พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินโฉนด เจ้าของรวม การเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าของ และผลต่อการต่อสู้คดี
จำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก็เท่ากับว่าจำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ในส่วนที่โจทก์เองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย แม้ภายหลังโจทก์จะรับโอนที่ดินจากผู้มีกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นจนโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดดังกล่าวเพียงคนเดียวก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยจึงยกเอาการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์รวมภายหลัง ผู้รับโอนยังยกข้อต่อสู้ได้
ที่ดินที่มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีผู้ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มา การที่เจ้าของรวมคนอื่นโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของเจ้าของรวมคนหนึ่งเพียงคนเดียว ไม่ถือว่าเจ้าของรวมผู้รับโอนนั้นเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคสองผู้ครอบครองปรปักษ์ยกเอาการได้มาขึ้นต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้สิทธิในที่ดินตกเป็นของผู้ครอบครอง
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ก่อนตกลงซื้อที่ดินพิพาท โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ปลูกพืชผลและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแม้จะยังมิได้จดทะเบียนก็ยกเป็นข้อต่อสู้ โจทก์ซึ่งมิได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิจากเจ้าของเดิม โจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงเรื่องที่จำเลยเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงปลา คดีจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าเพื่อเลี้ยงปลาที่โจทก์ที่ 2และที่ 3 ฎีกาว่า การเช่าที่ดินของจำเลยซึ่งเช่าจากโจทก์ที่ 2และที่ 3 ได้มีการเปลี่ยนลักษณะของการเช่าที่ดินจากการเช่าเพื่อทำนามาเป็นการเช่าเพื่อเลี้ยงปลา ย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและให้จำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าแล้ว โจทก์ที่ 2และที่ 3 จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นแห่งคดีศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทน
แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงคำพิพากษาที่บังคับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย หาใช่ทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่เมื่อก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษานั้น ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กรณีจึงมีเหตุรอนสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ และตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนนั้นให้กำหนดแก่บุคคลดังต่อไปนี้(1) เจ้าของทรัพย์ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน ฯลฯ โจทก์ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนและการซื้อขายที่ดินผิดแปลง ศาลฎีกาตัดสินว่าการฟ้องสำนวนหลังไม่เป็นการฟ้องซ้อน
คำฟ้องสำนวนแรกโจทก์อ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 อันเป็นการกล่าวอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคำฟ้องสำนวนหลังโจทก์อ้างการได้มาโดยการที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม เมื่อคำฟ้องในสำนวนคดีหลังข้ออ้างที่จะต้องวินิจฉัย ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับข้ออ้างในคำฟ้องสำนวนแรก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178 แก่โจทก์ และขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2799 แก่จำเลยที่ 2 แต่ได้มีการโอนที่ดินในโฉนดผิดแปลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 รับโอนโฉนดที่ดินสลับกันมาเป็นเพราะความเข้าใจผิด แต่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินถูกต้องตลอดมา ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินที่ไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ ท. มารดาโจทก์และ ท.ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาต่อมาท.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ แม้การซื้อขายที่ดินระหว่าง ท. กับจำเลยที่ 1 และการที่ ท. ยกที่ดินพิพาทต่อให้โจทก์จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ท. เป็นเวลากว่า 20 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ตามพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยที่ 2 ซึ่งได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน และโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การที่โจทก์จะมีชื่อในโฉนดที่ดินได้อย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ซึ่งโจทก์สามารถที่จะปฏิบัติตาม และได้รับผลตามความประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่อย่างใดศาลฎีกายกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินส่วนแบ่งโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และผลกระทบต่อผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีโฉนด โดยโจทก์ได้ปลูกสร้างบ้านและครอบครองทำประโยชน์ที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นส่วนสัดมานานกว่า 30 ปี จำเลยให้การว่า ไม่มีการตกลงให้แบ่งถือครองที่ดินเป็นส่วนสัดตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ครอบครองที่ดินแทนเจ้าของรวมคนอื่น ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินส่วนของตนเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่อาจยกเอาการครอบครองเป็นส่วนสัดมากล่าวอ้างกับจำเลยเพราะจำเลยได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรับรู้ของจำเลยมาตั้งแต่มีการจดทะเบียนให้จำเลยเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งก่อนเกิดกรณีพิพาทแล้ว ดังนั้นจึงเป็นข้อที่จำเลยสามารถยกขึ้นในศาลชั้นต้นได้ เมื่อจำเลยมิได้กล่าวอ้างในคำให้การให้เป็นประเด็นไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้ออ้างเรื่องการครอบครองเป็นส่วนสัดหลังจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวม: ฎีกานอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีโฉนด โดยโจทก์ได้ปลูกสร้างบ้านและครอบครองทำประโยชน์ที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นส่วนสัดมานานกว่า 30 ปี จำเลยให้การว่า ไม่มีการตกลงให้แบ่งถือครองที่ดินเป็นส่วนสัดตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ครอบครองที่ดินแทนเจ้าของรวมคนอื่น ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินส่วนของตนเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่อาจยกเอาการครอบครองเป็นส่วนสัดมากล่าวอ้างกับจำเลยเพราะจำเลยได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรับรู้ของจำเลยมาตั้งแต่มีการจดทะเบียนให้จำเลยเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งก่อนเกิดกรณีพิพาทแล้ว ดังนั้นจึงเป็นข้อที่จำเลยสามารถยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นได้ เมื่อจำเลยมิได้กล่าวอ้างในคำให้การให้เป็นประเด็นไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกานอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์และการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนเพราะโจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมานานกว่า 20 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยกลับนำสืบว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ด.ย่าของจำเลยด. มีที่ดินอยู่2 แปลง คือที่พิพาทและที่ดิน ส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ที่ดิน ส.ค.1ซึ่งเป็นที่ป่านั้น เดิมจำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดินมีโฉนด ส่วนที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด จำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดิน ส.ค.1 ที่ดินส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ย. บิดาจำเลยได้โอนให้แก่ น. ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า ที่ดินที่ น.เจ้ามรดกซื้อมาจาก ย. บิดาจำเลย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2480 เป็นที่ป่าคนละแปลงกับที่พิพาทและการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่ากรณีเช่นนี้จึงน่าเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดกัน คือ ย. ตกลงขายที่ดินที่เป็นที่ป่าให้แก่ น. จึงเป็นเรื่องสำคัญผิดในหลักฐานของที่ดิน น.ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินป่าแปลงนั้น หาได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไม่ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของ ย.อยู่เมื่อย. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายหรือไม่ และโจทก์รับซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ด้วย แม้ว่าปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยมา คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปเสียเองทีเดียวได้แล้วก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยได้ หากผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3705/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสิทธิโดยอาศัยมาตรา 1299 วรรคสอง ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องชัดเจน มิฉะนั้นศาลไม่วินิจฉัย แม้ยกขึ้นในฎีกา
การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7811 ซึ่งรวมที่พิพาทด้วย โดยซื้อมาประมาณ 6 ปี ก่อนฟ้องคดีนี้ มิใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นอ้างว่าโจทก์ได้สิทธิมาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง เพราะการจะอ้างมาตรา 1299 วรรคสองมาเป็นประเด็นต่อสู้ว่ามีสิทธิดีกว่าจำเลยนั้น ต้องกล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้ง เมื่อมิได้กล่าวอ้างไว้ก็ไม่มีประเด็นจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ทั้งมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะยกขึ้นอ้างมาในฎีกา ก็ไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยให้