คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสเป็นเงื่อนไขการเป็นคู่สมรสตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
คำว่า คู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 65 วรรคแรก หมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเขตอำนาจศาลในคดีล้มละลาย: ภูมิลำเนาของลูกหนี้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 กำหนดให้ยื่นคำฟ้องคดีล้มละลายต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตส่วนลูกหนี้จะมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใด ต้องถือตามถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 44 ส่วนการเปลี่ยนภูมิลำเนาจะทำได้ด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาปรากฏว่าจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม มาตรา 48เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่าจำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้วแม้ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53จะถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้อง จึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ แม้จะเป็นศาลที่มูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันพระบรมราชโองการห้ามฟ้องร้องที่ดินฮวงซุ้ยและการครอบครองปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินพิพาทให้ ร. โดยมีพระบรมราชโองการให้ใช้ที่ดินเป็นฮวงซุ้ย ฝังศพบุคคลในตระกูลของร. ตลอดไป ไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งละเมิดสิทธิทำลายรื้อถอนสิ่งที่บุคคลในตระกูลของร.ก่อสร้างในที่ดินดังกล่าว และต่อมา ร. ได้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินพิพาทไม่ให้โอนขายจำหน่ายที่ดินดังกล่าว อันเป็นการไม่ประสงค์ให้ที่ดินพิพาทเปลี่ยนมือ โดยมีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรม และมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลของร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรมหากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรม ดังนี้พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช มี ผลเด็ดขาดตามกฎหมายเมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใด อันมีเจตนารมณ์ ยกเลิกเพิกถอน โดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ซึ่งพระบรมราชโองการดังกล่าวมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ที่พิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายหนี้สูญและการหักค่าใช้จ่ายทางภาษี การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและขอบเขตการพิสูจน์
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องพิจารณาตามสภาพของกิจการที่ประกอบอยู่ว่าสมควรจะทำได้เพียงใดหนี้ของโจทก์เกิดจากการขายลดเช็คและทรัสต์รีซีท ลูกหนี้บางรายโจทก์ดำเนินคดีอาญาหรือฟ้องคดีแพ่งบางรายมิได้ฟ้องคดีเนื่องจากหนี้มีจำนวนเล็กน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่ายแต่โจทก์ได้ให้คนติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ปรากฏว่าไม่มีที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ จึงไม่ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีสำหรับรายที่ศาลพิพากษาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จะนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายหลังมาเป็นตัวกำหนดเจตนารมณ์ในการแปล กฎหมายที่ใช้อยู่เดิมเพื่อเป็นการเพิ่มภาระของผู้เสียภาษีย่อมไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจำหน่ายหนี้เหล่านั้นเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์ทำหลักทรัพย์ขาดบัญชีโดยความบกพร่องหรือผิดพลาดในการบริหารงานของโจทก์ ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเป็นหุ้นที่ซื้อจากผู้ใด จำนวนกี่หุ้น เป็นเงินเท่าใด ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่แม้โจทก์จะมีผู้สอบบัญชีอนุญาตตรวจรับรองว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวซื้อหลักทรัพย์มาทดแทนส่วนที่หายไปก็ตาม ไม่ใช่เป็นกรณีจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี(18).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (คอนเดนเซอร์) เพื่อเสียอากร และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการยื่นคำขอตามมาตรา 30
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานจำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์ประกอบขึ้นด้วยกลอุปกรณ์ใด และสามารถผลิตสิ่งใดได้บ้าง ไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต คอนเดนเซอร์จึงมิใช่เครื่องจักรตามพิกัดประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15ข. จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินจากโครงสร้างเดิม: สิทธิใช้ประโยชน์และขอบเขตอำนาจฟ้อง
เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดในที่ดินของตนเอง ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินเป็นแปลง ๆ ทำให้กันสาดของตึกที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม คดีนี้จำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง หากแต่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องนำป.พ.พ. มาตรา 4 มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก คือจำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อกันสาด แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไปแต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น คงฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงไม่อาจบังคับให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยกันสาด: สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้อื่นเมื่อเจ้าของเดิมเป็นผู้สร้าง
เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างตึกพร้อม กันสาด แล้วได้แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ ขาย ทำให้กันสาดที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง จำเลยซื้อตึกซึ่งมีกันสาดอยู่แล้วส่วนโจทก์ซื้อที่ดินในสภาพที่มีกันสาดดังกล่าวรุกล้ำ ดังนี้กันสาดที่รุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ซึ่งเป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้น แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินแก่เจ้าของที่ดินเมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง จึงไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งได้แก่มาตรา1312 วรรคแรก ฉะนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะกันสาดที่รุกล้ำเข้าไปได้ ส่วนโจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อกันสาด คงมีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับในส่วนนี้ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยกันสาด: สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยหลักเทียบบทกฎหมาย
เจ้าของที่ดินเดิม เป็นผู้สร้างตึก พร้อม กันสาด แล้วได้ แบ่งแยกเป็นแปลง ๆ ขาย ทำให้กันสาดที่สร้างในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง จำเลยซื้อ ตึก ซึ่ง มีกันสาดอยู่แล้ว ส่วนโจทก์ซื้อ ที่ดินในสภาพที่มีกันสาดดังกล่าวรุกล้ำดังนี้กันสาดที่รุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1312 ซึ่ง เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนกรรมสิทธิ์โดย บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดย สุจริตมีสิทธิใช้ ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นแต่ ต้อง เสียค่าใช้ ที่ดินแก่เจ้าของที่ดิน เมื่อจำเลยมิได้เป็นผู้สร้าง จึงไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ ต้อง นำ ป.พ.พ.มาตรา 4 มาใช้ บังคับคืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่ง ได้แก่มาตรา 1312 วรรคแรก ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดินของโจทก์เฉพาะ ที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปได้ส่วนโจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อกันสาด คงมีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิที่ดิน แต่ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับในส่วนนี้ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าช่วงและการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์: สิทธิของผู้เช่าช่วงรายใดมีน้ำหนักมากกว่า
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาทได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่กระทรวงการคลังโดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจากกระทรวงการคลังเป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังโดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1อีก ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่า จำเลยที่ 1จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการกรณีดังกล่าวนี้ใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและกระทรวงการคลังให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3 เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากัน ทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่า/โอนสิทธิเรียกร้อง - การเข้าครอบครองก่อนมีผลเหนือการทำสัญญาก่อน
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาท ได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่ กระทรวงการคลัง โดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจาก กระทรวงการคลัง เป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับ กระทรวงการคลัง โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1 อีกซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กรณีดังกล่าวมิใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและ กระทรวงการคลัง ให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากันทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท.
of 30