คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 266

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมแปลงเช็คเพื่อเบิกเงิน – ศาลฎีกาวินิจฉัยเจตนาหลักคือการได้เงิน
จำเลยเอาไปเสียซึ่งเช็คของผู้เสียหายแล้วปลอมเช็คดังกล่าวโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินในเช็คกับปลอมลายมือชื่อของผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคารตามเช็ค ได้รับเงินจำนวน 850,000 บาท ไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะได้เงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของผู้เสียหายเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ เป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อฉ้อโกง: ศาลแก้ไขบทมาตราที่อ้างผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดของจำเลยฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก, 341 การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีอาญาหลังประนีประนอมและฟ้องแพ่ง – ศาลมีอำนาจลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องไม่ตรงตาม ป.อ. มาตราที่ถูกต้อง
จำเลยปลอมเช็คของโจทก์ร่วมแล้วนำเช็คไปเบิกเงินและยักยอกเงินตามเช็คไป โจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่โจทก์ร่วมนำมูลหนี้ตามเช็คไปฟ้องคดีแพ่งในมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยมูลเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเช็คอันเป็นเอกสารสิทธิ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมสืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คและใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์, ปลอมแปลงเอกสาร, และใช้เอกสารปลอม: การแยกความผิดเป็นหลายกรรม
เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตามคำฟ้องของโจทก์ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้อย่างชัดเจนแยกการกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันลักเช็คของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างไป ปลอมเช็ค และใช้เช็คที่ปลอมนั้นไปยื่นต่อธนาคารเพื่อขอรับเงิน ซึ่งการกระทำแต่ละอย่างมีลักษณะที่แตกต่างกันต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัว และเป็นการกระทำความผิดโดยอาศัยเจตนาแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างกระทงหนึ่งและฐานปลอมตั๋วเงินและใช้ตั๋วเงินปลอมซึ่งต้องลงโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมอีกกระทงหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม: การพิจารณาความผิดหลายกรรม และบทลงโทษที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268,335,91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม เป็นกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 264, 268,335, 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม 3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆ ก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากันการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจหลังทำข้อตกลง ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม
จำเลยทั้งสามร่วมกันนำแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อไว้ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะหย่าขาดจากกันไปกรอกข้อความว่า โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างโดยจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่า โจทก์ลงลายมือชื่อต่อหน้า แต่การกรอกข้อความดังกล่าวในหนังสือมอบอำนาจนั้นโจทก์ระบุในฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำขึ้นภายหลังจากโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงทางแพ่งแล้ว ทั้งกิจการมอบอำนาจตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นกิจการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทางแพ่งที่โจทก์แสดงเจตนาไว้ ประกอบกับการที่จำเลยที่ 1 นำเอาหนังสือมอบอำนาจนั้นไปใช้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างก็ตรงตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปขายได้ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ จึงมิได้เป็นการกระทำขึ้นเพื่อนำเอาหนังสือมอบอำนาจนั้นไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือไปจากข้อตกลงอันอาจเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้ใดผู้หนึ่งหรือประชาชน ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปแล้วไม่นำเงินที่เหลือจากการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปซื้อหรือวางเงินดาวน์บ้านหลังใหม่ และไม่นำเงินไปฝากธนาคารเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่บุตรทั้งสาม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องกระทำภายหลังจากขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ ไม่เกี่ยวกับการไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยการใช้แบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ คดีโจทก์จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 266, 268

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ใบกำกับภาษีปลอมของผู้รับเหมา แม้จะไม่ได้ซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ขาย ก็ถือว่ามีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ผู้ที่จะออกใบกำกับภาษีได้ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นผู้ขายสินค้า จำเลยรับจ้างบริษัทโรเยลเมทัลอินดัสทรีส์ จำกัด ก่อสร้างโรงงาน จำเลยประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อวัสดุก่อสร้างมาใช้ในกิจการ จำเลยทราบดีว่าบริษัท ส. ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้ได้ เมื่อนางอัญชลี พนักงานบัญชีของบริษัทโรเยลเมทัลอินดัสทรีส์ จำกัด ตรวจพบว่ามีบิลเงินสด / ใบกำกับภาษีฉบับหนึ่ง รวมตัวเลขผิดไป 9 บาท จำเลยได้แจ้งให้นางอัญชลี ติดต่อไปยังบริษัทไม้แสงวิวัฒน์ (1988) จำกัด ผู้ออกบิลเงินสด / ใบกำกับภาษี โดยตรง อันเป็นการนำสืบในทำนองว่า จำเลยไม่ทราบว่า บิลเงินสด / ใบกำกับภาษี ดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิปลอมนั้น เห็นว่าตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหาลงวันที่ 30 มิถุนายน 2537 ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ ซึ่งต่อมาจำเลยได้ไปพบพนักงานสอบสวนและได้ให้การเพิ่มเติมตามที่จำเลยอ้างนี้ อันเป็นเวลาภายหลังเกือบสองปีแล้วตามใบต่อคำให้การ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2539 และตามคำเบิกความของนางอัญชลี พยานโจทก์ ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้แจ้งให้ นางอัญชลีติดต่อไปยังบริษัทไม้แสงวิวัฒน์ (1988) จำกัด โดยตรงแต่อย่างใด นอกจากนี้ข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่า บิลเงินสด / ใบกำกับภาษีดังกล่าวได้มีการส่งมอบจากนายกัง (นายวิรัตน์) ให้แก่นายกี่เฮียก และนายกี่เฮียกส่งมอบให้แก่นายประวิทย์จนมาถึงจำเลยเป็นทอด ๆ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐาน การที่จำเลยรู้ว่าบิลเงินสดใบกำกับภาษีของกลางเป็นเอกสารสิทธิปลอม แล้วจำเลยนำไปใช้ จำเลยจึงมีความผิดข้อหาใช้เอกสารสิทธิปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องอาญาที่ไม่มีมูลความผิด การกระทำเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ราชการ ไม่ถือเป็นความผิด
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องไม่ปรากฏว่าหมายเลขคดีที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่อ้างถึงเป็นหมายเลขคดีที่นอกสารบบหรือกระทำขึ้นโดยมิได้มีอยู่จริงหรือปราศจากอำนาจตรงกันข้ามเลขคดีที่อ้างถึงเป็นเลขคดีที่ได้แก้ไขและถือใช้อยู่ในสารบบของทางราชการที่เกี่ยวข้องจริงจึงเป็นหมายเลขคดีที่แท้จริงทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งเก้าปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่มีการร้องทุกข์อย่างไรอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522มาตรา70การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา162,165,264,265,266และพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522มาตรา70 จำเลยทั้งเก้าปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของทางราชการมิได้มีเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อเนื่อง: แม้ถูกดำเนินคดีก่อนหน้า แต่หากแจ้งข้อหาใหม่ถือเป็นการจับกุมใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266,268ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดอุดรธานีที่จะพิจารณาพิพากษา แต่เมื่อศาลจังหวัดอุดรธานีปล่อยตัวจำเลยแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนได้สอบสวนและแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 กรณีย่อมถือว่าจำเลยเพิ่งถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 เมื่อพนักงานสอบสวนส่งตัวจำเลยต่อพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ขอผัดฟ้องและฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 7วรรคสอง จึงไม่มีเหตุที่จะต้องขออนุญาตอธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
of 13