คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์จำกัดอยู่เฉพาะการควบคุมส่งเสริมการพาณิชย์ การกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
กระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและตกอยู่ในกรอบของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 กล่าวคือมีสิทธิและหน้าที่แต่เพียงภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของ กฎหมาย ดังมีกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม 2484 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม 2485 มาตรา17 ทวิ ซึ่งบัญญัติว่าให้กระทรวงพาณิชย์มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์
คำว่า การพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ถึงการแบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์ตามมาตรา 17 ตรี และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการในกระทรวงพาณิชย์แล้ว ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับ ทำการค้าหรือเพื่อหากำไร จึงต้องเข้าใจคำว่า การพาณิชย์อันเป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ว่ามีความหมายเพียงแต่ในทางควบคุมส่งเสริมและสนับสนุนการพาณิชย์ของประเทศ
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของโจทก์ ไปทำสัญญาจ้างจำเลยขนส่งช่วงน้ำตาลโจทก์ไม่ได้แสดงว่ากิจการที่สำนักงานกลางบริษัทจังหวัดกระทำตกอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของกรมกองใดในกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดนี้ตั้งขึ้นเพียงควบคุมบริษัทจังหวัดต่างๆ ไม่ใช่เพื่อทำการรับขนแล้วมาจ้างต่อ จึงเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของการตั้งสำนักงานกลางบริษัท แม้การกระทำจะกระทำในฐานะตัวแทนของกระทรวงพาณิชย์ แต่การนั้นอยู่นอกอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จึงหาก่อให้เกิดสิทธิแก่กระทรวงพาณิชย์แต่ประการใดไม่ กระทรวงพาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: การกระทำนอกวัตถุประสงค์และการควบคุมส่งเสริมการพาณิชย์
กระทวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคล และตกอยู่ในกรอบของประมวลแพ่งและพาณิชย์มาตรา 69 กล่าวคือ มีสิทธิและหน้าที่แต่เพียงภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของ ก.ม. ดังมีกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม 2484 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม 2485 มาตรา 17 ทวิ ซึ่งบัญญัติว่าให้กระทรวงพาณิชย์มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์
คำว่า การพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ถึงการแบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์ตามมาตรา 17 ตรี และ พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการในกระทรวงพาณิชย์แล้ว ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้าหรือเพื่อหากำไร จึงต้องเข้าใจคำว่า การพาณิชย์อันเป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ว่า มีความหมายเพียงแต่ในทางควบคุมส่งเสริมและสนับสนุนการพาณิชย์ของประเทศ
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องว่า สำนักงานกลาบริษัทจังหวัด เป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของโจทก์ ไปทำสัญญาจ้างจำเลยขนส่งช่วงน้ำตาล โจทก์ไม่ได้แสดงว่ากิจการที่สำนักงานกลางบริษัทจังหวัดกระทำ ตกอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของกรมกองใดในกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังปรากฏว่า สำนักงานกลางบริษัทจังหวัดนี้ตั้งขึ้นเพียงควบคุมบริษัทจังหวัดต่าง ๆ ไม่ใช่เพื่อทำการรับขนแล้วมาจ้างต่อ จึงเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของการตั้งสำนักงานกลางบริษัท แม้การกระทำจะกระทำในฐานะตัวแทนของกระทรวงพาณิชย์ แต่การนั้นอยู่นอกอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จึงหาก่อให้เกินสิทธิแก่กระทรวงพาณิชย์แต่ประการใดไม่ กระทรวงพาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นมาตรา 104(1) วรรคท้าย ครอบคลุมการติชมรัฐบาลในการหาเสียงได้
ข้อยกเว้นตามมาตรา 104(1) วรรคท้ายนั้นไม่ได้หมายเฉพาะการพูดในที่ประชุมของรัฐสภา ถ้าจำเลยได้กระทำการโฆษณาติและชมการกระทำของรัฐบาลในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการกระทำเข้าตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 104(1) วรรคท้ายแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการโอน และค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้ว ต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฎว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอนดังนี้ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฎว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตามมาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องในบังคับตามาตรา 213
ตาม ม. 1336 และรัฐธรรมนูญ นั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอน ตามความพอใจของตน นอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ม. 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตน แล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 - 3 ดังนี้ ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม ม. 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม ม. 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตกมาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่ง ผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่น ศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, และการเพิกถอนการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้วต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอน ดังนี้ ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฏว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213
ตามมาตรา 1336 และรัฐธรรมนูญนั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอนตามความพอใจของตนนอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน มาตรา 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตนแล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2-3 ดังนี้ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม มาตรา 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม มาตรา 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตาม มาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่งผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่นศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการตีความรัฐธรรมนูญและขอบเขตของกฎหมายที่ใช้ย้อนหลัง
รัฐธรรมนูญมาตรา 62 ซึ่งบัญญัติว่า สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่เป็นข้อบัญญัติตัดอำนาจศาลที่จะตีความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศาลจึงมีอำนาจตีความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้
ในการใช้หรือบังคับตามกฎหมายนั้น ศาลย่อมต้องแปลหรือตีความหมายของกฎหมาย หากไม่ให้ศาลแปล ศาลก็ย่อมใช้กฎหมายไม่ได้
รัฐธรรมนูญ มาตรา 14 มีข้อความรับรองถึงเสรีภาพของบุคคลในการต่างๆ ดังระบุไว้นั้น มีความหมายรับรองถึงเสรีภาพในการกระทำด้วย
คำว่ามีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 14นั้นมีความหมายว่า ไม่ให้ใครมาทำอะไรแก่เราและหมายถึงเราจะทำอะไรก็ได้ด้วย หากการนั้นอยู่ภายในบังคับของกฎหมาย
คำว่าภายในบังคับแห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 14 นั้นหมายถึงว่าไม่มีกฎหมายห้ามไว้ โดยตรงหรือโดยอ้อม และหมายถึงบทกฎหมายที่มีอยู่ในเวลานั้น ไม่ใช่หมายถึงบทกฎหมายที่จะมีมาภายหน้า
กฎหมายใดบัญญัติย้อนหลัง ลงโทษการกระทำ การเขียนการพูดฯลฯ ที่แล้วมา ย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 14 กฎหมายนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ จะใช้บังคับไม่ได้
พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามเฉพาะที่บัญญัติย้อนหลังนั้น ย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 14 จึงเป็นโมฆะส่วนบทบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำหลังจากใช้พระราชบัญญัตินี้แล้ว เป็นอันใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์
สภาผู้แทนราษฎรอาจออกกฎหมายย้อนหลังได้ต่อเมื่อกฎหมายที่ให้ย้อนหลังนั้น ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่นพระราชบัญญัติงบประมาณ
ศาลเป็นผู้มีอำนาจที่จะชี้ขาดกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญว่าเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามอย่างเดียว เมื่อศาลเห็นว่า จะลงโทษตามพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามไม่ได้แล้ว ก็ไม่ต้องพิจารณาว่า จำเลยจะมีความผิดตามกฎหมายอื่นหรือไม่
of 2