พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ถือเป็นผู้ร่วมขนส่ง แม้ช่วยเหลือเจ้าของเรือและผู้ขนส่งในการดำเนินการบางส่วน
จำเลยไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ากับบริษัทผู้ขนส่งซึ่ง ได้ ทำการขนส่งสินค้ามาทางเรือ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าจากเรือด้วยการที่จำเลยได้ ดำเนินการติดต่อ กรมเจ้าท่าให้มีการนำร่องเพื่อให้เรือเข้าเทียบท่า และแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองให้ตรวจ ชาว ต่างประเทศที่มากับเรือเป็นผู้ขออนุญาตนำเรือเข้าต่อ กรมศุลกากร รวมทั้งแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบนั้นกิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่เจ้าของเรือและบริษัทผู้ขนส่งจะต้อง กระทำโดย ตนเอง การที่จำเลยได้ กระทำกิจการเหล่านั้นแทนเจ้าของเรือและผู้ขนส่ง ยังไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้เข้าร่วมขนส่งด้วย แม้เมื่อผู้รับตราส่งนำใบตราส่งมายื่น และจำเลยรับใบตราส่งคืนมาแล้วออกใบปล่อยสินค้าให้เพื่อนำไปรับสินค้าจากนายเรือก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในฐานะ ผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม วิธีการขนส่งทางทะเล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางทะเล: การยกเว้นความรับผิดต้องชัดเจนและมีผลผูกพัน
มูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย ไม่อาจนำพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเลค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บังคับเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่ารับขนของทางทะเล ท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติรับขนของทางทะเล ค.ศ. 1936 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เท่ากับเป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625 แม้จะมีตราประทับชื่อของบริษัทผู้ส่งและมีการลงลายมือชื่อไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อเป็นใคร มีอำนาจกระทำแทนบริษัทผู้ส่งอย่างไรหรือไม่อีกทั้งไม่มีข้อความระบุว่าลงลายมือชื่อเพื่อจุดหมายใด อาจเป็นการลงลายมือชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารก็ได้ เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่ง และบริษัทผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากกลิ่นปลา และอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหาย
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยรับขนทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฎว่ามีประเพณีการรับขนของทางทะเลที่ถือปฎิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ซึ่งในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลย ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสินค้ากระดาษทิชชูเช็ดหน้าที่รับขนได้รับความเสียหายมีกลิ่นปลาบดเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานจึงต้องฟังว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้น การเรียกค่าเสียหายกรณีรับขนทางทะเลต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี จะนำอายุความ 1 ปีตามมาตรา 624 มาใช้บังคับโดยถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่ออกใบตราส่ง เมื่อสินค้าส่งออกโดยมิได้เสียภาษี เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ส่งของออกนอกราชอาณาจักรโดยมิได้เสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27เป็นเหตุให้จำเลยผู้ขนส่งไม่อาจออกใบตราส่งให้โจทก์ได้การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ออกใบตราส่งให้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง กรณีส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรโดยมิได้เสียภาษี ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ส่งของออกนอกราชอาณาจักรโดยมิได้เสียภาษีอันเป็นการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 เป็นเหตุให้จำเลยผู้ขนส่งไม่อาจออกใบตราส่งให้โจทก์ได้การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจาก จำเลยไม่ออกใบตราส่งให้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความรับผิดของผู้ขาย กรณีผู้ซื้อยอมตามคำเรียกร้องของเจ้าพนักงาน
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่าต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่เจ้าพนักงานศุลกากรยึดรถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยไปจากโจทก์โดยอ้างอำนาจของกฎหมาย ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจต้องมีความผิดในทางอาญา จึงไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 ความรับผิดของจำเลยผู้ขายรถยนต์ดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับผิดจากการซื้อขาย: การยอมตามบุคคลภายนอกต้องสมัครใจ มิใช่การจำยอมต่อกฎหมาย
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่า ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่เจ้าพนักงานศุลกากรยึดรถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยไปจากโจทก์โดยอ้างอำนาจของกฎหมาย ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจต้องมีความผิดในทางอาญา จึงไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 ความรับผิดของจำเลยผู้ขายรถยนต์ดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา481 แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องคดีรับผิดจากการซื้อขาย: การยอมตามบุคคลภายนอกต้องเป็นความสมัครใจ
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 นั้น มีความหมายว่า ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่เจ้าพนักงานศุลกากรยึดรถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยไปจากโจทก์โดยอ้างอำนาจของกฎหมาย ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมให้ยึดก็อาจต้องมีความผิดในทางอาญา จึงไม่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 ความรับผิดของจำเลยผู้ขายรถยนต์ดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา481 แต่อยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหาย และอายุความในการฟ้องร้องค่าเสียหาย
เรือต้องคลื่นลมแรงและสภาวะอากาศที่เลวร้ายมากในระหว่างทาง เมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นลมและสภาวะอากาศดังกล่าวมีความร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่อาจจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในเรือได้ คลื่นลมและสภาวะอากาศเช่นนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 อันจะทำให้ผู้ขนส่งหลุดพ้นความรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนในประเทศรับผิดแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต่อบุคคลภายนอกก็เฉพาะแต่กรณีที่ตัวแทนผู้นั้นได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนตัวการ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวแต่ลำพังตนเอง
จำเลยเป็นผู้ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือไปเก็บในคลังสินค้า เป็นผู้จัดหาผู้รับเหมามาจัดการขนถ่ายสินค้า เป็นตัวแทนเรือเดินทะเลหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทฟ. ซึ่งไม่มีตัวแทนอื่นในประเทศไทย และหากมีผู้ใดต้องการส่งสินค้าโดยเรือของบริษัท ฟ. จำเลยจะเป็นผู้รับติดต่อและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้า และเก็บค่าระวางเรือส่งไปให้เจ้าของเรือ เมื่อเรือของบริษัทดังกล่าวมาถึงประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า แจ้งให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าทราบถึงกำหนดเรือเข้า ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปขอรับสินค้า และจำเลยรับเอาใบตราส่งจากลูกค้าไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ของจำเลยเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทำหน้าที่ผู้ขนส่งทอดหลังที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดร่วมด้วยในกรณีสินค้าที่ขนส่งสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการรับขนทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 8 เรื่องรับขน.
ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนในประเทศรับผิดแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต่อบุคคลภายนอกก็เฉพาะแต่กรณีที่ตัวแทนผู้นั้นได้ทำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาขนส่งสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนตัวการ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาดังกล่าวแต่ลำพังตนเอง
จำเลยเป็นผู้ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากเรือไปเก็บในคลังสินค้า เป็นผู้จัดหาผู้รับเหมามาจัดการขนถ่ายสินค้า เป็นตัวแทนเรือเดินทะเลหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทฟ. ซึ่งไม่มีตัวแทนอื่นในประเทศไทย และหากมีผู้ใดต้องการส่งสินค้าโดยเรือของบริษัท ฟ. จำเลยจะเป็นผู้รับติดต่อและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้า และเก็บค่าระวางเรือส่งไปให้เจ้าของเรือ เมื่อเรือของบริษัทดังกล่าวมาถึงประเทศไทยจำเลยมีหน้าที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการขนถ่ายสินค้า แจ้งให้ลูกค้าผู้สั่งซื้อสินค้าทราบถึงกำหนดเรือเข้า ออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปขอรับสินค้า และจำเลยรับเอาใบตราส่งจากลูกค้าไว้ พฤติการณ์เช่นนี้ของจำเลยเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยทำหน้าที่ผู้ขนส่งทอดหลังที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดร่วมด้วยในกรณีสินค้าที่ขนส่งสูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการรับขนทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงยิ่งกว่าที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 8 เรื่องรับขน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: การแสดงเจตนาชัดแจ้งของผู้ส่งสินค้า
เมื่อสินค้าพิพาทส่งมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งปรากฏว่าหีบห่อชำรุดเสียหาย 2 หีบ สินค้าสูญหายไป 9 รายการ เช่นนี้มูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับกันตามกฎหมายไทย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคสอง บัญญัติว่า รับขนของทางทะเล ให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่เลย จึงจำเป็นต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. ลักษณะรับขน ในหมวดรับขนของ อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
การที่จำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ด้านหลังใบตราส่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อ แม้ผู้ส่งสินค้าจะลงชื่อไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว แต่ก็ลงชื่อด้วยตัวอักษรโตกว่าข้อกำหนดต่าง ๆ มากทั้งลงชื่อทับข้อกำหนดต่าง ๆ ด้วยน่าจะเป็นการลงชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารมากกว่า ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ส่งและผู้รับตราส่งซึ่งรับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4(5) แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ด้านหลังใบตราส่งเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อ แม้ผู้ส่งสินค้าจะลงชื่อไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว แต่ก็ลงชื่อด้วยตัวอักษรโตกว่าข้อกำหนดต่าง ๆ มากทั้งลงชื่อทับข้อกำหนดต่าง ๆ ด้วยน่าจะเป็นการลงชื่อรับคู่ฉบับหรือสำเนาเอกสารมากกว่า ยังถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ส่งและผู้รับตราส่งซึ่งรับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่งด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)