พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฉ้อโกงโดยใช้เอกสารปลอม: การแบ่งหน้าที่ชัดเจนบ่งชี้ตัวการ
น. กู้เงินผู้เสียหายโดย ส. ใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ ส. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ แม้จำเลยจะมิได้ร่วมไปบ้านผู้เสียหายในวันทำสัญญากู้ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับ น. และ ส. มาแต่ต้นในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ โดยในวันเกิดเหตุจำเลยพา น. และ ส. ไปพบ ว.เพื่อให้พาบุคคลทั้งสองไปพบผู้เสียหาย ส่วนจำเลยรออยู่เพื่อคอยรับเงินส่วนแบ่งจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นตัวการใช้เอกสารปลอมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฉ้อโกงโดยใช้เอกสารปลอม: การแบ่งหน้าที่และความรับผิดของตัวการ
น. กู้เงินผู้เสียหายโดย ส. ใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของส.ซึ่งเป็นเอกสารปลอมไปค้ำประกันหนี้เงินกู้แม้จำเลยจะมิได้ร่วมไปบ้านผู้เสียหายในวันทำสัญญากู้ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับ น. และ ส. มาแต่ต้นในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ โดยในวันเกิดเหตุจำเลยพา น. และ ส.ไปพบว.เพื่อให้พาบุคคลทั้งสองไปพบผู้เสียหาย ส่วนจำเลยรออยู่เพื่อคอยรับเงินส่วนแบ่งจาก น. พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยเป็นตัวการใช้เอกสารปลอมด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกรอกเอกสารที่มีลายมือชื่อผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม ไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร หากไม่มีเจตนาทุจริตและไม่เกิดความเสียหาย
การกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่น จะถือว่าเป็นการปลอมเอกสารก็ต่อเมื่อได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนการที่จำเลยกรอกข้อความในตราสารการโอนหุ้นซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อไว้แล้ว โดยไม่ได้รับคำสั่งหรือความยินยอมของโจทก์ และโอนหุ้นของโจทก์ที่มิได้สั่งขายไปเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของโจทก์และโจทก์มิได้เสียหายทั้งไม่ปรากฏว่าอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือใช้เอกสารสิทธิปลอม จำเลยทำตราสารการโอนหุ้นขึ้นเองทั้งฉบับโอนขายหุ้นของโจทก์ไปโดยโจทก์มิได้เสียหาย ถึงแม้โจทก์จะมิได้สั่ง หรือให้ความยินยอม จำเลยก็มิได้ทำปลอมเอกสารของผู้ใด การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม โจทก์สั่งให้จำเลยซื้อหุ้น 2,000 หุ้น ต่อมาจำเลยขายหุ้นนั้น 1,000 หุ้นตามคำสั่งของโจทก์ ที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่ามีการขายหุ้นของโจทก์ไป 2,000 หุ้น เป็นเรื่องทางปฏิบัติในการซื้อขายหุ้นโดยจำเลยจะนำหุ้นของโจทก์ไปโอนให้แก่บุคคลอื่นก่อน เมื่อโอนแล้วจำเลยก็ได้รับรองหุ้นของโจทก์ที่เหลืออยู่ทั้งต่อมาโจทก์ก็ได้รับหุ้น 1,000 หุ้นไปจากจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีเจตนาทุจริต แม้จะดำเนินการโอนหุ้นไปโดยพลการก็ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การแก้ไขบทกฎหมายโดยศาลอุทธรณ์ และการฎีกาที่ไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 266 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ส่วนกำหนดโทษคงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเฉพาะการปรับบทกฎหมายในการลงโทษโดยมิได้แก้ไขโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยลงลายมือชื่อแทน ด. โดยได้รับมอบหมายด้วยวาจา การกระทำของจำเลยไม่ทำให้ ด. เสียหายหรือในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยไม่มีเจตนาปลอมเอกสาร และหากฟังว่าจำเลยกระทำผิด ก็ขอให้รอการลงโทษ ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชัดเจนเคลือบคลุม ทำให้จำเลยหลงต่อสู้คดี แต่จำเลยมิได้ยกเหตุผลขึ้นอ้างอิง ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตอนใด เหตุใดจึงทำให้จำเลยหลงต่อสู้ เป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วย มาตรา225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชัดเจนเคลือบคลุม ทำให้จำเลยหลงต่อสู้คดี แต่จำเลยมิได้ยกเหตุผลขึ้นอ้างอิง ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตอนใด เหตุใดจึงทำให้จำเลยหลงต่อสู้ เป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วย มาตรา225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – แก้ไขบทกฎหมาย – ปัญหาข้อเท็จจริง – ฟ้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 266 จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ส่วนกำหนดโทษคงเป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเฉพาะการปรับ บทกฎหมายในการลงโทษโดยมิได้แก้ไขโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ที่จำเลย ฎีกาว่า จำเลยลงลายมือชื่อแทน ด. โดยได้รับมอบหมายด้วยวาจาการกระทำของจำเลยไม่ทำให้ ด. เสียหายหรือในประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยไม่มีเจตนาปลอมเอกสาร และหากฟังว่าจำเลยกระทำผิด ก็ขอให้รอการลงโทษล้วนเป็นฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชัดเจนเคลือบคลุม ทำให้จำเลยหลงต่อสู้คดีแต่จำเลยมิได้ยกเหตุผลขึ้นอ้างอิงว่าฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมตอนใดเหตุใดจึงทำให้จำเลยหลงต่อสู้เป็นฎีกาที่ไม่ชัดเจน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วย มาตรา225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224-3225/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนที่ดิน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
จำเลยมีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการรับโอนมรดกและการซื้อขายที่ดินตลอดจนมีหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมแล้วรวบรวมส่งมอบให้เจ้าหน้าที่การเงินการที่จำเลยรับเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้วไม่รวบรวมส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่การเงินตามหน้าที่ แต่กลับเบียดบังเอาไว้เป็นของตนจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 กรณีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 นี้เป็นบทบัญญัติที่เอาผิดแก่เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มา หรือถือเอาไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ มิใช่เอาผิดเฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการหรือของรัฐเท่านั้น การที่จำเลยปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยฐานเบียดบังเงินค่าธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 อันเป็นบทหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224-3225/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินค่าธรรมเนียมจากการจดทะเบียนที่ดิน ความผิดมาตรา 147 และการลงโทษกรรมเดียว
จำเลยมีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการรับโอนมรดกและการซื้อขายที่ดิน ตลอดจนมีหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมแล้วรวบรวมส่งมอบให้เจ้าหน้าที่การเงิน การที่จำเลยรับเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้วไม่รวบรวมส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่การเงินตามหน้าที่ แต่กลับเบียดบังเอาไว้เป็นของตน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 กรณีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 นี้ เป็นบทบัญญัติที่เอาผิดแก่เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มา หรือถือเอาไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ มิใช่เอาผิดเฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการหรือของรัฐเท่านั้น
การที่จำเลยปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยฐานเบียดบังเงินค่าธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 อันเป็นบทหนักที่สุด
การที่จำเลยปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยมีเจตนาที่จะใช้เป็นหลักฐานในการเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยฐานเบียดบังเงินค่าธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 อันเป็นบทหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อเอื้อประโยชน์ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขโทษรวมเป็น 20 ปี
เอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ของ ย. เป็นเอกสารซึ่ง ปลอมว่านายทะเบียนตำบลบ้านโฮ่งได้รับแจ้งย้ายออกของย. ว่าย้ายออกจากบ้านเลขที่ 190/7 หมู่ที่ 8 ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 4/8 ถนนประชาราษฎร์แขวงบางซื่อเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย. ในตัวเอกสารนั้นใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของ ย. ก็เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้รับคำขอของ ย. ไว้แล้วมิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย.ในตัวเอกสารนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิ คงถือได้ว่าเป็นเอกสารราชการเท่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266,84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,84 ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน 20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อเอื้อประโยชน์ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ศาลพิจารณาความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการ
เอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ของ ย. เป็นเอกสารซึ่ง ปลอมว่านายทะเบียนตำบลบ้านโฮ่งได้รับแจ้งย้ายออกของ ย. ว่าย้ายออกจากบ้านเลขที่ 190/7 หมู่ที่ 8 ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 4/8 ถนนประชาราษฎร์แขวงบางซื่อเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย. ในตัวเอกสารนั้น ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนของ ย. ก็เป็นเพียงหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้รับคำขอของ ย. ไว้แล้วมิได้มีข้อความที่เป็นการก่อให้เกิดสิทธิอย่างใดแก่ ย.ในตัวเอกสารนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารสิทธิคงถือได้ว่าเป็นเอกสารราชการเท่านั้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84 ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84. เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 84 ตามที่จำเลยที่ 2ฎีกา ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1 ผู้มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 84 รวม 31 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติในเรื่องรวมโทษทุกกระทงสำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3ปีแต่ไม่เกิน10 ปีไว้ให้จำคุกทั้งสิ้นได้ไม่เกิน20ปี ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย และความผิดของจำเลยต้องด้วยมาตรา 91(2) จึงให้รวมโทษทั้ง 31 กระทงเป็นจำคุกจำเลย 20 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานทุจริต - การใช้บทกฎหมายเฉพาะ (มาตรา 147) ย่อมตัดบททั่วไป (มาตรา 157) และผลของการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี