คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1299 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินที่มิใช่ของตน
ช. และ ป. ยกที่ดินพิพาทให้ ภ. มารดาโจทก์ แม้การให้จะไม่สมบูรณ์เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของ ภ. จากบุคคลอื่น ภ. ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตั้งแต่ได้รับการยกให้ตลอดมาจนถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรได้ครอบครองต่อมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ดังนั้น การที่ ป. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของตนเองให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการบังคับไถ่จำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยไถ่จำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301
ธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
ทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิมในศาลชั้นต้น 80,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 5,000 บาท เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิมรดกแทนที่ vs. สิทธิจำนองบุคคลภายนอกสุจริต: การคุ้มครองสิทธิผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทน
ผู้ร้องได้ที่ดินของ ห. โดยการรับมรดกแทนที่ ถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ผู้ร้องกับ ซ. ผู้จัดการมรดกของ ห. มีคดีฟ้องร้องกัน แม้ต่อมา ซ. และจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนที่ดินจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์นำมาแบ่งแยกและโอนให้แก่ผู้ร้องบางส่วน แต่ก็เป็นการตกลงหลังจากที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินจาก ซ. และจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์แล้ว โดยโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะต้องนำสืบให้เห็นว่าโจทก์ไม่สุจริตเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานแต่ผู้ร้องมิได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าโจทก์สุจริต เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สิทธิของผู้ร้องผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมยังมิได้จดทะเบียน ผู้ร้องจึงไม่อาจยกสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิจำนองโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่อยู่แล้ว แต่ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนที่ดินของตนจากที่ดินที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิผู้รับจำนองสุจริต: การบรรยายข้อโต้แย้งในคำร้องขอ
สิทธิของผู้ร้องเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้อยู่ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แต่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็น ข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9740/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นผลสำเร็จ แม้ยังมิได้จดทะเบียน หากผู้โอนสิทธิแต่ละทอดไม่สุจริต สิทธิผู้ครอบครองไม่ขาดตอน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะยังมิได้จดทะเบียนการได้มา ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บริษัท ฟ. ผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตได้
หลังจากซื้อที่ดินพิพาทมาแล้ว บริษัท ฟ. ได้โอนขายแก่บริษัท ร. ต่อมาบริษัท ร. โอนขายแก่จำเลย โดยจำเลยกับบริษัท ฟ. และบริษัท ร. เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนล้วนเป็นบุคคลชุดเดียวกัน การจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันเป็นทอด ๆ ตามลำดับดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับโอนทางทะเบียนแต่ละทอดรับโอนโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์จึงไม่ขาดตอนและสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยซึ่งมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การได้มาโดยโฉนด การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดที่ดิน ซึ่งมี ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออก โฉนดที่ดินให้ ส. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 และเมื่อ ส. ขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. ที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วยย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ตามกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้ ส. ผู้มีกรรมสิทธิ์ไม่ได้ แม้จำเลยจะมีเจตนาครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่วันที่ออกโฉนดที่ดิน เป็นต้นไป ต่อมามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2533 เนื่องจากโจทก์ประมูลซื้อที่ดินดังกล่าวได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือนำสืบว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและกระทำการไม่สุจริตแล้ว โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต สิทธิการครอบครองปรปักษ์ของจำเลยจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตามมาตรา 1299 วรรคสอง การครอบครองปรปักษ์ที่มีอยู่ก่อนนั้นจึงสิ้นไป แม้หลังจากที่โจทก์รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามโฉนดที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์แล้ว จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ตั้งแต่ปี 2533 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์สำเร็จ แม้ยังมิได้จดทะเบียน การซื้อโดยไม่สุจริตมีผลผูกพัน
ผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองที่พิพาททั้งสามแปลงไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตั้งแต่ปี 2518 ตลอดมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาเกินสิบปีแล้ว และเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลฟ้องขับไล่ผู้ร้องทั้งสองออกจากที่พิพาทดังกล่าว ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันผู้คัดค้านและผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของคดีดังกล่าวให้ฟังได้ว่าผู้คัดค้านซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงโดยไม่สุจริต แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยังไม่จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาททั้งสามแปลง ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้คัดค้านได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คดีนี้ไม่เป็นการร้องขอซ้ำกับคดีของศาลชั้นต้นที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องทั้งสองเรื่องละเมิดและขับไล่ออกจาก ที่พิพาท เพราะคดีดังกล่าวแม้ผู้ร้องทั้งสองจะฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาททั้งสามแปลง แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว โดยถือว่าผู้ร้องทั้งสองสละประเด็นแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน กรณีจึงยังมิได้มีการวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งสามแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6819/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ทำให้ระยะเวลาครอบครองเดิมสิ้นสุดลง และต้องนับระยะเวลาใหม่
ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2526 ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2530 ส. เจ้าของที่ดินพิพาทเดิม จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ย่อมใช้ยันผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองปกปักษ์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาก็ตาม ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ที่มี อยู่แล้วนั้นย่อมสิ้นสุดลง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ใหม่ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททางทะเบียน แต่เมื่อนับถึงวันที่ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ยังไม่ครบ 10 ปี ผู้ร้องย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องจดทะเบียนเพื่อใช้ยันสิทธิของผู้อื่น การฟ้องขับไล่เริ่มนับจากวันจดทะเบียน
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าว จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการจดทะเบียนสิทธิ: สิทธิใครเหนือกว่าเมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปีโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้
of 14