พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศสิทธิหน้าท่าและการยกเลิกสัญญา การกระทำของจำเลยสุจริตเพื่อแก้ไขปัญหาความเสียหายทางเศรษฐกิจ
ก่อนปี 2530 จำเลยที่ 1 ไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าหรือที่เรียกว่าสิทธิหน้าท่า เรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ในขณะนั้น หากมีปั้นจั่นประจำเรือก็จะใช้ปั้นจั่นของตนยกตู้สินค้า หากเรือลำใดไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ ก็จะใช้ปั้นจั่นของจำเลยที่ 1 หรือของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เข้าไปรับจ้างยกตู้สินค้าโดยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าออกด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 มีนโยบายที่จะริเริ่มประกาศสิทธิหน้าท่า จึงได้สั่งซื้อปั้นจั่นเคลื่อนที่ชนิดเดินบนรางจำนวน 6 คัน จากประเทศยูโกสลาเวีย กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 520 วัน ได้มีบริษัทเอกชนมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอขอเข้าทำการรับจ้างขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าในช่วงเวลาที่รอการติดตั้งปั้นจั่นของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงส่งเรื่องให้จำเลยที่ 1 พิจารณา จำเลยที่ 1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียแล้ว เห็นชอบให้มีการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยให้เอกชนเข้ามารับจ้างเหมาขนถ่ายตู้สินค้า ครั้นวันที่26 พฤศจิกายน 2530 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมายกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือ ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ โดยใช้ปั้นจั่นเคลื่อนที่เริ่มลงมือทำงานภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา เมื่อโจทก์เริ่มปฏิบัติงานก็มีสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯได้ร้องเรียนต่อจำเลยที่ 1 รัฐบาล และคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนว่า การที่จำเลยที่ 1 ประกาศสิทธิหน้าท่าและจ้างเหมาให้โจทก์ยกตู้สินค้านั้นทำให้ตู้สินค้าแออัดที่หน้าท่า ความสามารถในการยกตู้สินค้าของโจทก์ไม่เพียงพอชมรมเดินเรือต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมความคับคั่งที่ท่าเรือกรุงเทพฯอันจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศชาติ กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือสั่งการให้จำเลยที่ 1 พิจารณาหาทางยกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์ และให้จำเลยที่ 1พิจารณาอนุญาตให้เรือบรรทุกสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงได้ ต่อมาวันที่31 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ประกาศสิทธิการยกตู้สินค้าหน้าท่าอนุญาตให้เรือสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงในบริเวณหน้าท่าเรือกรุงเทพฯ ได้เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 25 ของค่าธรรมเนียมการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าของจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้สิทธิหน้าท่าที่จำเลยที่ 1 ประกาศไว้แต่แรก โดยพื้นฐานของสิทธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทรงเอกสิทธิดังกล่าวย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอ และต้องสันนิษฐานไว้ก่อนตามป.พ.พ.มาตรา 6 ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริต มีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างเช่นนั้น แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า การประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดข้อท้วงติงและร้องเรียนจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะก่อปัญหาให้เกิดผลเสียหายเป็นการล่วงหน้าแล้ว ที่โจทก์อ้างว่าเป็นพฤติการณ์วางแผนต่อต้านเพื่อล้มการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยไม่สุจริต แต่จากเอกสารหมาย ล.60 ซึ่งเป็นหนังสือของบรรดาเจ้าของเรือขออนุญาตจำเลยที่ 2 ใช้ปั้นจั่นของเรือทำการขนถ่ายสินค้าเองรวม105 ฉบับ ด้วยเหตุขัดข้องล่าช้าอันเกิดจากการทำงานของโจทก์ที่สืบเนื่องจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น และยังปรากฏตามเอกสารหมายล.26 ถึง ล.51 อันเป็นใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของโจทก์จากจำเลย และบันทึกรายงานการตรวจการจ้างของบริษัทโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.20ข้อ 16, 17 และ 18 ต้องถูกหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาคือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2531 ตลอดมาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2532 เป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ชัดว่า การประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1และความล่าช้าในการทำงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความแออัดคับคั่งที่หน้าท่าเป็นผลเสียหายดังที่ได้มีการร้องเรียนก่อนหน้านั้นจริง การร้องเรียนต่อต้านล่วงหน้าของบรรดาผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว จึงเป็นการคาดการณ์โดยสุจริตและถูกต้องตามความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องให้แก้ไขซึ่งปรากฏรายละเอียดตามบันทึกรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2531มีการแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผล ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดแก่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทุกแง่มุมโดยละเอียดจากผู้แทนของหน่วยราชการต่าง ๆ ตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ความชัดว่า หากไม่มีการแก้ไขจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวมรุนแรงต่อไปด้วย ดังนี้ การประกาศยกเลิกสิทธิหน้าท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ และอนุญาตให้เรือสินค้าที่มีปั้นจั่นบนเรือยกตู้สินค้าขึ้นลงได้เองนั้น จำเลยที่ 1 ได้กระทำสืบเนื่องจากผลการประชุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการรับฟังพิเคราะห์ความเห็นและเหตุผลของทุกฝ่ายโดยรอบคอบแล้ว เป็นการใช้อำนาจในการบริหารตามเอกสิทธิของตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริงและเหตุผลเพื่อระงับและป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องตลอดจนความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวมโดยสุจริตและเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์มีส่วนก่อขึ้นโดยตรงด้วย จึงหาใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหน้าท่า การใช้สิทธิโดยสุจริต และการแก้ไขสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
ก่อนปี2530จำเลยที่1ไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าหรือที่เรียกว่าสิทธิหน้าท่าเรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพฯในขณะนั้นหากมีปั้นจั่นประจำเรือก็จะใช้ปั้นจั่นของตนยกตู้สินค้าหากเรือลำใดไม่มีหรือมีไม่เพียงพอก็จะใช้ปั้นจั่นของจำเลยที่1หรือของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากจำเลยที่1ให้เข้าไปรับจ้างยกตู้สินค้าโดยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าออกด้วยต่อมาจำเลยที่1มีนโยบายที่จะริเริ่มประกาศสิทธิหน้าท่าจึงได้สั่งซื้อปั้นจั่นเคลื่อนที่ชนิดเดินบนรางจำนวน6คัน จากประเทศยูโกสลาเวีย กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน520วันได้มีบริษัทเอกชนมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอขอเข้าทำการการรับจ้างขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าในช่วงเวลาที่รอการติดตั้งปั้นจั่นของจำเลยที่1ดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงส่งเรื่องให้จำเลยที่1พิจารณาจำเลยที่1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียแล้วเห็นชอบให้มีการประกาศสิทธิหน้าที่โดยให้เอกชนเข้ามารับจ้างเหมาขนถ่ายตู้สินค้าครั้งวันที่26พฤศจิกายน2530โจทก์กับจำเลยที่1จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมายกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือณท่าเรือกรุงเทพฯโดยใช้ปั้นจั่นเคลื่อนที่เริ่มลงมือทำงานภายใน90วันนับแต่วันทำสัญญาเมื่อโจทก์เริ่มปฏิบัติงานก็มีสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯได้ร้องเรียนต่อจำเลยที่1รัฐบาลและคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนว่าการที่จำเลยที่1ประกาศสิทธิหน้าท่าและจ้างเหมาให้โจทก์ยกตู้สินค้านั้นทำให้ตู้สินค้าแออัดที่หน้าท่าความสามารถในการยกตู้สินค้าของโจทก์ไม่เพียงพอชมรมเดินเรือต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมความคับคั่งที่ท่าเรือกรุงเทพฯอันจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศชาติกระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือสั่งการให้จำเลยที่1พิจารณาหาทางยกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์และให้จำเลยที่1พิจารณาอนุญาตให้เรือบรรทุกสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขั้นลงได้ต่อมาวันที่31พฤษภาคม2531จำเลยที่1ได้ประกาศสิทธิการยกตู้สินค้าหน้าท่าอนุญาตให้เรือสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงในบริเวณหน้าท่าเรือกรุงเทพฯได้เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยที่1ในอัตราร้อยละ25ของค่าธรรมเนียมการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าของจำเลยที่1แล้วดังนี้สิทธิหน้าที่จำเลยที่1ประกาศไว้แต่แรกโดยพื้นฐานของสิทธิจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ทรงเอกสิทธิดังกล่าวย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอและต้องสันนิษฐานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่1กระทำการโดยไม่สุจริตมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างเช่นนั้นแต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาได้ความว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดข้อท้วงติงและร้องเรียนจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะก่อปัญหาให้เกิดผลเสียหายเป็นการล่วงหน้าแล้วที่โจทก์อ้างว่าเป็นพฤติการณ์วางแผนต่อต้านเพื่อล้มการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยไม่สุจริตแต่จากเอกสารหมายจ.60ซึ่งเป็นหนังสือของบรรดาเจ้าของเรือขออนุญาตจำเลยที่2ใช้ปั้นจั่นของเรือทำการขนถ่ายสินค้าเองรวม105ฉบับด้วยเหตุขัดข้องล่าช้าอันเกิดจากการทำงานของโจทก์ที่สืบเนื่องจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1ทั้งสิ้นและยังปรากฎตามเอกสารหมายล.26ถึงล.51อันเป็นใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของโจทก์จากจำเลยและบันทึกรายงานการตรวจการจ้างของบริษัทโจทก์ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจ.20ข้อ16,17และ18ต้องถูกหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยที่1ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาคือวันที่25กุมภาพันธ์2531ตลอดมาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม2532เป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ชัดว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1และความล่าช้าในการทำงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความแออัดคับคั่งที่หน้าท่าเป็นผลเสียหายดังที่ได้มีการร้องเรียนก่อนหน้านั้นจริงการร้องเรียนต่อต้านล่วงหน้าของบรรดาผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวจึงเป็นการคาดการณ์โดยสุจริตและถูกต้องตามความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องให้แก้ไขซึ่งปรากฎรายละเอียดตามบันทึกรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวันที่13พฤษภาคม2531มีการแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลตลอดจนผลเสียหายที่เกิดแก่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทุกแง่มุมโดยละเอียดจากผู้แทนของหน่วยราชการต่างๆตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ชัดว่าหากไม่มีการแก้ไขจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวมรุนแรงต่อไปด้วยดังนี้การประกาศยกเลิกสิทธิหน้าท่าณท่าเรือกรุงเทพฯและอนุญาตให้เรือสินค้าที่มีปั้นจั่นบนเรือยกตู้สินค้าขึ้นลงได้เองนั้นจำเลยที่1ได้กระทำสืบเนื่องจากผลการประชุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการรับฟังพิเคราะห์ความเห็นและเหตุผลของทุกฝ่ายโดยรอบคอบแล้วเป็นการใช้อำนาจในการบริหารตามเอกสิทธิของตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริงและเหตุผลเพื่อระงับและป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องตลอดจนความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวมโดยสุจริตและเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์มีส่วนก่อขึ้นโดยตรงด้วยจึงหาใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามพินัยกรรมเกินขนาดที่ดิน และการฟ้องขับไล่จากผู้ซื้อสิทธิในมรดก
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทมีคดีจนสู่ศาลฎีกาการรับโอนที่ดินจากการซื้อขายมาเป็นของโจทก์แล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตนั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และการกระทำใดสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงและมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยภริยาที่ไม่ยินยอม และผลของการสันนิษฐานความสุจริตของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 จะสมรสกันก่อน ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ต้องนำ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาใช้บังคับจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ และจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สุจริตอย่างไร โจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายและจำนองสินสมรสโดยบุคคลภายนอกที่สุจริต: โจทก์ต้องพิสูจน์ความไม่สุจริต
เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้โจทก์และจำเลยที่1จะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับจำเลยที่1ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่2โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์และจำเลยที่2นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่3แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่3ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3ไม่สุจริตอย่างไรโจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่2และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การฟ้องขับไล่, และประเด็นการนำสืบพยานในศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริตจำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณาโจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา2ครั้งเป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติเพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง7วันแสดงว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริตมูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตามแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่2มีนาคม2524จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายเป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท274,665บาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665บาทฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค1กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000บาทจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การฟ้องขับไล่, และการยกข้ออ้างเรื่องความไม่สุจริตในการโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบแต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาและคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยสุจริต, การไม่คัดค้านในชั้นศาล, และประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาล
ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ
จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000 บาท จึงชอบแล้ว
จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดสุจริตและการคุ้มครองสิทธิ การคัดค้านการออกโฉนดไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อและรับโอนสิทธิครอบครองมาจาก ช. ต่อมาโจทก์ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านการขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่า จำเลยซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1206 จากการขายทอดตลาดของศาล โจทก์เพิ่งทราบว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยดังกล่าวออกมาทับที่ดินของโจทก์ทั้งแปลง การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด แม้จะให้โจทก์สืบพยานหลักฐานไปตามคำฟ้องก็คงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยซื้อที่ดินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดของศาล สิทธิของจำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และการที่จำเลยไปคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ก็เป็นการใช้สิทธิของตนตามกฎหมายหาได้เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพและการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของเดิม
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้นแม้ ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ผ.สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาได้ไม่
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว