผู้ร้องทราบ ณ บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 5 ตำบลไสหร้า ถือว่าได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ผู้ร้องทราบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาเดิมที่ไม่ใช่ปัจจุบัน แม้ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัด
จำเลยเคยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 213 จังหวัดชลบุรี ตามฟ้องและจำเลยมีที่อยู่ทางทะเบียน ณ บ้านดังกล่าวตลอดมา การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์ ส่งได้โดยวิธีปิดหมายไว้ ณ บ้านดังกล่าว แต่จำเลยไม่ได้อยู่อาศัยที่บ้านหลังนี้มากกว่า 10 ปีแล้ว โดยไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 518/136 กับ บ้านเลขที่ 81/6 และไป ๆ มา ๆ ระหว่างบ้าน 2 หลังนี้โดยไม่ได้กลับไปที่บ้านเลขที่ 213 อีกเลย แต่ยังมิได้ย้ายทะเบียนออกจากบ้านหลังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ดังนี้ แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายไว้ ณ บ้านเลขที่ 213 ดังกล่าว จะเป็นการส่งโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาว่าการส่งหมายเป็นไปโดยชอบหรือไม่กับปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ และจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องนี้ จึงไม่อาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง และความสำคัญของกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ทั้งตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับรองก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง 3 วัน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีที่อยู่บ้านเลขที่ดังกล่าว การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามคำสั่งของศาลแรงงานกลางก็มีบุคคลเดียวกับบุคคลที่เคยรับหนังสือทวงถามไว้แทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้แทน น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 2 จริง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ามีภูมิลำเนาแห่งอื่นอีก หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 2 มีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง โดยมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ และการฟ้องคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการพิสูจน์เอกสารรับสภาพหนี้
จำเลยอ้างว่ามีที่อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ตามสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่ศาลไปส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์ หมายนัดฟังคำพิพากษา และอื่น ๆให้แก่จำเลยที่บ้านในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าคนข้างบ้าน บุตรสาว และคนในบ้านของจำเลยแจ้งว่าจำเลยไปธุระต่างจังหวัดบ้าง ไปธุระนอกบ้านบ้างทุกครั้งแสดงว่าจำเลยอยู่ที่บ้านที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบกับบ้านที่จังหวัดนครสวรรค์นั้นถูกรื้อไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยเองว่า จำเลยอาศัยอยู่ที่บ้านของพี่สาวเมื่อเดินทางไปที่จังหวัดนครสวรรค์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่สองแห่ง คือที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งถือว่าทั้งสองแห่งนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 ฉะนั้น ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)
of 19