คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวัน-สถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน: อำนาจนายอำเภอและหลักการแปลกฎหมาย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457มาตรา 19ข้อ 2 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลงให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น สำหรับวัน เวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อ 6กำหนดให้นายอำเภอประกาศให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก ตามกฎหมายและข้อบังคับนั้นมิได้กล่าวถึงการเลื่อนการเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ผิดกับการเลือกกำนันซึ่งมีระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกกำนันต้องกระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ดังนั้นการเปลี่ยนที่เลือกและการเลื่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ควรประกาศล่วงหน้าให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันก่อนวันเลือก และเลือกให้ทันภายในกำหนดสิบห้าวัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การแปลกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายต้องแปลให้เกิดผล โดยดูถึงเจตนาในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนั้น ๆ ด้วย ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก จึงหมายถึงการประกาศครั้งแรก
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการเปลี่ยนแปลงวันเวลาและสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องคำนึงถึงเจตนาของกฎหมายและให้ราษฎรทราบ
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 19 ข้อ 2 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลงให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น สำหรับวัน เวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อ 6กำหนดให้นายอำเภอประกาศให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก ตามกฎหมายและข้อบังคับนั้นมิได้กล่าวถึงการเลื่อนการเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ผิดกับการเลือกกำนันซึ่งมีระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกกำนันต้องกระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ดังนั้นการเปลี่ยนที่เลือกและการเลื่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ควรประกาศล่วงหน้าให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันก่อนวันเลือก และเลือกให้ทันภายในกำหนดสิบห้าวัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การแปลกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายต้องแปลให้เกิดผล โดยดูถึงเจตนาในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนั้น ๆ ด้วย ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก จึงหมายถึงการประกาศครั้งแรก
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526 เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526 ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิด
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไปไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส.อันจะต้องรับผิดต่อบริษัทส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617,618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616,625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีไม่มีกฎหมายเฉพาะ และข้อยกเว้นความรับผิดเป็นโมฆะ
ฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลรวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างดี เป็นคำฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว แม้จะมิได้ระบุชื่อตัวการและถิ่นที่อยู่มา หรือจำเลยร่วมกับผู้ใดทำการขนส่งหลายทอดหลายต่อก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบต่อไป ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศขนสินค้าของบริษัท ส. จากผู้รับขนหลายคนหลายทอดหลายต่อ แต่ทางนำสืบของโจทก์ศาลล่างทั้งสองฟังว่า จำเลยรับขนในฐานะตัวการจากต้นทางส่งปลายทางทอดเดียว เมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาในการขนส่งสินค้ากับบริษัท ส. อันจะต้องรับผิดต่อบริษัท ส.ในการที่สินค้าที่รับขนสูญหายระหว่างการขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 อยู่แล้ว แม้ตามฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยเป็นตัวแทนขนสินค้าหลายทอดหลายต่อ แต่ตามมาตรา 617, 618 ก็บัญญัติให้จำเลยต้องรับผิดในการสูญหายแห่งสินค้าในระหว่างการขนส่งอยู่นั่นเอง แม้จะฟังข้อเท็จจริงไปในทางใด ก็หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเกี่ยวกับการนี้ไม่ ยังไม่พอให้ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ และไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องการสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนก่อนส่งมอบว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนของทางทะเลของประเทศใดมาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616, 625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ โดยตามมาตรา 616 กำหนดให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดในการสูญหายแห่งของที่เขามอบหมายแก่ตนระหว่างการขนส่ง อันหมายถึงว่าต้องรับใช้เต็มราคาแห่งของที่สูญหายและมาตรา 625 บัญญัติให้ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามใบตราส่งเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิดนั้น
ในใบตราส่งได้ระบุเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งไว้ การที่บริษัท ส.เซ็นชื่อรับสินค้าไว้ที่ด้านหลังเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการที่บริษัท ส.ยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิด หากแต่เป็นการเซ็นรับสินค้าที่จำเลยขนส่งมา จึงฟังว่าข้อจำกัดความรับผิดที่ฝ่ายจำเลยกำหนดขึ้นเองเป็นโมฆะเพราะบริษัท ส.มิได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโดยอ้างธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลฎีกาตัดสินให้จ่ายค่าชดเชย
โจทก์เบิกอะไหล่ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปหลายชิ้นเพื่อซ่อมรถยนต์โดยสารของจำเลย บางชิ้นได้นำไปเปลี่ยนใส่ในรถยนต์โดยสารของจำเลยแล้ว บางชิ้นก็คงเก็บไว้ในตู้เก็บอะไหล่ที่ที่ทำงานของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกระทำ ดังนั้นจำเลยจะเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาเป็นเวลานานแล้วมาอ้างว่าเป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โดยถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การอ้างธรรมเนียมปฏิบัติแทนระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษรใช้ไม่ได้ในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เบิกอะไหล่ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปหลายชิ้นเพื่อซ่อมรถยนต์โดยสารของจำเลย บางชิ้นได้นำไปเปลี่ยนใส่ในรถยนต์โดยสารของจำเลยแล้ว บางชิ้นก็คงเก็บไว้ในตู้เก็บอะไหล่ที่ที่ทำงานของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรห้ามกระทำ ดังนั้นจำเลยจะเอาธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาเป็นเวลานานแล้วมาอ้างว่าเป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโดยถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งแยกโฉนด สิทธิในการใช้ที่ดินส่วนรุกล้ำ และภาระจำยอม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักแห่งข้อหา โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดข้อตกลงในสัญญาเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้ใช้ค่าเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้วแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าที่พิพาท 5 ตารางวาตามสัญญาเช่าจะอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้สั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่วิวาทมาแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งปลูกบ้านในที่ดินมรดกในฐานะเป็นเจ้าของรวมก่อนที่จะมีการแบ่งแยกนั้น เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและมีสิทธิปลูกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เหตุที่บ้านของจำเลยบางส่วนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ 5 ตารางวาเนื่องจากการแบ่งแยกโฉนด ระหว่างทายาทในภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะปรับแก่คดีนี้คือ มาตรา 1312วรรคแรกซึ่งให้เจ้าของที่ดินได้ค่าใช้ที่ดินส่วนที่รุกล้ำโจทก์จะขอให้จำเลยรื้อบ้านส่วนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ออกไปไม่ได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและภาระจำยอม: ศาลพิจารณาค่าใช้ที่ดินแทนการรื้อถอน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักแห่งข้อหา และอ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดข้อตกลงในสัญญาเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าที่พิพาท 5 ตารางวาตามสัญญาเช่าอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความทั้งสองฝ่ายก็ได้ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครออกไปทำแผนที่พิพาทแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ทายาทในฐานะเจ้าของรวม ปลูกบ้านในที่ดินมรดกซึ่งครอบครองร่วมกันอยู่โดยสุจริต ต่อมามีการแบ่งแยกโฉนดระหว่างทายาทปรากฏว่าบ้านที่ทายาทคนหนึ่งปลูกบางส่วนรุกล้ำที่ดินของทายาทอื่น กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้โดยตรง ต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามที่มาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดไว้ บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือมาตรา 1312 วรรคแรก ซึ่งให้เจ้าของที่ดินได้ค่าใช้ที่ดินส่วนรุกล้ำและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่1/2530).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและภาระจำยอม: การวินิจฉัยตามกฎหมายใกล้เคียงเมื่อไม่มีบทบัญญัติโดยตรง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักแห่งข้อหา และอ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดข้อตกลงในสัญญาเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าที่พิพาท 5 ตารางวาตามสัญญา เช่าอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความทั้งสองฝ่ายก็ได้ขอให้ศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครออกไปทำแผนที่พิพาทแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ทายาทในฐานะเจ้าของรวม ปลูกบ้านในที่ดินมรดกซึ่งครอบครองร่วมกันอยู่โดยสุจริต ต่อมามีการแบ่งแยกโฉนดระหว่างทายาท ปรากฏว่าบ้านที่ทายาทคนหนึ่งปลูกบางส่วนรุกล้ำที่ดินของทายาทอื่น กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติไว้โดยตรง ต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามที่มาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดไว้ บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือมาตรา 1312 วรรคแรก ซึ่งให้เจ้าของที่ดินได้ค่าใช้ที่ดินส่วนรุกล้ำและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่1/2530).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้ลูกจ้างจัดหาเครื่องมือทำงานเองต้องมีระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ประเพณีไม่อาจบังคับใช้ได้
ลูกจ้างจะต้องจัดหาเครื่องมือในการทำงานมาเองหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดโดยระเบียบข้อบังคับหรือความตกลงระหว่างคู่กรณีเมื่อจำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองดังนั้นแม้หากจะมีประเพณีให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือมาเองดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็หาอาจนำประเพณีนั้นมาบังคับแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างได้ไม่คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์นำเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเองจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ได้ ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่.
of 30