คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9158/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดินโดยสุจริต & การครอบครองปรปักษ์: สิทธิของบุคคลภายนอกที่จดทะเบียน
ตามคำฟ้องคำให้การคดีฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส.เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมากกว่า 10 ปี แล้ว มิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินที่พิพาทโดยไม่สุจริต ดังนี้โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่จำเลยให้การว่าจำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนขึ้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคสอง และแม้จำเลยจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาการครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของจำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ คดีจึงไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปจึงชอบแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงจากคำฟ้องโจทก์ โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่า โจทก์กระทำการซื้อขายโดยสุจริตกล่าวคือ ได้มีการเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและมีการจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้มาในคำให้การว่า โจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตคดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ การที่จำเลยหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและสิทธิในการแบ่งแยกทรัพย์สิน: หลักสุจริตและข้อโต้แย้งสิทธิ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต" ดังนั้น การที่โจทก์และ ร.เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์หลอกลวง ร.ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม แต่พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ จึงถือว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาท ร.มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้น การที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ
โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริต ทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคแรก
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ร้อยตำรวจเอก ส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมโดยสุจริต และสิทธิในการขอแบ่งทรัพย์สินร่วม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์และร. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์หลอกลวงร. ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมแต่พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้จึงถือว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาทร. มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้นการที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริตทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่งโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1363วรรคแรก โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ร้อยตำรวจเอกส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและการระงับสิทธิ การโอนสิทธิการเช่า และความสุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายที่ดิน และสิทธิในการเรียกร้องความเสียหายจากโมฆะกรรม
การที่โจทก์ตกลงยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยจำเลยชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์มีผลเท่ากับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา31แล้วข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิยกเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172วรรคแรกที่แก้ไขใหม่การที่โจทก์มาฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้แทนบุคคลอื่นเป็นโมฆะ และสิทธิเรียกร้องความเสียหายจากโมฆะกรรม
การที่โจทก์ตกลงยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยจำเลยชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ มีผลเท่ากับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่)และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิยกเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดี จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ถูกขัดขวางด้วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ทำให้สิทธิขาดตอน
โจทก์อ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทของว.จนได้กรรมสิทธิ์แล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมาค. ซื้อที่ดินพิพาทจากว.เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณต่อค. ผู้ซื้อว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ถือว่าค.ซื้อที่ดินพิพาทจากว.โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันค. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองหลังจากนั้นจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้เพราะสิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้โจทก์จะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแต่การครอบครองในช่วงหลังที่ค. และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ10ปีก็จะถือว่าการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่ได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากค. โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเจ้าของเดิมขายให้ผู้ซื้อโดยสุจริต ทำให้ผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่อาจอ้างสิทธิยันผู้รับโอนต่อมาได้
โจทก์อ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทของว. จนได้กรรมสิทธิ์แล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมาค.ซื้อที่ดินพิพาทจากว. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณต่อค. ผู้ซื้อว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ถือว่าค. ซื้อที่ดินพิพาทจากว. โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันค. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองหลังจากนั้นจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้เพราะสิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้โจทก์จะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแต่การครอบครองในช่วงหลังที่ค. และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ10ปีก็จะถือว่าการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่ได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากค. โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ถูกขัดขวางด้วยการซื้อขายโดยสุจริต ผู้รับโอนต่อมาไม่ต้องรับผลกระทบ
โจทก์อ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทของ ว. จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่โจทก์มิได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ต่อมาค.ซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่อย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณต่อ ค.ผู้ซื้อว่ากระทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ถือว่า ค.ซื้อที่ดินพิพาทจาก ว.โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยัน ค.ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง หลังจากนั้นจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไร โจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้ เพราะสิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรก แม้โจทก์จะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่การครอบครองในช่วงหลังที่ ค.และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่าการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่ได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ค.โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่
of 29