คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก และความประมาทเลินเล่อของผู้ขาย ทำให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องในทำนองว่า จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริตซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิชอบและไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้เช่นนั้นเพราะจำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอรับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสุจริต
โจทก์ที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจตามแบบของกรมที่ดินที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งโจทก์ที่ 2ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องใส่ในถุงกระดาษหูหิ้วติดตัวไปมาเป็นเวลานานนับปีในลักษณะที่อาจทำให้เอกสารสำคัญสูญหายได้ และเมื่อโจทก์ที่ 2 ทราบว่าโฉนดที่ดินพิพาทพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการทำนิติกรรมได้หายไป หากโจทก์ทั้งสองรีบแจ้งความและขออายัดที่ดินพิพาทเสียในโอกาสแรก การที่จำเลยที่ 1 จะไปทำนิติกรรมโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้ตนเองย่อมกระทำไม่ได้ การที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวล่าช้า ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่ออย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีการนำโฉนดที่ดินพิพาทและเอกสารต่าง ๆ ไปดำเนินการทำนิติกรรมเป็นว่าโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจยกเอาความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นอ้างอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองและนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกแทนที่ vs. สิทธิจำนองบุคคลภายนอกสุจริต: การคุ้มครองสิทธิผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทน
ผู้ร้องได้ที่ดินของ ห. โดยการรับมรดกแทนที่ ถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ผู้ร้องกับ ซ. ผู้จัดการมรดกของ ห. มีคดีฟ้องร้องกัน แม้ต่อมา ซ. และจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนที่ดินจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์นำมาแบ่งแยกและโอนให้แก่ผู้ร้องบางส่วน แต่ก็เป็นการตกลงหลังจากที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินจาก ซ. และจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์แล้ว โดยโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะต้องนำสืบให้เห็นว่าโจทก์ไม่สุจริตเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานแต่ผู้ร้องมิได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าโจทก์สุจริต เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สิทธิของผู้ร้องผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมยังมิได้จดทะเบียน ผู้ร้องจึงไม่อาจยกสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิจำนองโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่อยู่แล้ว แต่ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนที่ดินของตนจากที่ดินที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์, สิทธิในที่ดิน, และการโอนสิทธิโดยสุจริต: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ส. และโจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และจำเลยจะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินส่วนพิพาทขึ้นต่อสู้ ส. และโจทก์ได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ส. ได้ที่ดินแปลงพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปี มิได้ให้การต่อสู้ว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าว จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สิทธิโดยอายุความและการซื้อขายโดยสุจริตของผู้โอนสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงพิพาทโดยจดทะเบียนซื้อมาจาก ส. จำเลยอยู่ในที่ดินส่วนพิพาทโดยอาศัย ส. ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนพิพาทด้วยความสงบ เปิดเผยและเจตนายึดถือเพื่อตนมาเป็นเวลาประมาณ25 ปีแล้ว จึงได้สิทธิโดยอายุความ โจทก์เพิ่งซื้อจาก ส. ในภายหลังจึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนี้คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากฟังได้ว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ส. และโจทก์ได้ที่ดินมาโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่และจำเลยจะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้ ส. และโจทก์ได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ส. ได้ที่ดินแปลงพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปีแล้ว มิได้ให้การว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทจาก บ. โดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏเป็นอย่างอื่น การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการสันนิษฐานความสุจริตของผู้โอนสิทธิที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยซื้อจาก ส. ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 25 ปีแล้ว มิได้ให้การต่อสู้ว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าว เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การได้มาโดยโฉนด การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดที่ดิน ซึ่งมี ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออก โฉนดที่ดินให้ ส. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 และเมื่อ ส. ขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. ที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วยย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ตามกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้ ส. ผู้มีกรรมสิทธิ์ไม่ได้ แม้จำเลยจะมีเจตนาครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่วันที่ออกโฉนดที่ดิน เป็นต้นไป ต่อมามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2533 เนื่องจากโจทก์ประมูลซื้อที่ดินดังกล่าวได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือนำสืบว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและกระทำการไม่สุจริตแล้ว โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต สิทธิการครอบครองปรปักษ์ของจำเลยจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตามมาตรา 1299 วรรคสอง การครอบครองปรปักษ์ที่มีอยู่ก่อนนั้นจึงสิ้นไป แม้หลังจากที่โจทก์รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามโฉนดที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์แล้ว จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ตั้งแต่ปี 2533 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8810/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า
จำเลยตกลงทำสัญญาเช่ารถยนต์คันพิพาทกับโจทก์ตามเอกสารซึ่งระบุว่า เป็นสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง มีกำหนด 48 เดือน ค่าเช่าเดือนละ 19,100 บาท หรือคิดเป็นเงินค่าเช่าทั้งหมด 916,800 บาท และเงินประกันการเช่าอีก 57,300 บาท เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าจำเลยจะซื้อทรัพย์สินที่ให้เช่าหรือรถยนต์คันพิพาทได้ในราคา 200,000 บาท จึงรวมเป็นเงินที่ผู้เช่าหรือจำเลยจะต้องชำระทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1,174,100 บาท โดยโจทก์คิดเป็นราคารถยนต์ คันพิพาทจำนวน 803,738.32 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 56,261.68 บาท สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่ง ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีความประสงค์ในทางสุจริตตามนัยแห่งมาตรา 6 และมาตรา 368 ว่า ต้องการจะใช้บังคับแก่กันในลักษณะเช่าทรัพย์หรือเช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จึงต้องอนุวัตน์ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญาดังกล่าวเป็นสำคัญ อีกทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาว่าด้วยทรัพย์สินที่เช่า ระยะเวลาการเช่า ค่าเช่าและเงินประกันการเช่า การประกันภัยและหน้าที่ของผู้เช่า การสูญหายและเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า การผิดสัญญา และการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่า ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของการเช่าทรัพย์สินตามนัยแห่งมาตรา 537 ถึงมาตรา 564 ทั้งสิ้น แม้จะมีข้อตกลงเป็นพิเศษที่กำหนดให้ผู้เช่าสามารถเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้โดยต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ให้เช่าทราบไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนสัญญาเช่าจะสิ้นสุดลงก็เป็นแต่เพียงข้อยกเว้นในทางให้สิทธิแก่ผู้เช่าบางประการในการเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ก็ได้เท่านั้น กรณีมิใช่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันมาตั้งแต่เริ่มแรกดังสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่งรายพิพาทจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาเจตนาและสุจริตในการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์ได้ติดรูปเครื่องหมายการค้าที่อ้างว่าจำเลยใช้กับกางเกงยีนของกลางอันเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมเข้ามาด้วยถึงแม้รูปเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ติดมาในฟ้องจะไม่ชัดเจนในรายละเอียด แต่ก็ยังเห็นได้ถึงลักษณะโครงสร้างที่เป็นสาระสำคัญได้ ซึ่งในชั้นพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมสามารถนำสืบโดยเสนอเครื่องหมายการค้าที่อ้างว่าจำเลยใช้กับกางเกงยีนซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบตามฟ้องได้ว่าคือเครื่องหมายการค้าตามภาพถ่ายกางเกงยีนของกลางเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าแบบเดียวกับเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.3 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในฟ้อง
เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับกางเกงยีนของกลาง แม้ว่าพิจารณาโดยรวมแล้วมีส่วนที่แตกต่างจากอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมสาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขาน คำว่า CANTONAส่วนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้ติดกางเกงยีนก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA และออกเสียงเรียกขานว่า คันโตนา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม นอกจากนี้แถบผ้าแสดงขนาดของกางเกงยีนของจำเลยก็ปักอักษรโรมันคำว่า CANTONA แสดงว่าตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนเช่นกัน มิใช่เป็นเพียงส่วนประกอบ ทั้งตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONAเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยมีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญแล้วแม้ตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ซึ่งต่างจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ธรรมดาก็ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าประเภทกางเกงของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้ จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดตามมาตรา 110(1)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CANTONA มาตั้งแต่ปี 2538 โจทก์ร่วมจึงได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และมีสิทธิที่จะห้ามผู้ใดปลอม หรือเลียนเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 53 ซึ่งการที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการขอให้เพิกถอนหรือนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 63 แต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับโจทก์ร่วมได้ผลิตกางเกงยีนใช้ชื่อในการประกอบการว่า กิจเจริญ มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี แล้ว โดยโจทก์และโจทก์ร่วมได้อ้างส่งกางเกงยีนที่โจทก์ร่วมผลิตและใช้เครื่องหมายการค้า CANTONA เป็นวัตถุพยาน พฤติการณ์จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อประกอบกิจการของโจทก์ร่วมโดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8845/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง
โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความทั้งมอบหนังสือยินยอมของภริยาซึ่งลงลายมือชื่อของภริยาโดยมิได้กรอกข้อความพร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ผู้อื่นไป แสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อมีผู้กรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอก จนบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก เพราะผู้รับซื้อฝากได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่าบุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก ทั้งผู้รับซื้อฝากเบิกความยืนยันความสุจริตของตนจึงต้องฟังว่าผู้รับซื้อฝากกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8845/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับซื้อฝากไม่ต้องรับผิด
โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ โดยมิได้กรอกข้อความทั้งมอบหนังสือยินยอมของภริยาซึ่งลงลายมือชื่อของภริยาโดยมิได้กรอกข้อความพร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ผู้อื่นไปแสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อมีผู้กรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอกจนบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก เพราะผู้รับซื้อฝาก ได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐาน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่าบุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก ทั้งผู้รับซื้อฝาก เบิกความยืนยันความสุจริตของตน จึงต้องฟังว่าผู้รับซื้อฝากกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก
of 29