คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 219

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าจากการใช้อาวุธปืนยิงผู้อื่น ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.ม. 371 ลงโทษปรับ 60 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ม.8 ทวิ วรรคสองและ 72 ทวิ วรรคสอง อีกบทหนึ่ง และให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มี โทษหนักที่สุด แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังคงลงโทษปรับจำเลย 60 บาท ซึ่งเป็นโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท และไม่ใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ผู้เสียหายที่ 3 และ ท. เบิกความตอบโจทก์ แต่ไม่ได้เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลย ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ ตาม ป.วิ.อ. ม.226 ประกอบกับในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยเป็รผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสาม
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นอันเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงและใช้ทำอันตรายให้ถึงแก่ความตายได้ยิงผู้เสียหายทั้งสามกับพวกในระยะใกล้ และกระสุนปีนถูกผู้เสียหายทั้งสามบรเวณลำคอ อก คาง ใบหน้า และต้นแขน ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า หาใช่เพียงเจตนาทำร้าย เมื่อผู้เสียหายทั้งสามไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ เพราะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยว่าฝ่ายผู้เสียหายทั้งสามได้ข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม แล้วจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสามในขณะนั้นตาม ป.อ.ม.72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายและการชำระหนี้ เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานผิดสัญญา โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลรับคำให้การโดยไม่ไต่สวนหรือให้โอกาสคัดค้าน ศาลอุทธรณ์สั่งว่า แม้คำสั่งศาลแพ่งจะชอบหรือไม่ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียหาย ไม่จำต้องมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โจทก์เถียงมาในฎีกาว่าโจทก์เสียหาย เพราะโจทก์ลงทุนไปเกินกว่า 100,000 บาท จึงเป็นฎีกาไม่ตรงกับเรื่อง เพราะศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่เสียหายในกระบวนพิจารณา
ข้อที่ว่าพยานจำเลยมิได้รับรองสำเนาเอกสาร จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าไม่มีผู้ใดรับรองสำเนาจึงตกไป
จำเลยไม่ต้องรับผิดในการที่เทศบาลไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างในที่ที่จำเลยยอมให้โจทก์ทำการปลูกสร้าง
จำเลยขายที่ดินที่ยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างภายหลังจากที่ต้องระงับการก่อสร้างเพราะไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล จึงเป็นพฤติการณ์ภายหลังที่การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุที่จำเลยไม่ต้องรับผิดไปแล้ว ไม่เป็นเหตุที่โจทก์จะอ้างขึ้นให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาอีกได้
โจทก์กล่าวฟ้องอ้างเหตุให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยผิดสัญญาไม่รื้อห้องแถว เป็นเหตุให้โจทก์ก่อสร้างไม่ได้และเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น หาได้อ้างเหตุให้จำเลยต้องใช้เบี้ยปรับเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่ได้โดยพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาข้ออื่น จึงไม่มีประเด็นที่จะยกขึ้นให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อนี้
แม้ตามสัญญาแบ่งการชำระเงินเป็นงวด ๆ ก็จริง แต่ก็มิได้มีอะไรที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการชำระหนี้ตอบแทนกันเป็นส่วน ๆ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วน จำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินที่จำเลยรับไปเป็นค่าตอบแทนจากโจทก์ เมื่อได้รับมาแล้วก็ต้องคืนให้โจทก์ไป มิใช่สิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนจะระงับไปพร้อมกับสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องในคดีอาญา: การขอแก้สถานที่เกิดเหตุเป็นรายละเอียดที่ทำได้หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้
การขอแก้สถานที่เกิดเหตุนั้น ถือว่าเป็นการขอแก้รายละเอียด ถ้าจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้แล้วโจทก์ย่อมขอแก้ได้
การที่จำเลยเสียเปรียบในการแก้ฟ้องหรือไม่ในการดำเนินการพิจารณาในท้องสำนวนนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แต่ถ้าศาลล่างตีความโดยอาศัยแต่ฉะเพาะตัวบทในวิธีพิจารณาอย่างเดียวย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย