พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวให้รื้อถอนและขับไล่ผู้บุกรุกที่ดิน และประเด็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเดิม
จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอันจะอ้างได้โจทก์มีอำนาจที่จะบอกกล่าวให้ออกไปได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. ม.560 โดยถือว่าเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ได้อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งขอให้ขับไล่เช่นเดียวกันดังนี้ เมื่อเป็นการขับไล่ออกจากที่ดินคนละแปลงฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จะฟ้องแย้งมาในคำให้การไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ได้อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งขอให้ขับไล่เช่นเดียวกันดังนี้ เมื่อเป็นการขับไล่ออกจากที่ดินคนละแปลงฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จะฟ้องแย้งมาในคำให้การไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดทางทะเล: ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 448 ใช้บังคับเหนือ พ.ร.บ.เดินเรือฯ และความประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมเรือ
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งมีกำหนด 6 เดือนถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 3 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448เป็นบทบังคับ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องเรือเดินสมุทร ซึ่งนายเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในการนำร่อง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะอันเกิดด้วยเครื่องจักรกลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 เมื่อจำเลยที่ 1สั่งให้นายเรือเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอโดยยังไม่พ้นเรือโจทก์ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้เรือที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องโดนเรือโจทก์เสียหาย ซึ่งหากจำเลยที่ 1 สั่งให้แล่นไปให้พ้นเสียก่อนแล้วจึงเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอก็จะไม่เกิดเหตุขึ้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้นำร่องต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความช่ำชองในวิชาการเรือซึ่งตนมีอยู่จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ แม้เรือโจทก์จะจอดเทียบเป็นลำที่ 3ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายก็มิใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เรือโดนกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องเรือเดินสมุทร ซึ่งนายเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในการนำร่อง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะอันเกิดด้วยเครื่องจักรกลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 เมื่อจำเลยที่ 1สั่งให้นายเรือเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอโดยยังไม่พ้นเรือโจทก์ที่จอดอยู่เป็นเหตุให้เรือที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องโดนเรือโจทก์เสียหาย ซึ่งหากจำเลยที่ 1 สั่งให้แล่นไปให้พ้นเสียก่อนแล้วจึงเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอก็จะไม่เกิดเหตุขึ้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้นำร่องต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความช่ำชองในวิชาการเรือซึ่งตนมีอยู่จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ แม้เรือโจทก์จะจอดเทียบเป็นลำที่ 3ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายก็มิใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เรือโดนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการเดินเรือ: ใช้ พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 448 แทน พ.ร.บ.เดินเรือ และประเด็นความประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมเรือ
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งมีกำหนด 6 เดือนถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 3 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เป็นบทบังคับ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องเรือเดินสมุทร ซึ่งนายเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในการนำร่อง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะอันเกิดด้วยเครื่องจักรกลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 เมื่อจำเลยที่ 1 สั่งให้นายเรือเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอโดยยังไม่พ้นเรือโจทก์ที่จอดอยู่ เป็นเหตุให้เรือที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องโดนเรือโจทก์เสียหาย ซึ่งหากจำเลยที่ 1 สั่งให้แล่นไปให้พ้นเสียก่อนแล้วจึงเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอก็จะไม่เกิดเหตุขึ้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้นำร่องต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความช่ำชองในวิชาการเรือซึ่งตนมีอยู่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ แม้เรือโจทก์จะจอดเทียบเป็นลำที่ 3 ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายก็มิใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เรือโดนกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องเรือเดินสมุทร ซึ่งนายเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ในการนำร่อง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะอันเกิดด้วยเครื่องจักรกลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 เมื่อจำเลยที่ 1 สั่งให้นายเรือเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอโดยยังไม่พ้นเรือโจทก์ที่จอดอยู่ เป็นเหตุให้เรือที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำร่องโดนเรือโจทก์เสียหาย ซึ่งหากจำเลยที่ 1 สั่งให้แล่นไปให้พ้นเสียก่อนแล้วจึงเลี้ยวขวาเพื่อทอดสมอก็จะไม่เกิดเหตุขึ้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้นำร่องต้องใช้ความระมัดระวังมากที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช้ความช่ำชองในวิชาการเรือซึ่งตนมีอยู่ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ แม้เรือโจทก์จะจอดเทียบเป็นลำที่ 3 ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายก็มิใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เรือโดนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด, ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและลูกจ้าง, การนับอายุความ
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2518 การนับอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 มิให้นับวันที่ 20 พฤษภาคม 2518 ซึ่งเป็นวันแรกรวมคำนวณไปด้วย เพราะมิได้มีการเริ่มอะไรในวันนั้น ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2518 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะครบ 1 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 เข้าหุ้นกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการเหมืองแร่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาทรัพย์สินของเหมืองแร่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย การที่จำเลยที่ 3 มอบอาวุธปืนให้จำเลยที่ 1 ไปใช้ในการอยู่ยามและจำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงโจทก์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่อยู่ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงเป็นเรื่องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในโดยเฉพาะแล้ว จะนำกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุขณะ ปฏิบัติหน้าที่มาใช้บังคับไม่ได้
จำเลยที่ 3 เข้าหุ้นกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการเหมืองแร่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาทรัพย์สินของเหมืองแร่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย การที่จำเลยที่ 3 มอบอาวุธปืนให้จำเลยที่ 1 ไปใช้ในการอยู่ยามและจำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงโจทก์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่อยู่ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงเป็นเรื่องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในโดยเฉพาะแล้ว จะนำกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุขณะ ปฏิบัติหน้าที่มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด, ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและลูกจ้าง, การกระทำในทางการจ้าง
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2518การนับอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 มิให้นับวันที่ 20 พฤษภาคม 2518 ซึ่งเป็นวันแรกรวมคำนวณไปด้วย เพราะมิได้มีการเริ่มอะไรในวันนั้น ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2518 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะครบ 1 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 3 เข้าหุ้นกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการเหมืองแร่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาทรัพย์สินของเหมืองแร่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย การที่จำเลยที่ 3 มอบอาวุธปืนให้จำเลยที่ 1 ไปใช้ในการอยู่ยามและจำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงโจทก์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่อยู่ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงเป็นเรื่องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในโดยเฉพาะแล้ว จะนำกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุขณะ ปฏิบัติหน้าที่มาใช้บังคับไม่ได้
จำเลยที่ 3 เข้าหุ้นกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการเหมืองแร่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาทรัพย์สินของเหมืองแร่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย การที่จำเลยที่ 3 มอบอาวุธปืนให้จำเลยที่ 1 ไปใช้ในการอยู่ยามและจำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงโจทก์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่อยู่ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดจึงเป็นเรื่องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในโดยเฉพาะแล้ว จะนำกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุขณะ ปฏิบัติหน้าที่มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นมเปรี้ยวยาคูลท์จัดเป็น 'อาหาร' ไม่ใช่ 'เครื่องดื่ม' ต้องเสียภาษีการค้า
สินค้านมสดเปรี้ยวยาคูลท์ของโจทก์ประกอบด้วยนมสดเป็นส่วนใหญ่ ต้องถือว่าเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จึงเป็นสินค้าที่มีระบุไว้ในบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 หาใช่เป็นเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(6) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โจทก์ผู้ประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า และต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) ในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ
คำว่าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใช้ในประมวลรัษฎากรและพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 54 จะนำวิเคราะห์ศัพท์หรือความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร และพระราชบัญญัติภาษีเครื่องดื่มมาใช้ก็ไม่ได้ เพราะเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติเหล่านี้ต่างกัน
คำว่าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใช้ในประมวลรัษฎากรและพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 54 จะนำวิเคราะห์ศัพท์หรือความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร และพระราชบัญญัติภาษีเครื่องดื่มมาใช้ก็ไม่ได้ เพราะเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติเหล่านี้ต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการสั่งค่าเสียหายและการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างได้ โดยมีอำนาจกำหนดได้ตามที่เห็นสมควรพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ไม่ต้องอาศัยเทียบเคียงกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการกำหนดค่าชดเชยเพราะไม่ใช่เป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้มีการจดทะเบียนบุริมสิทธิไว้แล้ว
จำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แต่ยังมิได้ชำระราคาที่ดินทั้งหมดในวันจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกัน โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนราคาที่ดินส่วนที่ยังค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยยังค้างชำระ อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินนั้น เพื่อเอาชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ซึ่งหากได้ไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยจนสิ้นเชิงได้ หามีบทบัญญัติอื่นใดที่จะตัดทอนอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ไม่ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 289 จะได้บัญญัติว่า "ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281 ถึง 288 นี้แล้วท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี" ก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าให้นำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับต่อบทในลักษณะบุริมสิทธิ ซึ่งให้สิทธิแก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น เหตุดังกล่าวจึงนำบทบัญญัติมาตรา 733 มาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้ ดังนั้น หากยึดที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิขายทอดตลาดยังไม่พอชำระหนี้ มาตรา 273, 276 ห้ามเพียงมิให้โจทก์บังคับบุริมสิทธิเอาแก่ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิตามฟ้องเท่านั้นแต่มิได้ห้ามโจทก์ในอันที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระหนี้จนกว่าจะครบอย่างเจ้าหนี้สามัญ ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นมาชำระหนี้จนกว่าจะครบได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้บังคับชำระจากทรัพย์สินที่จดจำนองแล้วยังไม่พอ
จำเลยซื้อที่ดินของโจทก์ แต่ยังมิได้ชำระราคาที่ดินทั้งหมดในวันจดทะเบียนโอนที่ดินที่ซื้อขายกันโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนราคาที่ดินส่วนที่ยังค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าที่ดินที่จำเลยยังค้างชำระ อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินนั้น เพื่อเอาชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ซึ่งหากได้ไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยจนสิ้นเชิงได้ หามีบทบัญญัติอื่นใดที่จะตัดทอนอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ไม่ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 289 จะได้บัญญัติว่า'ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281ถึง 288 นี้แล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี' ก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าให้นำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดต่อบทในลักษณะบุริมสิทธิ ซึ่งให้สิทธิแก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น เหตุดังกล่าวจึงนำบทบัญญัติมาตรา 733 มาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้ ดังนั้น หากยึดที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิขายทอดตลาดยังไม่พอชำระหนี้มาตรา273,276 ห้ามเพียงมิให้โจทก์บังคับบุริมสิทธิเอาแก่ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากที่ดินที่จดทะเบียนบุริมสิทธิตามฟ้องเท่านั้น แต่มิได้ห้ามโจทก์ในอันที่จะยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระหนี้จนกว่าจะครบอย่างเจ้าหนี้สามัญศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นมาชำระหนี้จนกว่าจะครบได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและสิทธิภารจำยอม: การใช้บทกฎหมายใกล้เคียงเมื่อมีลักษณะของการรุกล้ำต่อเนื่อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินต่อเติมชายคารุกล้ำที่ดินขอให้ ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอน จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์รื้อกันสาด ที่สร้างใหม่รื้อชายคาส่วนที่สร้างรุกล้ำรื้อท่อน้ำประปากับเครื่องสูบน้ำ ออกไปจากที่พิพาทฟ้องแย้งส่วนนี้เกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่ที่ขอให้โจทก์ใช้ ค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างทำให้กำแพงตึกของจำเลยแตกร้าวกระเบื้อง หน้าตึกแถว เสียหายลูกจ้างของโจทก์ตัดโครงเหล็กเครื่องปรับอากาศของ จำเลยนั้นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจึงฟ้องแย้งไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
ตึกแถวปลูกสร้างตั้งแต่เจ้าของเดิมคนเดียวกันยังไม่แยกโฉนดเมื่อ แยกโฉนดปั้นลมและชายคาจึงรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เจ้าของเดิม จำเลยรับโอนตึกแถวมากว่า 10 ปี ต้องใช้บทใกล้เคียงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือใช้ มาตรา 1312 จำเลย มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เฉพาะส่วนที่รุกล้ำโจทก์บังคับให้รื้อถอนไม่ได้ แต่จำเลยต้องเสียค่าใช้ที่ดินส่วนนั้นโดยจดทะเบียนเป็นภารจำยอมส่วน ท่อน้ำทิ้งและเครื่องปรับอากาศซึ่งจำเลยติดตั้งไม่เกิน 10 ปีไม่มีภารจำยอมและไม่อยู่ใน มาตรา 1312 วรรคแรก จำเลยต้องรื้อไป
ตึกแถวปลูกสร้างตั้งแต่เจ้าของเดิมคนเดียวกันยังไม่แยกโฉนดเมื่อ แยกโฉนดปั้นลมและชายคาจึงรุกล้ำในที่ดินของโจทก์ตั้งแต่เจ้าของเดิม จำเลยรับโอนตึกแถวมากว่า 10 ปี ต้องใช้บทใกล้เคียงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือใช้ มาตรา 1312 จำเลย มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เฉพาะส่วนที่รุกล้ำโจทก์บังคับให้รื้อถอนไม่ได้ แต่จำเลยต้องเสียค่าใช้ที่ดินส่วนนั้นโดยจดทะเบียนเป็นภารจำยอมส่วน ท่อน้ำทิ้งและเครื่องปรับอากาศซึ่งจำเลยติดตั้งไม่เกิน 10 ปีไม่มีภารจำยอมและไม่อยู่ใน มาตรา 1312 วรรคแรก จำเลยต้องรื้อไป