คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 74 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับที่มิชอบและการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ที่ล่าช้า ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) หากการส่งคำบังคบให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง(เดิม)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงยังไม่เริ่มนับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับที่มิชอบและการนับระยะเวลาคำร้องขอพิจารณาใหม่ ผู้รับต้องอยู่ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
ป.วิ.พ.มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 (2) หากการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) แห่ง ป.วิ.พ. จึงยังไม่เริ่มนับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ชอบด้วยกฎหมายและการขาดนัดพิจารณาที่มีผลต่อการดำเนินคดีกับจำเลยร่วม
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดที่แสดงว่าจำเลยที่ 7 ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว ศาลชั้นต้นควรจะต้องจัดส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 7 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 อีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งให้ปิดประกาศแจ้งนัดวันสืบพยานโจทก์ครั้งที่ 3 ให้จำเลยที่ 7 ทราบหน้าศาลเพียงอย่างเดียว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 7 ทราบนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว หาได้ไม่ และการที่จำเลยที่ 7 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการสั่งโดย ผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้ระบุว่าชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 7 ในฐานะ ผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ขอรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ดังนี้ มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดตามฟ้องโจทก์จึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้จำเลยผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฎเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีก็หาอาจพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการ ขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7 ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีแรงงาน จำเลยมีสิทธิขอพิจารณาใหม่ได้ แม้พ้นกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
กรณีศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา แล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและออกหมายเรียก ให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกแล้ว ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ แต่การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด และพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ซึ่งจำเลย มีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ที่ศาลแรงงานส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านเลขที่อื่นตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นคำฟ้อง หากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่คัดค้านการแจ้งโดยหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้งในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลยเจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมาย และในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลยณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่าการแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้องทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณ ภูมิลำเนาใหม่ของจำเลยพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประกาศขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่โต้แย้งการแจ้งทางหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้ง ในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลย เจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์ จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมายและในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174 อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลย ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 (2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่า การแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้อง ทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณภูมิลำเนาใหม่ของจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่เหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก ณ สำนักทำการงานของจำเลย: ฉางเก็บข้าวเปลือกเป็นสำนักทำการงานได้
จำเลยให้โจทก์เช่าฉางเก็บข้าวเปลือกโดยรับข้าวเปลือกจากโจทก์ ณ ฉาง เมื่อพนักงานของโจทก์สั่งจ่ายข้าวเปลือก จำเลยหรือผู้แทนของจำเลยก็ทำการจ่ายข้าวเปลือก ณ ฉางนั้นตลอดมาฉางของจำเลยจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลยด้วย การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดแก่จำเลย ณ ฉาง ดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก ณ สำนักทำการงานของจำเลย: ฉางเก็บข้าวเปลือก
จำเลยให้โจทก์เช่าฉางเก็บข้าวเปลือกโดยรับข้าวเปลือกจากโจทก์ ณ ฉาง เมื่อพนักงานของโจทก์สั่งจ่ายข้าวเปลือก จำเลยหรือผู้แทนของจำเลยก็ทำการจ่ายข้าวเปลือก ณ ฉางนั้นตลอดมา ฉางของจำเลยจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลยด้วย การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดแก่จำเลย ณ ฉาง ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ การส่งหมายและการแสดงเจตนาแทนคู่ความ ศาลมีอำนาจแก้ไขหรือเพิกถอนได้
แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์แล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ทราบว่าตนถูกฟ้อง และจำเลยที่ 3 ได้ยักยอกลายมือชื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ลงในกระดาษเปล่ามากรอกข้อความเอาเองว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจผิดว่าเป็นใบมอบอำนาจที่แท้จริงและได้พิพากษาไปตามยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 3 ได้แสดงเจตนาแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งได้รับความเสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบก็ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายไปยังสำนักทำการงานของหุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ที่สำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 1ซึ่งระบุไว้ในหนังสือรับรองนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทถือว่าเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2ที่สำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา ทั้งทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังขาดนัดพิจารณา ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้
of 3