พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องพ้นระยะห้ามโอน
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้น แม้ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากผ. สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากบัญชีเบิกเกินสัญญา และดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาสิ้นสุด
จำเลยขอเลื่อนการพิจารณามาแล้วครั้งหนึ่ง อ้างเหตุป่วยและยืนยันว่านัดหน้าจะไม่ขอเลื่อนอีก พยานมาเท่าใดก็สืบเพียงนั้น และถ้าพยานไม่มาเลยก็ไม่ติดใจสืบเมื่อถึงวันนัดหลังจากสืบตัวจำเลยแล้ว ไม่มีพยานอื่นมาศาลศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว แม้ว่าพยานที่ไม่มาดังกล่าวจะเป็นพยานหมายซึ่งไม่ยอมรับหมายก็ไม่ใช่เหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี มีเงื่อนไขว่าจำเลย จะยอมชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆ และโดยไม่อิดเอื้อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลง โจทก์ย่อมมีสิทธิ์ตามเงื่อนไขในการรับเปิดบัญชีเดินสะพัด โดยหักจากเงินฝากประจำของจำเลยชำระหนี้โจทก์ได้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้การที่โจทก์ได้นำเพียงดอกเบี้ยจากเงินของจำเลยมาหักหนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2526 โดยไม่นำเงินฝากทั้งหมด มาหักหนี้เพราะบัญชีเดินสะพัดยังไม่สิ้นสุดลง แต่ต่อมาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์นำต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย จากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง และหลังจากวันนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลย เบิกเงินเกินบัญชีอีก ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงิน เข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด vs. สิทธิครอบครองเดิม ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิเหนือกว่าหากผู้ครอบครองไม่คัดค้าน
กรณีการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 ผู้ครอบครองทรัพย์จะรู้หรือไม่ว่ามีการขายทอดตลาดก็หาเป็นเหตุที่จะยกขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน-พิพาทมาโดยตลอด แต่จำเลยมิได้ร้องคัดค้านเสียตั้งแต่ต้น กลับปล่อยให้มีการขายทอดตลาดจนสำเร็จบริบูรณ์โดยโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวไปแล้ว สิทธิครอบ-ครองของจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5431/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด สิทธิของผู้ซื้อ vs. ผู้ครอบครองเดิม
กรณีการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ผู้ครอบครองทรัพย์จะรู้หรือไม่ว่ามีการขายทอดตลาดก็หาเป็นเหตุที่จะยกขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยตลอด แต่จำเลยมิได้ร้องคัดค้านเสียตั้งแต่ต้นกลับปล่อยให้มีการขายทอดตลาดจนสำเร็จบริบูรณ์โดยโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวไปแล้ว สิทธิครอบครองของจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ขัดกับสิทธิของเจ้าของเดิมที่ได้โอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองปรปักษ์ที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และจำเลยที่ 1 จะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ได้หรือไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ เดิมที่ดินพิพาทมีชื่อ ม. บิดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2664 ม. ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้วจำเลยที่ 1 จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งจำเลยที่ 1อาจอ้างสิทธินี้ยัน ม. ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมได้ แต่ตามมาตรา 1299 วรรคสอง สิทธิของจำเลยที่ 1 อันยังมิได้จดทะเบียนนั้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการซื้อจากเจ้าของเดิมมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและตามมาตรา 6 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการ โดยสุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับ โอนที่ดินพิพาทจาก ม.โดยไม่สุจริต จึงต้องฟังว่าโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ม. โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ดังนั้นสิทธิการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์นับเวลาใหม่ยังไม่ถึงสิบปี จำเลยที่ 1 จึงอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ยันโจทก์มิได้เช่นกันจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์และการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนเพราะโจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมานานกว่า 20 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยกลับนำสืบว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ด.ย่าของจำเลยด. มีที่ดินอยู่2 แปลง คือที่พิพาทและที่ดิน ส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ที่ดิน ส.ค.1ซึ่งเป็นที่ป่านั้น เดิมจำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดินมีโฉนด ส่วนที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด จำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดิน ส.ค.1 ที่ดินส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ย. บิดาจำเลยได้โอนให้แก่ น. ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า ที่ดินที่ น.เจ้ามรดกซื้อมาจาก ย. บิดาจำเลย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2480 เป็นที่ป่าคนละแปลงกับที่พิพาทและการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่ากรณีเช่นนี้จึงน่าเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดกัน คือ ย. ตกลงขายที่ดินที่เป็นที่ป่าให้แก่ น. จึงเป็นเรื่องสำคัญผิดในหลักฐานของที่ดิน น.ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินป่าแปลงนั้น หาได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไม่ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของ ย.อยู่เมื่อย. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายหรือไม่ และโจทก์รับซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ด้วย แม้ว่าปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยมา คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปเสียเองทีเดียวได้แล้วก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยได้ หากผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย: สุจริตของผู้ซื้อเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำให้การข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่จำเลยเป็นเลขานุการและเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์ และมีผู้ปลอมลายมือชื่อของมารดาโจทก์ลงในหนังสือให้ความยินยอม นิติกรรมการซื้อขายจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าได้รับโอนมาไม่สุจริต ที่บรรยายว่าจำเลยเป็นเลขานุการและภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์นั้น หาใช่ว่าจำเลยจะได้กระทำโดยไม่สุจริตไม่ และที่บรรยายว่าลายมือชื่อของมารดาโจทก์ปลอมนั้นก็มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือร่วมรู้เห็นในการปลอมด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินและตึกพิพาทมาโดยสุจริต ตามคำฟ้องและคำให้การจึงฟังเป็นยุติได้แล้วว่า ขณะที่ทำนิติกรรมการซื้อขายนั้นจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย: การสุจริตของบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่า ตามคำฟ้องและคำให้การข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์บิดาโจทก์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่จำเลยเป็นเลขานุการและเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์ และมีผู้ปลอมลายมือชื่อของมารดาโจทก์ลงในหนังสือให้ความยินยอม นิติกรรมการซื้อขายจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าได้รับโอนมาไม่สุจริต ที่บรรยายว่าจำเลยเป็นเลขานุการและภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์นั้น หาใช่ว่าจำเลยจะได้กระทำโดยไม่สุจริตไม่ และที่บรรยายว่าลายมือชื่อของมารดาโจทก์ปลอมนั้นก็มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือร่วมรู้เห็นในการปลอมด้วย ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินและตึกพิพาทมาโดยสุจริต ตามคำฟ้องและคำให้การจึงฟังเป็นยุติได้แล้วว่าขณะที่ทำนิติกรรมการซื้อขายนั้นจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ที่ดินและตึกพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์บิดาโจทก์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่จำเลยเป็นเลขานุการและเป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์ และมีผู้ปลอมลายมือชื่อของมารดาโจทก์ลงในหนังสือให้ความยินยอม นิติกรรมการซื้อขายจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าได้รับโอนมาไม่สุจริต ที่บรรยายว่าจำเลยเป็นเลขานุการและภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโจทก์นั้น หาใช่ว่าจำเลยจะได้กระทำโดยไม่สุจริตไม่ และที่บรรยายว่าลายมือชื่อของมารดาโจทก์ปลอมนั้นก็มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมหรือร่วมรู้เห็นในการปลอมด้วย ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินและตึกพิพาทมาโดยสุจริต ตามคำฟ้องและคำให้การจึงฟังเป็นยุติได้แล้วว่าขณะที่ทำนิติกรรมการซื้อขายนั้นจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่เกินกรอบประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และประเด็นที่จำเลยมิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา
ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 และที่ 2ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของตน แต่อ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดาจึงมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าในขณะยื่นคำฟ้องที่พิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ5,000 บาท หรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ ราคา ที่ตั้งและสภาพทั่ว ๆ ไปของที่พิพาทแล้ว อาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ก็ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา ตามคำร้องสอดของจำเลยที่ 3 มิได้กล่าวอ้างหรือยกประเด็นในเรื่ององค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตไว้ ทั้ง ๆ ที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายตนที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่โจทก์ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและโจทก์รับโอนที่พิพาทไว้โดยสุจริตหรือไม่ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อฝากโดยสุจริตและผลกระทบของลายมือชื่อที่ไม่สมบูรณ์ต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 รับซื้อฝากที่พิพาทโดยทุจริตแต่อย่างใด โจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจขายฝากที่พิพาทเท่านั้น จำเลยที่ 2ที่ 3 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า รับซื้อฝากที่พิพาทไว้โดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6
การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความไว้ ภายหลังจำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากที่พิพาทให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือจำเลยที่ 1 ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากดังกล่าว
การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความไว้ ภายหลังจำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากที่พิพาทให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือจำเลยที่ 1 ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากดังกล่าว