คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตป่าคุ้มครองตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาสำคัญกว่าชื่อตำบล หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกหลังมีผลบังคับใช้ของกฎหมายไม่ผูกพันแผ่นดิน
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าไสโป๊ะ ฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2496 บัญญัติว่า "ให้ป่าไสโป๊ะในท้องที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นป่าคุ้มครอง" ดังนี้การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองหรือไม่จะต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกอบด้วย แม้ได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในท้องที่ตำบลกระบี่ใหญ่ มิใช่ตำบลกระบี่น้อยก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าอยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องถือว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แม้ที่พิพาทจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อได้มาหลังจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงหามีผลให้ได้สิทธิอย่างใดยันต่อแผ่นดินได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินต่างประเทศ: อำนาจตามกฎหมายไทยและหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต้องมีกฎหมายรองรับ
ผู้ใดจะยึดทรัพย์สินของบุคคลอื่นในประเทศไทยได้โดยชอบนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจของกฎหมายไทยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไทย
หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติตอบแทนกันระหว่างประเทศ ถ้าจะให้มีผลบังคับได้จะต้องมีกฎหมายไทยรับรองไว้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 เป็นเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการที่จะดำเนินคดีในศาลไทยเจ้าพนักงานหาอาจอาศัยอำนาจตามมาตรานี้ยึดทรัพย์ของผู้ใดเพื่อส่งไปให้รัฐบาลต่างประเทศสำหรับใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในศาลต่างประเทศไม่
โจทก์เป็นชาวต่างประเทศถูกคนร้ายชิงทรัพย์ เจ้าพนักงานตำรวจจับคนร้ายได้พร้อมด้วยเงินตราต่างประเทศที่ถูกชิงทรัพย์ไปเป็นของกลาง ศาลพิพากษาคดีอาญาให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์แล้ว จำเลยคือกรมตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินของกลางให้โจทก์ การที่โจทก์ถูกศาลสั่งให้ส่งตัวข้ามแดนไปตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติเกี่ยวกับการส่งพยานหลักฐานไปให้ศาลต่างประเทศด้วยไม่ ทั้งคำพิพากษาของศาลที่ให้ส่งตัวโจทก์ไปให้รัฐบาลต่างประเทศก็มิได้สั่งให้ส่งพยานหลักฐานใด ๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยไม่สามารถอ้างและนำสืบให้เห็นว่ามีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะยึดเงินของกลางไว้ เพื่อส่งให้รัฐบาลต่างประเทศตามที่รัฐบาลต่างประเทศขอมา ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนเงินของกลางแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินต่างประเทศโดยเจ้าพนักงานไทย ต้องอาศัยอำนาจกฎหมายไทยหรือคำสั่งศาลเท่านั้น
ผู้ใดจะยึดทรัพย์สินของบุคคลอื่นในประเทศไทยได้โดยชอบนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจของกฎหมายไทย หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไทย
หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติตอบแทนกันระหว่างประเทศ ถ้าจะให้มีผลบังคับได้จะต้องมีกฎหมายไทยรับรองไว้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 เป็นเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการที่จะดำเนินคดีในศาลไทย เจ้าพนักงานหาอาจอาศัยอำนาจตามมาตรานี้ยึดทรัพย์ของผู้ใด เพื่อส่งไปให้รัฐบาลต่างประเทศสำหรับใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในศาลต่างประเทศไม่
โจทก์เป็นชาวต่างประเทศถูกคนร้ายชิงทรัพย์ เจ้าพนักงานตำรวจจับคนร้ายได้พร้อมด้วยเงินตราต่างประเทศที่ถูกชิงทรัพย์ไปเป็นของกลาง ศาลพิพากษาคดีอาญาให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์แล้ว จำเลยคือกรมตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินของกลางให้โจทก์ การที่โจทก์ถูกศาลสั่งให้ส่งตัวข้ามแดงไปตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติเกี่ยวกับการส่งพยานหลักฐานไปให้ศาลต่างประเทศด้วยไม่ ทั้งคำพิพากษาของศาลที่ให้ส่งตัวโจทก์ไปให้รัฐบาลต่างประเทศก็มิได้สั่งให้ส่งพยานหลักฐานใดๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยไม่สามารถอ้างและนำสืบให้เห็นว่ามีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะยึดของกลางไว้ เพื่อส่งให้รัฐบาลต่างประเทศตามที่รัฐบาลต่างประเทศขอมา ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนเงินของกลางแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถงการประเมินภาษี และข้อยกเว้นภาษีจากการซื้อขายที่ดินเพื่อลงทุน
ฟ้องกรมสรรพากรให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้โดยไม่ฟ้องเจ้าพนักงานประเมินด้วยก็ได้
ซื้อที่ดินมาเพื่อตั้งโรงงาน โดยผู้ซื้อออกเงินแทนบริษัทไปก่อนแต่ต่อมาไม่ได้ใช้ตั้งโรงงานจึงขายไปได้กำไรมากตามราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่การค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ขายที่ดินโดยไม่ได้แสดงรายการข้อ 14 แห่ง ภ.ง.ด.9 ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งมีสภาพบังคับได้อย่างกฎหมายโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดเวลาราชการต่อเนื่องสำหรับคำนวณบำนาญหลังเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างเป็นข้าราชการพลเรือน
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ. 2502 โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ. 2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500 ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 ออกใช้บังคับและโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตินี้โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมายเปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการเปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกันเพื่อคำนวณเงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการรับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารัชราชการใหม่ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดคำนวณบำนาญสำหรับข้าราชการที่เคยได้รับบำนาญแล้ว และได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นข้าราชการใหม่ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการบอกเลิกบำนาญ
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็น ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ.2502โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ.2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 ออกใช้บังคับ และโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ นี้ โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมาย เปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับ ราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการ เปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกัน เพื่อคำนวณ เงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีก็ต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่ง พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการ รับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้อง บอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารับราชการใหม่ ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2499 เมื่อโจทก์ มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีป้าย: เลือกวิธีคำนวณแบบ ก. หรือ ข. แบบใดแบบหนึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากร
ป้ายพิพาทคำนวณพื้นที่ได้สองแบบ คือ ตามแบบ ก. หรือ แบบ ข.แบบบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ถ้าคำนวณตามแบบ ก. คือถือว่าป้ายมีขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1,200 เซนติเมตรยาว 3,000 เซนติเมตร แม้ด้านบนมีตัวอักษร ที ในภาษาอังกฤษล้ำออกจากขอบเขต 75 เซนติเมตรก็ตาม จะถือว่าป้ายมีความกว้าง 1,275 เซนติเมตรไม่ได้เพราะด้านบนของตัวอักษร ที นั้นไม่ใช่ขอบเขตของป้ายตามแบบ ก. ของบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าว ถ้าคำนวณตามแบบ ข. คือถือเอาตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมายเป็นเกณฑ์ ป้ายจะมีความกว้าง 1,205 เซนติเมตร และยาว 2,650เซนติเมตร จะวัดขอบเขตของป้ายเข้าไว้ในเนื้อที่ป้ายด้วยไม่ได้ เพราะขอบเขตของป้ายมิใช่ตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย
จริงอยู่ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าวไม่ได้ห้ามการคำนวณเนื้อที่ป้ายโดยวิธีคำนวณแบบ ก. และ ข. รวมกันโดยตรงก็ดี แต่พระราชบัญญัติภาษีป้ายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่แจ้งชัดเช่นนี้ ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้จะต้องเสียภาษีอากรเมื่อพิเคราะห์บัญญัติ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้แล้วอนุมานได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ คือ จะต้องประเมินภาษีป้ายโดยเลือกคำนวณเนื้อที่ป้ายเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกคำนวณตามแบบ ก. แล้ว ก็ต้องคำนวณตามแบบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์มีผลบังคับใช้โดยไม่ต้องสืบพยาน เนื่องจากเป็นที่รับรู้โดยทั่วไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแรงงานสัมพันธ์ ออกตามอำนาจในข้อ 4 และ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ซึ่งให้มีผลบังคับอย่างกฎหมาย ซึ่งรับกันว่ามีอยู่และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าเป็นที่ทราบกันทั่วไป ไม่ต้องนำสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง: จำกัดสิทธิเฉพาะทายาทโดยธรรม
บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วมีสิทธิเพียงรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในเหตุขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากผู้กระทำละเมิดทำให้บิดาถึงแก่ความตาย กรณีไม่ใช่ช่องว่างที่จะนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี, การอุทธรณ์การประเมิน, และข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้มีการอุทธรณ์การประเมินในบางกรณีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนแล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20,30(2) มิได้บัญญัติเลยว่าการอุทธรณ์ การประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีความเห็นเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานประเมินเพียงแต่ละภาษีการค้าลงบ้างเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องอย่างไร ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลได้ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ก็ตามถือว่าในการยื่นฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้า (นำเข้า) สำหรับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามานั้น โจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ารถยนต์เท่านั้น หาได้เป็นผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ขายชิ้นส่วนของรถยนต์ หากแต่เป็นเพียงผู้นำชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์แล้วจำหน่ายรถยนต์ที่ประกอบหรือผลิตนั้นเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์
ที่จะถือว่าเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(1)ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้นั้น จะต้องเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร) หรือเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิดอื่น โดยมิใช่นำมาขายหรือโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขาย (อ้างฎีกาที่ 1606/2512)เมื่อโจทก์สั่งชิ้นส่วนของรถยนต์ เข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ขาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขายสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 ทวิ(1)
ตามมาตรา 79 ทวิ(3) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนั้น จะถือเป็นการขายสินค้า ก็ต่อเมื่ออัตราภาษีการค้าไปใช้หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนการครอบครองซึ่งสินค้าดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อขาย แต่เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์เสียแล้ว กรณีจึงไม่เข้าอยู่ในบังคับของมาตรา 79 ทวิ(3) อันจะถือเป็นการขายสินค้า
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 มาตรา 3(4)บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะ ในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใดจะต้องเสียภาษีการค้าในการนำของเจ้ามาในราชอาณาจักร แต่ถ้าของนั้นเป็นของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ผู้นั้นก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับของนั้น เมื่อของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ มิใช่รถยนต์หากโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีการค้าโจทก์ก็คงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะแต่ชิ้นส่วนของรถยนต์เท่านั้นซึ่งโจทก์ไม่ต้องเสียอยู่แล้ว โจทก์หาได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากรายรับในการขายรถยนต์ของโจทก์ไม่ เพราะรถยนต์มิใช่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504
of 30