คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน, การรุกล้ำ, การใช้สิทธิในที่ดินของผู้อื่น, การสร้างสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจากส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้นไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่14373ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมาดังนั้นแม้ส. จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้างโจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง10ปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทการที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตามแต่ขณะนั้นที่ดินของถ. ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดินเมื่อถ. ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่2จำเลยที่2ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่2เองมิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์การกระทำของจำเลยที่2เป็นเรื่องที่จำเลยที่2กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่2เองเป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่2โดยตรงมิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์จะขอให้จำเลยที่2รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาทหากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา1312วรรคแรกคือโจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่2เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่2แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้นกรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่1ทำให้จำเลยที่1ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เป็นพับจึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้นเป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน การรุกล้ำ และสิทธิใช้ประโยชน์เหนือที่ดินของผู้อื่น
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจากส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้นไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่14373ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมาดังนั้นแม้ส.จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้างโจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง10ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทการที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตามแต่ขณะนั้นที่ดินของถ.ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดินเมื่อถ.ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่2จำเลยที่2ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่2เองมิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์การกระทำของจำเลยที่2เป็นเรื่องที่จำเลยที่2กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่2เองเป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่2โดยตรงมิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์จะขอให้จำเลยที่2รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312วรรคแรกเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาทหากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในทีดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา1312วรรคแรกคือโจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่2เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่2แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้นกรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่1ทำให้จำเลยที่1ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นพับจึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้นเป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน การรุกล้ำ และสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจาก ส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้นไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของ ส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 14373 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ดังนั้นแม้ ส.จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท การที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตาม แต่ขณะนั้นที่ดินของ ถ.ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดิน เมื่อ ถ.ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่ 2 เอง มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่ 2 เองเป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่ 2โดยตรง มิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะขอให้จำเลยที่ 2รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในทีดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก คือ โจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 2 เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้ แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้น กรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่จึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นพับ จึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้น เป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน, การรุกล้ำ, แดนกรรมสิทธิ์, และค่าทดแทนการใช้ที่ดิน
โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวมาจาก ส. แต่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการขายเฉพาะที่ดินและตึกแถวเท่านั้น ไม่ได้ขายสิทธิอื่นใดของ ส. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 14373 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ดังนั้นแม้ ส. จะได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาดังที่โจทก์อ้าง โจทก์ก็ไม่อาจนำเอาระยะเวลาที่ ส. ครอบครองมานับรวมด้วยได้ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ซื้อมายังไม่ถึง 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท การที่จะมีผู้ใดก่อสร้างกำแพงในที่พิพาทก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
แม้โจทก์จะเคยได้รับความสะดวกจากการที่ได้เปิดหน้าต่างรับลมมาแต่แรกก็ตาม แต่ขณะนั้นที่ดินของ ถ. ยังไม่ได้ปลูกสร้างสิ่งใดในที่ดินเมื่อ ถ. ได้ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของจำเลยที่ 2 เอง มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินหรือตึกแถวของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 กระทำลงในที่ดินของจำเลยที่ 2 เอง เป็นการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยตรง มิใช่เป็นเรื่องจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะขอให้จำเลยที่ 2 รื้อสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรกเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้เป็นผู้สร้างตึกแถวพิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก คือโจทก์มีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่ 2 เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้ แต่โจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนในการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้บังคับเช่นนั้น กรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ระบุไว้ในคำพิพากษาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายควรให้โจทก์รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นพับจึงเป็นการคลาดเคลื่อนนั้น เป็นฎีกาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียวโดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งทอดสุดท้ายต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้า แม้จะอ้างเฮกรูลส์ไม่ได้ และอายุความยังไม่ครบกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้วและฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่างๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้าติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอดเป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทยประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้นหากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่3พฤษภาคม2532อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้นปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่3พฤษภาคม2532ในสภาพเรียบร้อยผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่3พฤษภาคม2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งทอดสุดท้าย และอายุความตามสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้ายร่วมกับผู้รับขนทางเรือจากต่างประเทศ จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเฮกรูลส์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีเฮกรูลส์ซึ่งประเทศไทยนำมาใช้จนเป็นประเพณีแล้ว และฟังไม่ได้ว่ามีการระบุดังกล่าวไว้ด้านหลังใบตราส่งกรณีจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการรับขนสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศ ได้ติดต่อทำพิธีศุลกากรและเอกสารต่าง ๆรวมทั้งการให้มีการขนถ่ายสินค้า ติดต่อกับกรมเจ้าท่าให้มีเรือนำร่องเรือมาที่ท่าและทำการจองท่าเรือเพื่อให้เรือเข้าจอด เป็นผู้ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองขออนุญาตให้ลูกเรือเข้าประเทศไทย ประกาศหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับตารางเรือเทียบท่าเพื่อให้ผู้รับตราส่งมาติดต่อเพื่อทำการขนถ่ายสินค้ามีหน้าที่ออกใบปล่อยสินค้าโดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการดำเนินการนั้น หากไม่มีจำเลยช่วยดำเนินการแล้วสินค้าก็ลงจากเรือและส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าไม่ได้ นอกจากนั้นจำเลยเองก็มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าโดยทางทะเลทั้งในและนอกประเทศจำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นผู้รับช่วงการขนส่งทอดสุดท้าย
จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงถือได้ว่าผู้ขนส่งสินค้าส่งมอบสินค้าแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวนั้น ปรากฏว่าจำเลยให้การว่าเมื่อขนส่งมอบสินค้าแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยในวันที่ 3พฤษภาคม 2532 ในสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งจึงพ้นความรับผิดตามสัญญารับขนคดีนี้จำเลยให้การเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา624 ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าอายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2532จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายหรือเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยเป็นผู้แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าให้แก่ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้าจากจำเลยเพื่อนำไปขอรับสินค้าจากเรือและเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการกับเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรกรมเจ้าทากองตรวจคนเข้าเมืองและการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อการนำเรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่าและมีสิทธิเรียกเก็บค่าระวางและค่าบริการที่ชำระปลายทางได้โดยได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในการขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608และ618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลเมื่อสินค้าที่ได้รับมอบหมายสูญหายหรือบุบสลายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการตรวจสภาพเรือและการรับรองของผู้เอาประกันภัย
สัญญาประกันภัยทางทะเลที่ทำขึ้นนั้น เมื่อประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณี จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4เมื่อกรมธรรม์ทำเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายของอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไป ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความให้ผู้เอาประกันภัยนำเรือไปตรวจสภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ซ่อมแซมเรือ ตามกฎหมายอังกฤษข้อความดังกล่าวเป็นคำรับรองของผู้เอาประกันภัย เป็นคำมั่นสัญญาที่ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และไม่จำต้องมีข้อความต่อท้ายว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติแล้วผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นความรับผิด ผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก่อนนำเรือออกทะเล เมื่อเรืออับปางที่ต่างประเทศ ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดการที่บริษัทรับประกันภัยต่อได้จ่ายเงินให้จำเลยในรูปสินไหมกรุณา ซึ่งเป็นเงินที่ผู้รับประกันภัยจ่ายให้แม้จะมีความเห็นว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจเข้ารับช่วงทรัพย์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: การไม่ปฏิบัติตามคำรับรองในกรมธรรม์ ทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า น. จดทะเบียนจำนองเรือพิพาทเป็นประกันหนี้ที่บุคคลต่าง ๆ มีต่อโจทก์ ส่วนจำเลยได้รับประกันภัยเรือพิพาทจากผู้รับโอนกรรมสิทธิ์เรือ เรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุไม่สามารถใช้การได้ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ได้รับประกันภัยแก่โจทก์ แต่จำเลยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยทำให้โจทก์ไม่มีหลักประกันที่จะบังคับชำระหนี้ได้อีกต่อไปจึงขอให้บังคับเอาเงินประกันภัย เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายในเรื่องช่วงทรัพย์ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าไร และหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาแก่บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สัญญาประกันภัยทางทะเลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 868 ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล แต่กฎหมายทะเลของประเทศไทยยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความเป็นคำรับรอง(Warranty) ของผู้เอาประกันภัยว่า เรือพิพาทจะได้รับการตรวจสภาพและจะปฏิบัติตามคำแนะนำภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มคุ้มครองจึงเป็นคำมั่นสัญญาของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดตาม พระราชบัญญัติ ประกันภัยทางทะเล 1906 ของประเทศอังกฤษมาตรา 33 เมื่อเรือพิพาทเกิดอุบัติเหตุอับปางซึ่งจะเกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามคำรับรองหรือไม่ก็ตาม การที่ผู้เอาประกันภัยฝ่าฝืนคำรับรองผู้รับประกันภัยย่อมปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า
นอกจากจำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการต่าง ๆ แทนบริษัทผู้ขนส่งที่อยู่ต่างประเทศแล้ว จำเลยยังเป็นผู้จัดการในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงเรือฉลอมแล้วนำเข้ามาที่โรงพักสินค้าเพื่อส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้รับตราส่งอีกด้วย เข้าลักษณะร่วมขนส่งเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายซึ่งต้องร่วมรับผิดในความเสียหายของสินค้าด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาท ทั้งนี้ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตอนใดในระหว่างการขนส่งและจำเลยจะได้เป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายนั้นหรือไม่
of 30