พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4759/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเช็คปลอม หากประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบ ย่อมต้องรับผิดต่อความเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารพาณิชย์ พนักงานของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องระมัดระวังและต้องใช้ความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษตรวจสอบเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย หากมีการแก้ไขชื่อผู้รับเงินซึ่งเป็นข้อความสำคัญในเช็คโดยเห็นประจักษ์ ก็ชอบที่จะปฏิเสธการใช้เงิน เพราะเหตุที่เป็นตั๋วเงินปลอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 โดยแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเช็คทราบทันที ไม่เช่นนั้นแล้วหากมีการจ่ายเงินตามเช็คไปย่อมเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของพนักงานของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คพิพาทแล้ว อ. แก้ไขปลอมแปลงเช็คนั้นภายหลัง ไม่อาจถือเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ การใช้เงินไปตามเช็คของจำเลยที่ 1 จะได้รับความคุ้มครองเพียงใด ต้องเป็นไปตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1009 บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทนายความในคดีที่มีการฟ้องแย้ง ศาลฎีกาเห็นว่าการคำนวณตามทุนทรัพย์รวมทั้งฟ้องหลักและฟ้องแย้งถูกต้องแล้ว และไม่อาจโต้แย้งดุลพินิจศาลได้
คดีนี้นอกจากโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายแล้ว จำเลยยังได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาท หากบังคับไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหาย ซึ่งศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกัน การคิดทุนทรัพย์เพื่อใช้เป็นฐานคำนวณในการกำหนดค่าทนายความจึงต้องคิดทั้งฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งตามตาราง 6 ค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราขั้นสูงไว้ที่ร้อยละ 5
ที่จำเลยฎีกาว่าค่าทนายความมีจำนวนสูงเกินไปนั้น เห็นว่า แม้จำเลยจะได้ฎีกาในข้อที่ว่าค่าทนายความมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของข้อห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 มาแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความรวมถึงให้จำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองในการกำหนดค่าทนายความว่าสูงเกินไปขึ้นมาสู่การพิจารณาในชั้นนี้ได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีผลเท่ากับยอมให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติดังกล่าวได้
ที่จำเลยฎีกาว่าค่าทนายความมีจำนวนสูงเกินไปนั้น เห็นว่า แม้จำเลยจะได้ฎีกาในข้อที่ว่าค่าทนายความมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นของข้อห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 มาแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความรวมถึงให้จำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองในการกำหนดค่าทนายความว่าสูงเกินไปขึ้นมาสู่การพิจารณาในชั้นนี้ได้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีผลเท่ากับยอมให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21841/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในเอกสารเพื่อยื่นต่อเจ้าพนักงาน แม้เอกสารนั้นมิใช่เอกสารราชการ แต่ยังคงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำรับรองการชี้แนวเขตที่ดินเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการ มีไว้สำหรับให้ผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินนำไปกรอกข้อความและลงลายมือชื่อแสดงว่าตนครอบครองที่ดินมีอาณาเขตเท่าใด และนำไปประกอบเอกสารอื่นเพื่อให้เจ้าพนักงานกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดรูปที่ดินและทำระวางแผนที่ เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ไม่เป็นเอกสารสิทธิ และเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเพื่อเสนอต่อเจ้าพนักงาน มิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21188/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องฐานเป็นซ่องโจรต้องระบุข้อตกลงร่วมกระทำผิด ชี้ฟ้องไม่ชัด ศาลยกฟ้อง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โจทก์ต้องบรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งหกเข้าใจข้อหาได้ดี แต่ตามฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยทั้งหกสมคบกัน และได้ตกลงกันว่าจะกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อะไร ของผู้ใด ด้วยวิธีการอย่างไร อันเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดฐานเป็นซ่องโจร จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20824/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการจากเหตุประมาทจากการจัดการสารเคมีอันตรายและการยกเลิกกฎหมายเก่า
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 166 บัญญัติว่า บรรดาประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. นี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ เมื่อยังไม่มีกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ. นี้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างหรือความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายใช้บังคับ หรือมีการยกเลิกมาตรการเพื่อความปลอดภัยในกิจการเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายตามประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม 2540 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2534 ซึ่งออกตามความใน ข้อ 2 (7) และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงยังคงมีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์จะนำสืบรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีก๊าซประเภทสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครองโดยไม่แจ้งการครอบครองตามแบบที่อธิบดีกรมแรงงานกำหนดต่ออธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ว่าราชการจังหวัด และไม่จัดให้ลูกจ้างระดับบริหารเข้ารับการฝึกอบรมและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการตามฟ้องโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 103, 148 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ แต่เป็นความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 2 (7) และข้อ 8 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 3 ฉะนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานมีก๊าซประเภทสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครองโดยไม่แจ้งรายละเอียดต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย และฐานไม่จัดให้ลูกจ้างระดับบริหารเข้ารับการอบรมและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20799/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องประกันหนี้ vs. การบังคับคดีก่อนใช้สิทธิ ผู้มีสิทธิเรียกร้องยังมิได้บังคับใช้สิทธิยันเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากเป็นประกันทั้งสองสัญญามีข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องเงินตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์สองบัญชี ให้แก่ผู้คัดค้านเป็นผู้รับโอนโดยเฉพาะเจาะจงและผู้คัดค้านได้บอกกล่าวการโอนไปยังบริษัท บ. และ ฟ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยตามสัญญาจ้างแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แต่การโอนสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่รับโอนสิทธิมาก็เพื่อเป็นประกันหนี้สินของจำเลยที่มีต่อผู้คัดค้านเท่านั้น และในระหว่างที่เป็นประกันหนี้ของจำเลยหากจำเลยไม่ผิดสัญญาที่มีต่อผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องที่รับโอนเงินดังกล่าว และเงินจำนวนดังกล่าวยังอยู่ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยทั้งสองบัญชี กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านยังไม่ได้บังคับตามสิทธิเรียกร้อง แต่ได้ถูกโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีต่อศาลจนศาลมีคำพิพากษาแล้วทำการอายัดบังคับชำระหนี้ไปก่อนที่ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้อง เมื่อผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเรียกร้องโดยยังมิได้บังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่อาจใช้ยันต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ทำการอายัดไปก่อนได้ ดังนี้ ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินที่กรมบังคับคดีอายัดไปจากบัญชีทั้งสอง และมีหน้าที่ต้องโอนเงินที่เหลือในบัญชีทั้งสองให้แก่กรมบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16134/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระหนี้ต่อศาล: ศาลต้องแจ้งเจ้าหนี้ หากไม่แจ้งเงินไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษานั้น เป็นการกระทำเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้โจทก์ทราบ หากโจทก์ทราบแล้วไม่มารับเงินภายในห้าปีนับแต่มีการวางเงิน เงินดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายและทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ เงินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินมรดกที่ไม่ชอบธรรม โดยอ้างอิงสิทธิในฐานะทายาทและหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งกระทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและตกเป็นของโจทก์ทั้งสองเฉพาะส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองเป็นการใช้สิทธิในฐานะบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ไม่ใช่การฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง และไม่ใช่การฟ้องคดีละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะกรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะกรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13564/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาปรับรายวันสำหรับก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65 วรรคสอง กำหนดให้ปรับเป็นรายวันตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง หมายความว่าจนกว่าจำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากพนักงานท้องถิ่น หรือจนกว่าจำเลยจะดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ เมื่อปรากฏว่า อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ครบกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 คดีนี้จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนและอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาคณะกรรมการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยได้รับผลการพิจารณาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นในวันที่ 27 พฤษภาคม 2550 ดังนั้น ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตย่อมสิ้นสุดลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หลังจากนั้นเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง การกระทำส่วนนี้ของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีกต่อไป ดังนั้น ค่าปรับรายวันในส่วนที่จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงนับแต่วันที่ 18 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13399/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้
การร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดในกองมรดกต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการปันทรัพย์มรดกรายนี้ได้เสร็จสิ้นลงแล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะมายื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น เพราะผู้ร้องยักยอกทรัพย์มรดกไปเป็นของผู้ร้องและสามีเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการจัดการมรดกโดยทุจริตไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้ออ้างดังกล่าวอาจเป็นเหตุในการร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่หาเป็นเหตุทำให้การจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นลงแต่อย่างใด ไม่เช่นนั้นแล้วก็เท่ากับเป็นการขยายอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ออกไปอีกไม่สิ้นสุดเพราะเหตุที่กองมรดกอยู่ในระหว่างจัดการโดยมีผู้จัดการมรดกครอบครองแทนตามมาตรา 1748