คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี การประเมิน การอุทธรณ์ และข้อยกเว้นภาษี กรณีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้มีการอุทธรณ์การประเมินในบางกรณีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนแล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20,30 (2) มิได้บัญญัติเลยว่าการอุทธรณ์ การประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีความเห็นเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานประเมิน เพียงแต่ลดภาษีการค้าลงบ้านเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องอย่างไร ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อศาลได้ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ก็ตาม ถือว่าการยื่นฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้า(นำเข้า) สำหรับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามานั้น โจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้ประกอบการค้ารถยนต์เท่านั้น หาได้เป็นผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ขายชิ้นส่วนรถยนต์ หากแก่เป็นเพียงผู้นำชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์แล้วจำหน่ายรถยนต์ที่ประกอบหรือผลิตนั้นเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์
ที่จะถือว่าเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(1) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้นั้น จะต้องเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควรหรือเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิดอื่น โดยมิใช่นำมาขายหรือโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขาย(อ้างฎีกาที่ 1606/2512) เมื่อโจทก์สั่งชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ขาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขายสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 ทวิ(1)
ตามมาตรา 79 ทวิ(3) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้ จะถือเป็นการขายสินค้าก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการค้านำสินค้าของตนตามประเภทการค้าทุกชนิด และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าไปใช้หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนการครอบครองซึ่งสินค้าดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อขาย แต่เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์เสียแล้ว กรณีจึงไม่เข้าอยู่ในบังคับของมาตรา 79 ทวิ(3) อันจะถือเป็นการขายสินค้า
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 มาตรา 3(4) บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใดจะต้องเสียภาษีการค้าในการนำของเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ถ้าของนั้นเป็นของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ผู้นั้นก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับของนั้น เมื่อของโจทก์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ มิใช่รถยนต์ หากโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีการค้า โจทก์ก็คงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะแต่ชิ้นส่วนของรถยนต์เท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ไม่ต้องเสียอยู่แล้ว โจทก์หาได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากรายรับในการขายรถยนต์ของโจทก์ไม่ เพราะรถยนต์มิใช่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: สิทธิประเมินภาษีค้าง, การยกเว้นภาษี, ค่าใช้จ่ายหักลดหย่อน, และช่วงทรัพย์มรดก
คำสั่งตามมติคณะรัฐมนตรีในสมัยปฏิวัติ ไม่ใช่คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ จึงไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประมวลรัษฎากรที่ให้ตรวจสอบภาษีค้างจ่ายได้
เจ้าพนักงานประเมินเรียกไต่สวนได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และแจ้งจำนวนภาษีค้างได้ภายใน 10 ปี ตาม มาตรา 24 เมื่อมีอุทธรณ์ต่อไปโดยชำระภาษีแล้ว และโจทก์ฟ้องคดีนี้คัดค้านการประเมินไม่เกิน 10 ปี ตั้งแต่วันเรียกให้โจทก์ชำระภาษี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรไม่ขาดอายุความ
ขายที่ดินและทรัพย์อื่นที่ได้รับมรดกมา นำเงินไปซื้อที่ดินมาจัดสรร ไม่ใช่ช่วงทรัพย์ตาม มาตรา 226 วรรค 2
ขายที่ดินจัดสรรเป็นการค้าไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แม้จะขายที่ดิน โดยมิใช่การค้าก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรี มิฉะนั้นไม่ได้รับยกเว้นตาม มาตรา 42(9)
ผู้มีเงินได้ยื่นประเมินแล้วเจ้าพนักงานเรียกไต่สวนได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการตาม มาตรา 19 กรณีที่ไม่ได้ยื่นประเมินเจ้าพนักงานเรียกมาไต่สวนได้ตาม มาตรา 23,24 ไม่อยู่ในบังคับ 5 ปีนั้น
ค่าใช้จ่ายหักได้ในการขายสิ่งอุปโภค ฯลฯ และสิ่งอื่นนอกจากที่ระบุไว้ร้อยละ 95 ตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2496 มาตรา 3(32)นั้น "สิ่ง" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ตามพจนานุกรม ไม่หมายถึงที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันพินัยกรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงสลักหลัง และข้อจำกัดการโอนที่ดินตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังพินัยกรรมของ ท. ให้ใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามกฎหมาย มีผลเด็ดขาดเป็นกฎหมาย พินัยกรรมนั้นใช้ได้ตลอดมาจนปัจจุบัน ต่อมาท.ทำพินัยกรรมให้อ. อาศัยอยู่ในที่ดินส่วนหนึ่ง อ.จะทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนนั้นให้แก่ใครต่อไป โดยไม่มีที่ดินแปลงอื่นมาแทนมิได้ผู้รับที่ดินตามพินัยกรรมของ อ. จึงโอนที่ดินนั้นต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินจากสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของเดิมไม่ต้องรื้อถอน แต่ต้องชดใช้ค่าที่ดิน
เจ้าของรวมปลูกเรือนลงในที่ดิน ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินแล้วโอนขายต่อๆ มาทั้ง 2 แปลงเมื่อได้รังวัดสอบเขตจึงปรากฏว่าเรือนรุกล้ำอยู่ในเขตที่ดินที่แบ่งออกเป็นอีกแปลงหนึ่ง 16 ถึง 60 เซ็นติเมตรดังนี้เจ้าของเดิมปลูกเรือนโดยสุจริตตามที่มีสิทธิปลูกได้ตามกฎหมายแม้ผู้รับโอนทราบก่อนรับโอนว่าเรือนรุกล้ำ ก็ไม่อาจถูกบังคับให้รื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำได้ต้องใช้มาตรา 4 วินิจฉัยเทียบมาตรา 1312 ซึ่งเป็นบทใกล้เคียงให้เจ้าของได้รับค่าใช้ที่ดินที่รุกล้ำเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็คและการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามประเพณีธนาคาร
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 และตามมาตรา 940 วรรคแรกผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกันซึ่งมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดต่อผู้ทรงอย่างใดผู้รับอาวัลย่อมต้องมีความรับผิดต่อผู้ทรงเช่นเดียวกันดังนั้นอายุความที่ผู้สลักหลังดังกล่าวจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงจึงมีกำหนด 1 ปี นับแต่เช็คถึงกำหนดตามมาตรา 1002 หาใช่ต้องใช้อายุความทั่วไปไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์ โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้วดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็คและการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 และตามมาตรา940 วรรคแรก ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน ซึ่งมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดต่อผู้ทรงอย่างใด ผู้รับอาวัลย่อมต้องมีความรับผิดต่อผู้ทรงเช่นเดียวกัน ดังนั้นอายุความที่ผู้สลักหลังดังกล่าวจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงจึงมีกำหนด 1 ปีนับแต่เช็คถึงกำหนดตามมาตรา 1002 หาใช่ต้องใช้อายุความทั่วไปไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้ว ดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเจตนาไม่เป็นสาธารณูปโภค แม้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการก็ไม่ทำให้ขาดอายุความ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค ย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชน การเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495 มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 179,176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่กิจการสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์เอกชน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการ โรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนการเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 179, 176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: เบี้ยเลี้ยงรวมเป็นค่าจ้างในการคำนวณค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ผู้ตายซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันลูกจ้างของโจทก์ ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จนรถคว่ำถึงแก่ความตาย เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทนให้แก่ทายาทของผู้ตาย แต่จำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้ว่า ผู้ตายขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง มิใช่กระทำโดยจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะไม่มีเหตุผลประการใดที่ผู้ตายจะจงใจกระทำในเรื่องที่มีผลให้ตนต้องถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างในฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ ย่อมรับฟังตามที่โจทก์อ้างไม่ได้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯข้อ 3 ให้คำนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" ไว้ หมายความถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ไม่ว่าสินจ้างนั้นจะเรียกชื่อหรือคำนวณอย่างไรก็ตามแต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลาค่าล่วงเวลาในวันหยุด โบนัส หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ลูกจ้าง ผู้ตายเป็นลูกจ้างขับรถบรรทุกน้ำมันของโจทก์ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 350 บาทและเบี้ยเลี้ยงถัวเฉลี่ยเดือนละ 957.60 บาท เงินเดือนที่ผู้ตายได้รับนั้นเป็นอัตราที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นค่าจ้างในปัจจุบัน และไม่ได้ส่วนสัดกับงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน ส่วนเบี้ยเลี้ยงนั้น โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งโดยคำนวณตามเวลาที่ทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งสมควรแก่ปริมาณงานที่ทำ จึงถือได้ว่าเบี้ยเลี้ยงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสินจ้างที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ตายในฐานะเป็นลูกจ้างเช่นเดียวกับเงินเดือน เพราะฉะนั้น "เบี้ยเลี้ยง" จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามนัยของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว หาใช่เป็นเงินสงเคราะห์ลูกจ้างที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นเพราะต้องทำงานนอกสถานที่ไม่
ประมวลรัษฎากรกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเป็นกฎหมายคนละประเภทและมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ทั้งไม่มีเหตุผลพิเศษที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร่างกฎหมายต้องการใช้คำว่า "เบี้ยเลี้ยง" และคำว่า "ค่าจ้าง" ในกฎหมายสองฉบับนั้นให้มีความหมายตรงกันการตีความคำเหล่านี้จึงต้องตีความไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายนั้นๆ เองโดยเฉพาะประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้คำนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" ไว้เพื่อการคำนวณค่าทดแทนอยู่แล้ว การตีความคำว่า "ค่าจ้าง" ในเรื่องเงินค่าทดแทน จึงต้องเป็นไปตามคำนิยามนั้น (จะอ้างประมวลรัษฎากรมาประกอบการตีความว่า เบี้ยเลี้ยงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้อย่างค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นค่าจ้างไม่ได้นั้น หาได้ไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: เบี้ยเลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างในการคำนวณค่าทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า ผู้ตายซึ่งเป็นพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมันลูกจ้างของโจทก์ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จนรถคว่ำถึงแก่ความตาย เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทนให้แก่ทายาทของผู้ตาย แต่จำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้ว่า ผู้ตายขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง มิใช่กระทำโดยจงใจฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะไม่มีเหตุผลประการใดที่ผู้ตายจะจงใจกระทำในเรื่องที่มีผลให้ตนต้องถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างในฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ ย่อมรับฟังตามที่โจทก์อ้างไม่ได้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ ข้อ 3 ให้คำนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ หมายความถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ไม่ว่าสินจ้างนั้นจะเรียกชื่อหรือคำนวณอย่างไรก็ตาม แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลาค่าล่วงเวลาในวันหยุด โบนัส หรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่มีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ลูกจ้าง ผู้ตายเป็นลูกจ้างขับรถบรรทุกน้ำมันของโจทก์ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 350 บาทและเบี้ยเลี้ยงถัวเฉลี่ยเดือนละ 957.60 บาท เงินเดือนที่ผู้ตายได้รับนั้นเป็นอัตราที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นค่าจ้างในปัจจุบัน และไม่ได้ส่วนสัดกับงานของพนักงานขับรถบรรทุกน้ำมัน ส่วนเบี้ยเลี้ยงนั้น โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขับรถเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งโดยคำนวณตามเวลาที่ทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งสมควรแก่ปริมาณงานที่ทำ จึงถือได้ว่าเบี้ยเลี้ยงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสินจ้างที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ตายในฐานะเป็นลูกจ้างเช่นเดียวกับเงินเดือน เพราะฉะนั้น 'เบี้ยเลี้ยง' จึงเป็น 'ค่าจ้าง' ตามนัยของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว หาใช่เป็นเงินสงเคราะห์ลูกจ้างที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นเพราะต้องทำงานนอกสถานที่ไม่
ประมวลรัษฎากรกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเป็นกฎหมายคนละประเภทและมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ทั้งไม่มีเหตุผลพิเศษที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร่างกฎหมายต้องการใช้คำว่า 'เบี้ยเลี้ยง' 'ค่าจ้าง' ในกฎหมายสองฉบับนั้นให้มีความหมายตรงกันการตีความคำเหล่านี้จึงต้องตีความไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับที่ปรากฏในตัวบทกฎหมายนั้นๆ เองโดยเฉพาะประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้คำนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้เพื่อการคำนวณค่าทดแทนอยู่แล้ว การตีความคำว่า 'ค่าจ้าง' ในเรื่องเงินค่าทดแทน จึงต้องเป็นไปตามคำนิยามนั้น (จะอ้างประมวลรัษฎากรมาประกอบการตีความว่าเบี้ยเลี้ยงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้อย่างค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นค่าจ้างไม่ได้นั้นหาได้ไม่)
of 30