คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 38

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8218/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา, การส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์, และการฟ้องคดีที่เกินกำหนดเวลา
ตามสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 144 ถนนราชเสียงแสน ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่าโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของบ้านตั้งแต่ปี 2509 ตลอดมา ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 29ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์อยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้นแต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานข้างต้นได้กลับปรากฎว่าโจทก์ยอมรับว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ส่งไปที่บ้านภรรยาเดิมของโจทก์ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อโจทก์เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์จึงทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีถือว่าบ้านดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ ดังนั้น ถึงแม้จะรับฟังว่า โจทก์มีที่อยู่และที่ทำงานที่บ้านเลขที่ 542/94ถึง 97 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร อีกแห่งหนึ่งก็ดี ต้องถือว่าโจทก์มีถิ่นที่อยู่2 แห่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 ดังนั้นบ้านเลขที่ 144 ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของโจทก์ตามกฎหมาย การที่จะเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่โจทก์อ้าง โจทก์จะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าเลือกเอาบ้านเลขที่ 542/94 ถึง97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์แสดงเจตนาชัดแจ้งเช่นที่กล่าว จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ อีกทั้งปรากฎตามคำรับรองตอนท้ายคำอุทธรณ์รายนี้ของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าอุทธรณ์ฉบับนี้ โจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสนตำบลหายยา อำเภอเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เรียงและโจทก์ผู้อุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง ผู้พิมพ์ไว้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีการส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปถึงโจทก์ตามภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 144 จึงเป็นการส่งไปยังผู้อุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่ง ประมวลรัษฎากรแล้ว การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีนี้เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีต้องบังคับตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และ มาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ โดยข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับกสท. ถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือ 573.1บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับ เช่น พ่อ แม่พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน ผู้อาศัย คนรับใช้เป็นต้น" เท่านั้น หาได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับไว้ไม่เมื่อจำเลยได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และผู้แทนของผู้รับซึ่งอยู่ในบ้านโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 กรณีเช่นนี้ตามไปรษณีย์นิเทศฉบับดังกล่าว ข้อ 575 ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย จึงถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์รายนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จึงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8218/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา, การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์, และกำหนดระยะเวลาฟ้องร้องคดีภาษีอากร
ตามสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสน ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าบ้านตั้งแต่ปี 2509 ตลอดมา ซึ่งตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา29 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์อยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้น แต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานข้างต้นได้ กลับปรากฏว่าโจทก์ยอมรับว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ส่งไปที่บ้านภรรยาเดิมของโจทก์ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อโจทก์เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์จึงทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีถือว่าบ้านดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ ดังนั้น ถึงแม้จะรับฟังว่า โจทก์มีที่อยู่และที่ทำงานที่บ้านเลขที่ 542/94ถึง 97 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร อีกแห่งหนึ่งก็ดี ต้องถือว่าโจทก์มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 ดังนั้น บ้านเลขที่144 ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของโจทก์ตามกฎหมาย
การที่จะเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่โจทก์อ้าง โจทก์จะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าเลือกเอาบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาชัดแจ้งเช่นที่กล่าว จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ อีกทั้งปรากฏตามคำรับรองตอนท้ายคำอุทธรณ์รายนี้ของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า อุทธรณ์ฉบับนี้ โจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสน ตำบลหายยาอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เรียง และโจทก์ผู้อุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง/ผู้พิมพ์ไว้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีการส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปถึงโจทก์ตามภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 144 จึงเป็นการส่งไปยังผู้อุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีนี้เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีต้องบังคับตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ โดยข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับกสท. ถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือ 573.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน ผู้อาศัย คนรับใช้เป็นต้น" เท่านั้น หาได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับไว้ไม่ เมื่อจำเลยได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และผู้แทนของผู้รับซึ่งอยู่ในบ้านโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 กรณีเช่นนี้ตามไปรษณีย์นิเทศฉบับดังกล่าวข้อ 575 ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย จึงถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์รายนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จึงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, ภูมิลำเนา, อายุความหนี้จากการรับทำงานและชำระหนี้แทนลูกหนี้, ลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี แห่งหนึ่ง และเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่ 40 ดังกล่าวไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 355 หมู่ที่ 3แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่355 ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี แห่งหนึ่งและยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ใด และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งย้ายออกไป หรือขอให้ทางราชการแก้ไขจำหน่ายชื่อออก แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะย้ายภูมิลำเนาออกจากบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดปราจีนบุรี ถือได้ว่าบ้านเลขที่ 100 ดังกล่าวตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1อีกแห่งหนึ่งด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการออกบัตรซื้อของเชื่อให้แก่สมาชิกผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปได้จากสถานประกอบการต่าง ๆ ในเครือห้างของบริษัททั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญายอมรับบัตรซื้อของเชื่อนั้นเพื่อขายสินค้าและบริการโดยโจทก์จะชำระเงินแทนแล้วโจทก์มาเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ในภายหลัง ในการออกบัตรนี้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อปรากฏว่าการให้บริการของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7) เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกบัตร จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเสริม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว เช่นกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการยกเว้นข้อพิพาท
จำเลยยังไม่ได้ขายกิจการขายกิจการร้านข้าวต้มที่บ้านเลขที่39-41ถนนสุระสงครามตำบลท่าหินอำเภอเมืองลบบุรีจังหวัดลพบุรีแก่บุคคลใดแต่ยังเป็นกิจการของจำเลยอยู่และในการขอเปิดบัญชีเดินสะพัดต่อธนาคารจำเลยก็ระบุบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของจำเลยแม้จำเลยจะพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่24/2หมู่ที่2ตำบลท่าศาลาอำเภอเมืองลพบุรี อีกแห่งหนึ่งก็ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา38การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่บ้านเลขที่39-41ซึ่งเป็นร้านข้าวต้มดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังภูมิลำเนาของจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดจึงถือได้ว่าจำเลยจึงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยฎีกาว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการเล่นการพนันจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้มีชื่อซึ่งรับเช็คพิพาทจากจำเลยได้เสียการพนันสลากกินรวบแก่จำเลยเป็นเงิน120,000บาทหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเหลือเพียง80,000บาทแต่ผู้มีชื่อไม่ยอมนำเช็คพิพาทมาแลกเช็คใหม่กับจำเลยและกลับโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์อันเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยนั้น เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/คำฟ้องไปยังภูมิลำเนาที่ไม่ถูกต้อง และผลกระทบต่อการขาดนัดยื่นคำให้การ/พิจารณาคดี
จำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2 ได้ย้ายไปอยู่ ณ ที่บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 8 ตำบลเชียงรากน้อยอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองได้ระบุภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไว้ตรงกับหลักฐานทางทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และหลักฐานทางทะเบียนบ้าน โดยมิได้ระบุภูมิลำเนาเลขที่ 65 ดังกล่าวไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกัน ทั้งที่จำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่ 2 ได้ย้ายไปอยู่ ณ บ้านเลขที่65 นั้นแล้ว แต่ก็มิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ดังนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนา 2แห่ง คือตามที่ได้จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ได้ประกอบกิจการแท้จริง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย ถือว่ามีภูมิลำเนา ณภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ระบุในทะเบียนบ้าน ถือว่าจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนา 2 แห่ง คือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1ประกอบกิจการแท้จริง เมื่อจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 4ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นภูมิลำเนาในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้เลือกเอาบ้านเลขที่ 34/1 ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาสำหรับการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันกับโจทก์การที่เจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 34/1 จึงเป็นการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง หมายนัดและคำบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าว และจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ดังนี้แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10132/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาที่ไม่ถูกต้องและการไม่ทราบถึงการถูกฟ้องเป็นเหตุให้ไม่ถือว่าจงใจขาดนัด
จำเลยที่1ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2ได้ย้ายไปอยู่ณที่บ้านเลขที่65หมู่ที่8ตำบลเชียงรากน้อยอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ปีพ.ศ.2531แต่ขณะที่จำเลยที่1ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์และจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสองได้ระบุภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไว้ตรงกับหลักฐานทางทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและหลักฐานทางทะเบียนบ้านโดยมิได้ระบุภูมิลำเนาเลขที่65ดังกล่าวไว้ในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันทั้งที่จำเลยที่1ได้ย้ายไปประกอบกิจการและจำเลยที่2ได้ย้ายไปอยู่ณบ้านเลขที่65นั้นแล้วแต่ก็มิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1ดังนี้ถือว่าจำเลยที่1มีภูมิลำเนา2แห่งคือตามที่ได้จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ได้ประกอบกิจการแท้จริงส่วนจำเลยที่2ซึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ด้วยถือว่ามีภูมิลำเนาณภูมิลำเนาของจำเลยที่1ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่ระบุในทะเบียนบ้านถือว่าจำเลยที่2มีภูมิลำเนา2แห่งคือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1และที่จำเลยที่1ประกอบกิจการแท้จริง เมื่อจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่34/1หมู่ที่4ตำบลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเป็นภูมิลำเนาในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้เลือกเอาบ้านเลขที่34/1ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาสำหรับการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันกับโจทก์การที่เจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่34/1จึงเป็นการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องหมายนัดและคำบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องดังนี้แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาและการมีเจตนาเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่เพื่อประโยชน์ในการฟ้องคดีล้มละลาย
ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่64/1หมู่ที่3แขวงบางแคเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครมีจำเลยและบุตรอีก2คนพักอาศัยอยู่ด้วยแต่จำเลยแจ้งย้ายออกเพียง2คนโดยแจ้งว่าย้ายเข้าบ้านเลขที่30หมู่ที่1ตำบลท่าตุ้มอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนแต่มิได้ย้ายบุตรทั้งสองไปด้วยและแทนที่จะย้ายเข้าที่บ้านเลขที่30หมู่ที่1ตำบลท่าตุ้มอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนกลับย้ายเข้าที่บ้านเลขที่22หมู่1ตำบลท่าตุ้มอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนคนละแห่งกันกับที่แจ้งย้ายเข้าและเพียงเดือนเศษก็แจ้งย้ายออกไปเข้าที่บ้านเลขที่21หมู่ที่4ตำบลท่าพักอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีแต่ก็มิได้ย้ายเข้าบ้านเลขที่ดังกล่าวตามที่ได้แจ้งไว้แต่อย่างใดแสดงว่าการที่จำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากภูมิลำเนาเดิมที่กรุงเทพมหานครไปยังที่ต่างๆดังกล่าวก็เพียงเพื่อมิให้โจทก์ติดตามสืบหาที่อยู่ได้เท่านั้นโดยจำเลยไม่ได้เข้าพักอาศัยไม่ได้ย้ายบุตรไปด้วยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใดดังนั้นแม้จำเลยได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านเลขที่ตามฟ้องซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นก็จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหาได้ไม่ต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาครั้งสุดท้ายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครศาลจังหวัดลำพูนจึงไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้พิจารณาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านโดยไม่มีเจตนาอยู่อาศัยจริง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนภูมิลำเนา
ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางแค เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีจำเลยและบุตรอีก 2 คน พักอาศัยอยู่ด้วย แต่จำเลยแจ้งย้ายออกเพียง 2 คน โดยแจ้งว่าย้ายเข้าบ้านเลขที่ 30หมู่ที่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน แต่มิได้ย้ายบุตรทั้งสองไปด้วยและแทนที่จะย้ายเข้าที่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กลับย้ายเข้าที่บ้านเลขที่ 22 หมู่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน คนละแห่งกันกับที่แจ้งย้ายเข้า และเพียงเดือนเศษก็แจ้งย้ายออกไปเข้าที่บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าพัก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แต่ก็มิได้ย้ายเข้าบ้านเลขที่ดังกล่าวตามที่ได้แจ้งไว้แต่อย่างใด แสดงว่าการที่จำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากภูมิลำเนาเดิมที่กรุงเทพมหานครไปยังที่ต่าง ๆ ดังกล่าวก็เพียงเพื่อมิให้โจทก์ติดตามสืบหาที่อยู่ได้เท่านั้น โดยจำเลยไม่ได้เข้าพักอาศัยไม่ได้ย้ายบุตรไปด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านเลขที่ตามฟ้องซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นก็จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาครั้งสุดท้ายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ศาลจังหวัดลำพูนจึงไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การต้องพิจารณาการได้รับหมายเรียกโดยชอบและการจงใจขาดนัด
การขาดนัดยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรกย่อมขึ้นอยู่กับว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้วหรือไม่ด้วย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้ว อันมีผลให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงตรงประเด็นแล้ว จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องที่จำเลยอ้างว่าจำเลยย้ายไปอยู่ที่อื่นแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านออกไป ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หรือหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยจึงเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรประการอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: การส่งหมายเรียกโดยชอบ และการมีภูมิลำเนาหลายแห่ง
การขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคแรกย่อมขึ้นอยู่กับว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้วหรือไม่ด้วย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้ว อันมีผลให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงตรงประเด็นแล้ว
จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องที่จำเลยอ้างว่าจำเลยย้ายไปอยู่ที่อื่นแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านออกไป ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หรือหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลย เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยจึงเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรประการอื่น
of 19