พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองโดยผู้แทนที่ไม่ชอบ ธนาคารสุจริตมีสิทธิบังคับได้ ผู้รับมรดกไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยและผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกในที่ดินร่วมกัน จำเลยไปโอนรับมรดกที่ดินใส่ชื่อตนแต่ผู้เดียว ครั้นแล้วจำเลยนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดังนี้ นิติกรรมการจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยมีผลสมบูรณ์ ธนาคารโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มตามสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของผู้ร้องจากจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1046/2480)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการรับโอนโดยสุจริต: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการต่อสู้สิทธิในที่ดิน
สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมอันยังมิได้จดทะเบียน ที่มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตามมาตรา 1299 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นถ้าคู่ความมิได้ตั้งประเด็นยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำฟ้องคำให้การ ย่อมไม่เป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยปรับแก่คดีได้ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนกรรมสิทธิ์ผิดพลาด-ครอบครองปรปักษ์: แม้ชื่อในโฉนดไม่ตรง การครอบครองโดยสงบเปิดเผย ย่อมมีผลเหนือกว่า
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง ซึ่งเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกันได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กันมาหลายทอดโดยโอนโฉนดไขว้สับกันด้วยความเข้าใจผิดแต่โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินถูกต้องตลอดมาดังนี้ แม้จำเลยจะมีชื่อในโฉนด ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจำเลยมิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่โจทก์ย่อมขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงตามความจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผิดพลาด ผู้ครอบครองโดยสงบและเปิดเผยมีสิทธิ แม้ชื่อในโฉนดไม่ตรง
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง ซึ่งเดิมเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน. ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กันมาหลายทอด. โดยโอนโฉนดไขว้สับกันด้วยความเข้าใจผิด.แต่โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินถูกต้องตลอดมา.ดังนี้ แม้จำเลยจะมีชื่อในโฉนด ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจำเลยมิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่.โจทก์ย่อมขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแลกเปลี่ยนกัน.และจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงตามความจริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-997/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินออกทับที่ดินเดิม เจ้าของเดิมมีสิทธิ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
คำให้การสู้คดีของจำเลยได้ตั้งประเด็นข้อต่อสู้ไว้ว่า โฉนดที่ 2884 ของโจทก์ออกทับที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของมาก่อน โฉนดที่ 2884 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ขอออกโฉนดจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโฉนดที่ 2884 ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการนอกประเด็น
ผู้โอนขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่น และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดให้โดยไม่มีอำนาจ โฉนดที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้โอนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ การที่ผู้โอนได้โอนโฉนดดังกล่าวให้ผู้อื่นต่อไปจึงเป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีกรรมสิทธิ์ และหาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับโอนไม่ (อ้างฎีกาที่ 897/2477)
เมื่อโฉนดซึ่งเป็นหลักฐานทางทะเบียนออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้กรรมสิทธิ์ทางทะเบียน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินมาตั้งแต่เดิมไม่ได้
ผู้โอนขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่น และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดให้โดยไม่มีอำนาจ โฉนดที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้โอนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ การที่ผู้โอนได้โอนโฉนดดังกล่าวให้ผู้อื่นต่อไปจึงเป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีกรรมสิทธิ์ และหาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับโอนไม่ (อ้างฎีกาที่ 897/2477)
เมื่อโฉนดซึ่งเป็นหลักฐานทางทะเบียนออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้กรรมสิทธิ์ทางทะเบียน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินมาตั้งแต่เดิมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 1299 วรรคสอง ไม่จำเป็นต้องได้มาทั้งแปลง
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ตามฎีกานี้คือที่ดิน)ตามมาตรา 1299 วรรคสองนั้น หมายความว่า ได้มาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งก็ใช้ได้เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นการได้มาทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672-675/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินมีตราจอง: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย, การครอบครองปรปักษ์ และผลของตราจอง
ที่ดินมีตราจองออกโดยชอบเมื่อ พ.ศ.2465 และเมื่อพ.ศ.2468 ได้บันทึกไว้ว่าได้ทำประโยชน์แล้วต่อมาได้ถูกโอนกันมาหลายทอดจนกระทั่ง พ.ศ.2495 จึงตกมาเป็นของโจทก์โดยโจทก์รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตจากจ. เจ้าของเดิม และการซื้อขายฝากนี้กระทำกันโดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียนที่ดินจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินรายเดียวกันนี้โดยจำเลยซื้อจากผู้อื่นเมื่อ พ.ศ.2484,2485 และ 2496 แต่สัญญาของจำเลยกระทำกันที่อำเภอจึงไม่ใช่เป็นการได้สิทธิโดยชอบทางทะเบียน เพราะที่ดินรายนี้มีตราจองแล้วการจดทะเบียนที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนที่ดินจำเลยจึงยกสิทธิในการที่ได้ซื้อที่ดินนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การที่มีหมายเหตุแจ้งไว้ในตราจองว่า เมื่อไม่ทำประโยชน์ ทอดทิ้งไว้เกิน 3 ปี ต้องเป็นที่ว่างเปล่านั้นเป็นเพียงระยะเวลาให้ทำประโยชน์เสียภายในกำหนด 3 ปีตราจองที่บันทึกว่าทำประโยชน์แล้วกฎหมายให้ถือว่าเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ ซึ่งหมายความว่ามีผลเท่ากับโฉนด ดังนั้นโจทก์จะเสียกรรมสิทธิก็ต่อเมื่อจำเลยได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์อันมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่กำหนดเวลา 3 ปีดังกล่าวนั้น โจทก์รับซื้อฝากไว้ได้เพียงประมาณ7 ปี แม้จำเลยจะครอบครองมาก่อนเกิน 10 ปีก็ไม่อาจใช้ยันโจทก์ได้
การที่มีหมายเหตุแจ้งไว้ในตราจองว่า เมื่อไม่ทำประโยชน์ ทอดทิ้งไว้เกิน 3 ปี ต้องเป็นที่ว่างเปล่านั้นเป็นเพียงระยะเวลาให้ทำประโยชน์เสียภายในกำหนด 3 ปีตราจองที่บันทึกว่าทำประโยชน์แล้วกฎหมายให้ถือว่าเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ ซึ่งหมายความว่ามีผลเท่ากับโฉนด ดังนั้นโจทก์จะเสียกรรมสิทธิก็ต่อเมื่อจำเลยได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์อันมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่กำหนดเวลา 3 ปีดังกล่าวนั้น โจทก์รับซื้อฝากไว้ได้เพียงประมาณ7 ปี แม้จำเลยจะครอบครองมาก่อนเกิน 10 ปีก็ไม่อาจใช้ยันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินโดยการครอบครองเกิน 10 ปี ไม่สามารถใช้ยันสิทธิโจทก์ผู้รับจำนองได้ ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์ในทางบังคับคดี
การที่ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่าได้แบ่งที่ดินกับจำเลยเป็นส่วนสัดแน่นอนและต่างได้ครอบครองส่วนที่แบ่งกันมาเกิน 10 ปีแล้วนั้นถือว่าผู้ร้องอ้างว่าตนได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมซึ่งโดยมาตรา 1299 วรรคสอง สิทธิของผู้ได้มาคือผู้ร้องหากยังมิได้จดทะเบียนแล้วจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกคือโจทก์ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต.และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วคือรับจำนองที่ดินตามโฉนดนี้ในส่วนของจำเลยไว้โดยมิได้เจาะจงว่าเป็นส่วนไหน ตอนใด หาได้ไม่
ดังนั้นเมื่อได้ความว่าโจทก์เจ้าหนี้จำนองนำยึดที่ดินมีชื่อจำเลยและผู้ร้องเพื่อชำระหนี้ การที่ผู้ร้องร้องคัดค้านว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องครึ่งหนึ่งและผู้ร้องกับจำเลยได้แบ่งที่ดินกันครอบครองเป็นส่วนสัดแน่นอนเกินกว่า10 ปี แล้วผู้ร้องจึงขอให้ขายที่ดินที่ยึดมาเฉพาะส่วนของจำเลยนั้นเมื่อข้ออ้างการแบ่งทรัพย์ของผู้ร้องจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ไม่ได้แล้วต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ถูกยึดทรัพย์ย่อมครอบไปเหนือที่ดินทั้งหมดและที่การที่ผู้ร้องร้องขอให้ขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยก็ตามก็มีผลเท่ากับขอให้ปล่อยทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ผู้ร้องจะต้องอ้างว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์ที่ยึด ผู้ร้องจึงดำเนินคดีทางร้องขัดทรัพย์ไม่ได้โจทก์นำยึดที่ดินแปลงนี้ทั้งหมดได้แต่ผู้ร้องย่อมมีทางที่จะเรียกขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 981/2492
ดังนั้นเมื่อได้ความว่าโจทก์เจ้าหนี้จำนองนำยึดที่ดินมีชื่อจำเลยและผู้ร้องเพื่อชำระหนี้ การที่ผู้ร้องร้องคัดค้านว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องครึ่งหนึ่งและผู้ร้องกับจำเลยได้แบ่งที่ดินกันครอบครองเป็นส่วนสัดแน่นอนเกินกว่า10 ปี แล้วผู้ร้องจึงขอให้ขายที่ดินที่ยึดมาเฉพาะส่วนของจำเลยนั้นเมื่อข้ออ้างการแบ่งทรัพย์ของผู้ร้องจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ไม่ได้แล้วต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ของจำเลยผู้ถูกยึดทรัพย์ย่อมครอบไปเหนือที่ดินทั้งหมดและที่การที่ผู้ร้องร้องขอให้ขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยก็ตามก็มีผลเท่ากับขอให้ปล่อยทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ผู้ร้องจะต้องอ้างว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์ที่ยึด ผู้ร้องจึงดำเนินคดีทางร้องขัดทรัพย์ไม่ได้โจทก์นำยึดที่ดินแปลงนี้ทั้งหมดได้แต่ผู้ร้องย่อมมีทางที่จะเรียกขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 981/2492
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การฟ้องรอนสิทธิและการพิสูจน์ความสุจริตของผู้รับโอน
เมื่อโจทก์ใช้สิทธิทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยมากว่า30 ปี โจทก์ย่อมได้ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งเรียกว่า"ภาระจำยอม" บนที่ดินของจำเลยโดยทางอายุความ เมื่อยังไม่จดทะเบียนจึงเข้าข่ายบังคับของ มาตรา 1299 วรรคสองเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทรงทรัพยสิทธิภาระจำยอมและถูกจำเลยรอนสิทธิ เพียงเท่านี้ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172แล้ว ข้อจำเลยได้รับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ไม่จำเป็นต้องกล่าวเพราะเป็นประเด็นอีกข้อหนึ่งเพิ่มเติมจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าว ต่อเมื่อจำเลยกล่าวอ้างขึ้นก็เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบกันต่อไป